การดูแลรักษา


การดูแลรักษา


การดูแลรักษา

1.

การให้ปุ๋ย

 

1.1

นาดำ

 

ครั้งที่ 1 ให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ หรือให้หลังปักดำ 15-20 วัน (หากเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายควรใช้สูตร 16-16-18)

ครั้งที่ 2 ให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

ครั้งที่ 3 ให้ปุ๋ยสูตร และอัตราเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 ที่ระยะ 10-15 วันหลังระยะกำเนิดช่อดอก

 

1.2

นาหว่านน้ำตม

 

ครั้งที่ 1 ให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20-30 วันหลังข้าวงอก (หากเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายควรใช้สูตร 16-16-8)

ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เช่นเดียวกับนาดำ

 

 

2.

การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ

 

ศัตรูธรรมชาติของแมลงสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญพบทั่วไป ได้แก่

 

แมลงห้ำ มี 3 ชนิด

 

-

ด้วงเต่า ตัวเต็มวัยมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร ด้านล่างแบนราบ ด้านบนโค้งนูน ปีกเป็นเงา มีสีส้ม สีแสด หรือสีแดง บางชนิดมีจุดหรือแถบสีดำ เพศเมียวางไข่สีเหลืองอ่อนรูปกลมบนพื้นผิวพืช ตัวอ่อนมีรูปร่างยาวเรียวคล้ายกระสวย มีสีดำบางครั้งมีจุดหรือแถบสีส้ม สีเหลืองอ่อน และสีขาวมีขา 3 คู่ ด้วงเต่าเป็นตัวห้ำช่วยกัดกิน เพลี้ยไฟ และไข่ รวมทั้งหนอนตัวเล็ก ๆ ของหนอกกอข้าว และหนอนห่อใบข้าว

-

แมลงปอ เป็นแมลงห้ำจับศัตรูข้าวขนาดเล็ก เช่น ผีเสื้อหนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น กินเป็นอาหาร

-

มวนเขียวดูดไข่ ตัวเต็มวัยมีขนาด 3 มิลลิเมตร ลำตัวสีเขียว หัวสีดำ หนวดยาว ปากแหลม ใช้แทงเข้าไปดูดกินเป็นแมลงห้ำ บางชนิดไม่มีปีก ส่วนปลายเท้ายาวและกางออกเป็นคีมสำหรับจับเหยื่อกินเป็นอาหาร ตัวอ่อนเป็นแตนเบียนภายนอก ตัวหนอนจะเกาะดูดกินอยู่ภายในถุง มองเห็นเป็นก้อนเล็ก ๆ ติดที่ส่วนท้องของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น

 

แมลงเบียนมี 3 ชนิด

 

-

แตนเบียนดรายอินิด เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นข้าว ตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นแมลงห้ำ บางชนิดไม่มีปีก ส่วนปลายเท้ายาวและกางออกเป็นคีมสำหรับจับเหยื่อกินเป็นอาหาร ตัวอ่อนเป็นแตนเบียนภายนอก ตัวหนอนจะเกาะดูดกินอยู่ภายในถุง มองเห็นเป็นก้อนเล็ก ๆ ติดที่ส่วนท้องของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น

-

แตนเบียนไข่หนอนกอข้าว เป็นตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 1.4 มิลลิเมตร สีเขียวสะท้อนแสง เพศเมียวางไข่เข้าไปในหนอนกอข้าว ทำให้ไข่เป็นสีดำและไม่ฟักเป็นตัวหนอน

-

แตนเบียนหนอนกอข้าว ตัวเต็มวัยมีสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร เพศเมียมีอวัยวะวางไข่สำหรับแทงเจาะเข้าไปวางไข่ในลำตัวหนอนกอข้าวตัวหนอนของแตนเบียนที่โตเต็มที่ จะเจาะผนังลำตัวหนอนกอข้าวออกมาสร้างใย และถักเป็นรังหุ้มลำตัวแล้วเข้าดักแด้ภายในรัง หลังจากนั้นจะเจาะรังออกมาและบินไปทำลายหนอนกอข้าวที่อยู่ใกล้เคียง หนอนกอข้าวที่ถูกแตนเบียนเข้าทำลายจะมีตัวสีเหลืองซีด เคลื่อนไหว้ช้า ไม่กินอาหารและตาย

 

แมงมุม ที่พบในนาข้าวมีหลายชนิด มีบทบาทสำคัญช่วยควบคุมแมลงศัตรูข้าว โดยจับกินผีเสื้อหนอนกอข้าว เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด และมวนศัตรูข้าว

นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอน และงู เป็นศัตรูธรรมชาติ จับกินหนูศัตรูข้าว

 

 

ศัตรูธรรมชาติทั้ง 4 กลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงสัตว์ศัตรูข้าวนาชลประทานดังนั้น ในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวควรใช้วิธีการที่ปลอดภัยตามคำแนะนำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ดังกล่า

คำสำคัญ (Tags): #การดูแลรักษา
หมายเลขบันทึก: 413234เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2010 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thanks for this useful series of "how to grow rice".

I found "...ศัตรูธรรมชาติของแมลงสัตว์ศัตรูข้าว..." a bit confusing.

Perhaps new and shorter words (like เพึ่อนรักษ์ข้าว and ศัตรูกินข้าว) would help to clarify which are 'friends' and which are 'foes'. I know farmers can tell which are which.

But avoiding later mix-ups is a good policy -- don't you agree?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท