นานาสาระสมุนไพรไทย


สาระน่ารู้เกี่ยวกับน้ำสมุนไพร

ความเป็นมาและความสำคัญของน้ำสมุนไพร

สมุนไพร เป็นทรัพยากรธรรมชาติ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงส่วนของพืชที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค แต่ในความจริงคือส่วนประกอบที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาใช้สำหรับทำเครื่องยา ตัวอย่าง เช่น
- สมุนไพรจากพืช ได้แก่ ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ขิง ใบเตย กะเพรา ว่านหางจระเข้ ผักคะน้า ผักตำลึง ส้ม แตงโม เป็นต้น
- สมุนไพรจากสัตว์ ได้แก่ เขากวาง ดีหมี ดีงู จิ้งจก ตุ๊กแก เป็นต้น
- แร่ธาตุที่ใช้เป็นสมุนไพร ได้แก่ น้ำปูนใส เกลือแกง ดีเกลือ เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีบางส่วนของสมุนไพรที่รับประทานไม่ได้ สามารถใช้ทำยาภายนอกได้ เช่น ช่วยป้องกันยุงกัด ด้วยตะไคร้หอม รักษาบาดแผล ด้วยว่านหางจระเข้ เป็นต้น
คุณค่าและประโยชน์น้ำสมุนไพร

น้ำสมุนไพรมีรสชาติที่อร่อยตามธรรมชาติ ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง ดังนี้
1. ต่อระบบการย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เช่นน้ำมะเขือเทศ ขิง ข่า กระเพราะ เป็นต้น
2. ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย
3. ปกป้องรักษาสภาวะร่างกายให้เกิดความ
สมดุลย์ ช่วยควบคุมระบบการทำงานของ
ร่างกาย ทำให้สารอาหารชนิดอื่นได้
ประโยชน์อย่างเต็มที่
4. ช่วยควบคุมไขมันส่วนที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5. มีวิตามินและเกลือแร่ บำรุงร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส
ข้อแนะนำในการเตรียมน้ำสมุนไพร

การเตรียมน้ำสมุนไพร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
1. การเลือกสมุนไพร
1.1 สมุนไพรสด เลือกที่สด เก็บมา
จากต้นใหม่ ๆ ตามฤดูกาล สีสรรเป็นธรรมชาติตามชนิดของสมุนไพร ไม่มีรอยช้ำเน่าเสีย ความสดทำให้มีรสชาติดี มีคุณค่ามากกว่า
2.1 สมุนไพรแห้ง ควรจะสะอาด
ไม่มีกลิ่นปัสสาวะ อุจจาระสัตว์ มีสีสรรไม่คล้ำมาก เช่น กระเจี๊ยบแห้ง ควรมีสีแดงคล้ำไม่ใช่ดำ
2. ความสะอาดของภาชนะและสมุนไพร
2.1 ภาชนะที่ใช้เตรียมจะต้องสะอาด
2.2 ตัวสมุนไพร ควรล้างให้ถูกวิธี
สมุนไพรสดควรล้าง 2 - 3 ครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมา
3. น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม จากข้อแนะนำคนไทยไม่ควรบริโภคเกินวันละ 2 ช้อนโต๊ะ

น้ำตะไคร้
ส่วนผสม

ตะไคร้ 20 กรัม (1 ต้น)
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว)
น้ำเปล่า 240 กรัม (16 ช้อนคาว)

วิธีทำ
นำตะไคร้ล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้นทุบให้แตก ใส่หม้อต้มกับน้ำให้เดือด กระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว สักครู่จึงยกลงกรองเอาตะไคร้ออก เติมน้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางยา แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดีช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง

น้ำใบเตย
ส่วนผสม
ใบเตย 5 กรัม (1 ใบ)
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว)
น้ำเปล่าต้มสุก 240 กรัม (16 ช้อนคาว)

วิธีทำ
1. นำใบเตยสดล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อน ๆ ใส่หม้อต้มด้วยน้ำสะอาด
2. พอเดือดก็ลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อย ๆ
จนมองเห็นสีของใบเตยเขียวอ่อนเจือจาง
3. ตักใบเตยกรองเอาแต่น้ำใบเตย เอา
เกลือป่นใส่ครึ่งช้อนชา ตามด้วยน้ำเชื่อม
4. ปล่อยให้เดือดต่อไปอีก 5 นาที ยก
ลง ชิมรสตามใจชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางยา ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุมชื่น

คำสำคัญ (Tags): #อุดรธานี22
หมายเลขบันทึก: 413320เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2010 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สมุนไพรไทยที่เรามีอยู่และหาได้ง่าย ๆ ราคาไม่แพง และมีประโยชน์มากมายนั้น คนส่วนใหม่ไม่นิยมที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพราะมักคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ส่วนดิฉันเป็นคนที่เล็งเห็นความสำคัญและรักสุขภาพ จึงชอบและหันมาบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทยค่ะ ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรมากขึ้น

สมุนไพรจากสัตว์ ได้แก่ เขากวาง ดีหมี ดีงู จิ้งจก ตุ๊กแก ได้ข่าวมีกาารรับซื้อ ตุ๊กแก ขนาด 3 กรัม ราคาเป็นหมื่น จริงไหมครับ ทราบหรือเปล่าว่าเขาพาไปทำอะไร สงสัยจิงๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท