โรคข้าว (Rice Blast)


โรคข้าว

โรคไหม้ (Rice Blast)

สาเหตุ                  

เชื้อรา  Pyricularia grisea (Cooke) Sacc.

อาการ                  

    ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มม. ความยาวประมาณ 10-15 มม. แผล สามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้ง ฟุบตาย คล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่มเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด

    พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ใส่ปุ๋ยสูง และมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25°ซ  ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี เชื้อราสามารถติดไปกับเมล็ดข้าว แพร่กระจายไปตามดิน น้ำ ลม

การป้องกันกำจัด
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น กข 1  กข 9  กข 11  กข 21  สพ. 1 และคลองหลวง 1

2. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสมคือ 15-20 กก./ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าถึง 50 กก./ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

3. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารชีวภาพป้องกันกำจัดเชื้อรา โคโค-แม็กซ์ ตามคำแนะนำของนักวิชาการ

4. ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ตามอัตราที่ระบุ จะป้องกันโรคไหม้ระยะคอรวงได้ดี


โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)

สาเหตุ

เชื้อรา  Helminthosporium oryzae Breda de Haan.

อาการ 

    แผลที่ใบข้าวมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มม. แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มม. บาง ครั้งพบแผลเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย

การแพร่ระบาด

เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลมและติดไปกับเมล็ด

การป้องกันกำจัด

1. ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม

2. คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์

3. ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ อัตรา 5-10 กก./ไร่ ช่วยให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง

4. กำจัดวัชพืชในนา ทำแปลงให้สะอาด ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม หรือปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
5. ถ้าอาการของโรครุนแรง ในระยะข้าวแตกกอ ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ


โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot)

สาเหตุ

เชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake

อาการ

   ลักษณะ แผลมีสีน้ำตาลเป็นขีด ๆ ขนานไปกับเส้นใบ มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้าง ตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาล ที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายคอรวง ทำให้คอรวงเน่าและหักพับได้

การแพร่ระบาด

สปอร์ของเชื้อรา ปลิวไปกับลม และติดไปกับเมล็ด

การป้องกันกำจัด

1.      เผาตอและกำจัดหญ้าบนคันนา

2.      ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมเฉพาะท้องที่

3.      ใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ อัตรา 5-10 กก./ไร่ สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

4.      กรณีที่เกิดการระบาดของโรครุนแรง อาจใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ ป้องกันกำจัดได้เป็นอย่างดี


โรคใบวงสีน้ำตาล (Leaf Scald)

สาเหตุ

เชื้อรา Rhynocosporium oryzae Has.and Yokogi

อาการ

   ระยะกล้า ข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบและมีสีน้ำตาลเข้ม ระยะแตกกอ อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ แต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่น ๆ ของใบ แผลที่เกิดบนใบ ในระยะแรกมีลักษณะเป็นรอยช้ำ รูปไข่ยาว ๆ แผลสีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปวงรี ติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณกว้าง และเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในที่สุดแผลจะมีลักษณะเป็นวงซ้อน ๆ กันลุกลามเข้ามาที่โคนใบมีผลทำให้ข้าวแห้งก่อนกำหนด

การแพร่ระบาด

มีพืชอาศัย เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน

การป้องกันกำจัด

1.     ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่น กำผาย 15,  หางยี 71

2.     กำจัดพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค

3.     ใน แหล่งที่เคยมีโรคระบาด หรือพบแผลลักษณะอาการดังที่กล่าวข้างต้น บนใบข้าว จำนวนหนาตา ในระยะข้าวแตกกอ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชโคโค-แม็กซ์ ตามอัตราคำแนะนำ


โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight)

สาเหตุ

เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk) (Corticium sasakii (Shirai) Mats.)

อาการ

เริ่ม พบโรคในระยะข้าวแตกกอจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ    1-4 x 2-10 มม. ปรากฏ ตามกาบใบตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย

การแพร่ระบาด

เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดิน และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา

การป้องกันกำจัด

1.     หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรเผาตอซัง และพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเมล็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา

2.     กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อลดโอกาสการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุโรค

3.     ใช้พันธุ์ที่ต้านทาน เช่น กข 13

4.     ใช้ สารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลงเพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดเป็นหย่อม ๆ


โรคกาบใบเน่า (Sheath Rot)

สาเหตุ

เชื้อรา Sarocladium oryzae Sawada

อาการ

ข้าวแสดงอาการในระยะตั้งท้องโดยเกิดแผลสีน้ำตาลดำบนกาบห่อรวง ขนาดแผลประมาณ 2-7 x 4-18 มม. ตรง กลางแผลมีกลุ่มเส้นใยสีขาวอมชมพู แผลนี้จะขยายติดต่อกันทำให้บริเวณกาบหุ้มรวงมีสีน้ำตาลดำและรวงข้าวส่วนใหญ่ โผล่ไม่พ้นกาบหุ้มรวง หรือโผล่ได้บางส่วน ทำให้เมล็ดลีบและมีสีดำ

การแพร่ระบาด

เชื้อรานี้ติดอยู่บนเมล็ดได้นาน นอกจากนี้ พบว่า “ไรขาว” ซึ่งอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวในบริเวณกาบใบด้านใน สามารถเป็นพาหะช่วยทำให้โรคแพร่ระบาดได้รุนแรง และกว้างขวางยิ่งขึ้น

การป้องกันกำจัด

1.     ใช้พันธุ์ค่อนข้างต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ เช่น กข 29 สำหรับนาลุ่มมีน้ำขัง ให้ใช้พันธุ์ข้าวที่ลำต้นสูง แตกกอน้อย

2.     ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ

3.     ลดจำนวนไรขาว พาหะแพร่เชื้อ ในช่วงอากาศแห้งแล้งด้วยสารป้องกันกำจัดไร เช่น ลาเซียน่า อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ


โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle)

สาเหตุ

เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.

         Cercospora oryzae I.Miyake

         Helminthosporium oryzae Breda de Haan.

         Fusarium semitectum Berk & Rav.

         Trichoconis padwickii Ganguly

         Sarocladium oryzae Sawada

อาการ

พบ แผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพูทั้งนี้ เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึง ระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่างจะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว

การแพร่ระบาด

เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ดและอาจสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้

การป้องกันกำจัด

1. หลีกเลี่ยงพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90 และ กข 9

2. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค

3. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

4. ในระยะที่ต้นข้าวกำลังออกรวง หรือรวงเป็นเมล็ดแล้ว ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ


โรคถอดฝักดาบ (Bakanae)

สาเหตุ เชื้อรา Fusarium moniliforme

อาการ

พบโรคในระยะกล้า ต้นกล้าจะแห้งตายหลังจากปลูกได้ไม่เกิน 7 วัน แต่มักพบกับข้าวอายุเกิน 15 วัน ข้าวเป็นโรคจะผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ ไป ต้นข้าวผอมมีสีเขียวอ่อนซีดมักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้อง แต่รากจะเน่าช้ำ เวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำ 15-45 วัน โดยที่ต้นเป็นโรคจะสูงกว่าข้าวปกติ ใบมีสีเขียวซีด เกิดจากรากแขนงที่ข้อลำต้นตรงระดับน้ำ บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะตายและมีน้อยมากที่อยู่รอดจนถึงออกรวง

การแพร่ระบาด

เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าว และในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน พบว่า หญ้าชันกาด เป็นพืชอาศัยของโรค

การป้องกันกำจัด

1. หลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เคยเป็นโรคระบาดมาปลูก

2. คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียโคโค-แม็กซ์ อัตราและการปฏิบัติตามคำแนะนำของนักวิชาการ

3. ควรกำจัดต้นข้าวที่เป็นโรคโดยการถอนและเผาไฟเสีย

4. เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วควรไขน้ำเข้าที่นาและไถพรวน ปล่อยน้ำเข้าที่นาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคที่ตกค้างในดิน


โรคขอบใบแห้ง (Bacterial Leaf Blight)

สาเหตุ

เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae

อาการ

โรค นี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็ก ๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ โรคในระยะ สังเกตได้ยากสักหน่อย อาการในระยะปักดำจะแสดงหลังปักดำแล้วหนึ่งเดือนถึงเดือนครึ่ง ใบที่เป็นโรคขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามลม น้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้  แผลจะขยายไปตาม ความยาวของใบ บางครั้งขยายเข้าไปข้างในตามความกว้างของใบ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรคขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในบางกรณีที่เชื้อมีปริมาณสูงเข้าทำลายทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก

การแพร่ระบาด       

แพร่ระบาดติดไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด

1.ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น กข 5 กข 7 และ กข 23

2.ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช โคโค-แม็กซ์ ในเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของนักวิชาการ

3.ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว

4.ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น


โรคใบขีดโปร่งแสง (Bacterial Leaf Streak)

สาเหตุ

เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzicola  (Fang et al) Dye

อาการ

อาการปรากฏที่ใบ ขั้นแรกเห็นเป็นขีดช้ำยาวไปตามเส้นใบ ต่อมาค่อย ๆ เปลี่ยนเป็น สี เหลืองหรือส้ม เมื่อแผลขยายรวมกันก็จะเป็นแผลใหญ่ แสงสามารถทะลุผ่านได้ และพบแบคทีเรียในรูปหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดปรากฏอยู่บนแผล ส่วนความยาวของแผลขึ้นอยู่กับความต้านทานของพันธุ์ข้าว และความรุนแรงของเชื้อแต่ละท้องที่ ในพันธุ์ที่ไม่มีความต้านทานเลย แผลจะขยายไปถึงกาบใบด้วย ลักษณะของแผลจะคล้ายคลึงกับเกิดบนใบ ส่วนในพันธุ์ต้านทาน จำนวนแผลจะน้อยและแผลจะไม่ค่อยขยายตามยาว รอบ ๆ แผลจะมีสีน้ำตาลดำ

การแพร่ระบาด

ข้าว ที่เป็นโรค มักถูกหนอนกระทู้ หนอนม้วนใบ และแมลงดำหนามเข้าทำลายซ้ำเดิม ในสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด

1.ในดินที่อุดมสมบูรณ์ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก

2.ไม่ควรปลูกข้าวแน่นเกินไปและอย่าให้ระดับน้ำในนาสูงเกินควร

3.ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น โคโค-แม็กซ์ 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร หรือตามกรรมวิธีการป้องกันกำจัดโรคขอบใบแห้ง


โรคใบสีส้ม (Yellow Orange Leaf)

สาเหตุ         

เชื้อไวรัส YellowOrange Leaf Virus

อาการ         

ต้น ข้าวเป็นโรคได้ทุกระยะการเติบโต หากได้รับเชื้อตอนข้าวอายุอ่อน (ระยะกล้า-แตกกอ) ข้าวจะเสียหายมากกว่าได้รับเชื้อตอนข้าวอายุแก่ (ระยะตั้งท้อง-ออกรวง) ข้าวเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 15-20 วัน ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าข้าวจะได้รับเชื้อระยะใด อาการเริ่มต้น ใบข้าวจะเริ่มมีสีเหลืองสลับเขียว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ถ้าเป็นรุนแรงในระยะกล้าต้นข้าวอาจถึงตาย ถ้าอาการแสดงหลังปักดำ เริ่มสังเกตได้ที่ใบเช่นกัน ต้นที่เป็นโรคจะเตี้ยแคระแกรน ช่วงลำต้นสั้นกว่าปกติมาก ใบใหม่ที่โผล่ออกมามีตำแหน่งต่ำกว่าข้อต่อใบล่าสุด ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายทั้งกอ ถ้าไม่ตาย เมื่อถึงระยะออกรวง ให้รวงเล็ก หรือไม่ออกรวงเลย และออกรวงล่าช้ากว่าปกติ

การแพร่ระบาด

มีเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เป็นแมลงพาหะนำโรค

การป้องกันกำจัด

1.ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เช่น กข 1 กข 3 และพันธุ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ตามคำแนะนำของนักวิชาการ

2.กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะนำโรค

3.ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ ลาเซียน่า อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 3 ซีซี(1 ช้อนชา)ตามคำแนะนำของนักวิชาการ ตามอัตราและระยะเวลาใช้ที่เหมาะสม


โรคใบหงิก (โรคจู๋) (Ragged Stunt)

สาเหตุ

เชื้อไวรัส Ragged Stunt Virus

อาการ 

อาการ ของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือข้าวต้นเตี้ย ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม แคบและสั้น ใบใหม่แตกช้ากว่าปกติ และเมื่อแตกพุ่งขึ้นมาไม่ค่อยสมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่าโรคใบหงิก นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบ และกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่ เมล็ดด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 1/3 ถึง 2/3 และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำเติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้มักพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคใบหงิก อาจทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 100%

การแพร่ระบาด

สามารถถ่ายทอดโรคได้โดย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด

การป้องกันกำจัด

1.กำจัด หรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตกซังในนาที่มีโรคกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

2.ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อแมลงพาหะที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ปัจจุบันมีพันธุ์ กข 9  กข 21  กข 23  กข 25 และชัยนาท 1 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานการดูดกินของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีพอสมควร แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

3.ป้องกัน และกำจัดแมลงพาหะ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ลาเซียน่า อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ใส่ก่อนหว่านกล้าหรือหลังข้าวงอกแล้ว 3-4 วัน  1 ครั้ง

4.เมื่อพบแมลงพาหะ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงฉีดพ่น ได้แก่ ลาเซียน่า

5.ถ้ามีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูก 1-2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลงพาหะ


โรคหูด (Gall Dwarf)

สาเหตุ

เชื้อไวรัส Gall Dwarf Virus

อาการ

เป็น โรคที่แสดงอาการคล้ายคลึงโรคใบหงิกมาก ข้าวต้นเตี้ยแคระแกรน ใบสีเขียวเข้ม และสั้นกว่าปกติ ที่บริเวณหลังและกาบใบปรากฏปุ่มขนาดเล็ก สีเขียวซีดหรือขาวใส ลักษณะคล้ายเม็ดหูด เม็ดหูดนี้ คือ เส้นใบที่บวมปูดออกมานั้นเอง เม็ดหูดจะปรากฏเด่นชัดและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้นข้าวแสดงอาการรุนแรง ต้นข้าวเป็นโรคจะแตกกอน้อยลงข้าวให้รวงไม่สมบูรณ์มีเพียง 2-3 รวง/กอ

การแพร่ระบาด

ถ่ายทอดโดยแมลงพาหะคือเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยักและเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

การป้องกันกำจัด

ปฏิบัติทำนองเดียวกับโรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก คือใช้ ลาเซียน่า 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ใส่สารจับใบ 1 ช้อนชา(3ซีซี) ฉีดพ่นในตอนเย็น


โรคเขียวเตี้ย (Grassy Stunt)

สาเหตุ

เชื้อไวรัส  Grassy Stunt Virus

อาการ    

ต้น เตี้ยแคระแกนเป็นพุ่มแจ้ แตกกอมาก ใบแคบมีสีเหลือง เหลืองอมเขียวจนถึงเหลืองอ่อน พบว่าที่ใบมีจุดประสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลอ่อน บางครั้งพบว่าระหว่างเส้นใบเป็นแถบสีเขียวเหลืองขนานไปกับเส้นกลางใบ ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะไม่ออกรวงหรือรวงลีบ บางครั้งอาจพบโรคนี้เกิดร่วมกับโรคใบหงิก  แต่ไม่พบการระบาดของโรคกว้างขวางเหมือนโรคใบหงิก

การแพร่ระบาด       

เชื้อไวรัสโดยมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงพาหะ

การป้องกันกำจัด

ปฏิบัติทำนองเดียวกับโรคใบหงิก คือใช้ ลาเซียน่า 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ใส่สารจับใบ 1 ช้อนชา(3ซีซี) ฉีดพ่นในตอนเย็น


โรคใบสีแสด (Orange Leaf)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา

อาการ

ต้น ข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบจะแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคทั้งใบจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ ทำให้ใบแห้งในที่สุด ต้นข้าวแตกกอได้น้อยแต่ต้นข้าวสูงตามปกติ ไม่มีอาการเตี้ยและตายอย่างรวดเร็ว โรคใบสีแสดนี้เกิดเป็นกอ ๆ ไม่แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างเหมือนโรคใบสีส้ม

การแพร่ระบาด

มีเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยักเป็นแมลงพาหะ ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ตามข้าว และหญ้าชนิดต่าง ๆ

การป้องกันกำจัด

เนื่อง จากยังไม่มีพันธุ์ต้านทาน จึงมุ่งกำจัดแมลงพาหะ ซึ่งปฏิบัติทำนองเดียวกับโรคใบสีส้ม ใช้ ลาเซียน่า 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ใส่สารจับใบ 1 ช้อนชา(3ซีซี) ฉีดพ่นในตอนเย็น


โรคใบเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf)

สาเหตุ  

 เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา

อาการ

โรค นี้พบในระยะข้าวแตกกอหรือระยะออกรวง ใบที่ออกใหม่มีอาการเหลืองซีด ต้นเตี้ย แตกกอมาเป็นพุ่มแจ้ ต้นที่เป็นโรครุนแรงอาจตายหรือไม่ออกรวงถ้าต้นข้าวเป็นโรคในช่วงหลังจะไม่ แสดงอาการก่อนเก็บเกี่ยว แต่เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วลูกข้าวจะแสดงอาการชัดเจน

การแพร่ระบาด

มีเพลี้ยจักจั่นสีเขียวเป็นแมลงพาหะ

การป้องกันกำจัด กำจัดหรือทำลายต้นเป็นโรค และใช้ ลาเซียน่า 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ใส่สารจับใบ 1 ช้อนชา(3ซีซี) ฉีดพ่นในตอนเย็น


ไส้เดือนฝอยรากปม (Root-knot Nematode)

สาเหตุ

ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne graminicola

อาการ

   มักเกิดกับแปลงกล้าซึ่งปล่อยให้น้ำแห้ง เมื่อไส้เดือนฝอยตัวอ่อนระยะที่ 2 ฝังหัวเข้าไปที่ปลายรากอ่อนแล้ว จะปล่อยสารออกมากระตุ้นให้เนื้อเยื่อบริเวณผิวหนังนั้นแบ่งตัวเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดรากพองขึ้นเป็นปม ในปมที่เกิดขึ้นจะมีเซลล์ขนาดใหญ่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากไส้เดือนฝอยปล่อยน้ำย่อยไปย่อยผนังเซลล์หลายเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นมา และมันจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์นี้ เมื่อปลายรากเกิดปมขึ้น แล้วรากนั้นก็จะไม่เจริญต่อไป ถ้ามีปมน้อยอาการไม่ปรากฏที่ใบ ถ้ามีปมมากก็จะทำให้ต้นข้าวแคระแกรนและใบมีสีเหลืองได้

การแพร่ระบาด

ระบาดทางดิน น้ำ และเศษซากพืช พืชอาศัยของไส้เดือนฝอยนี้มีมากมายหลายประเภท ได้แก่ พวกวัชพืชกก, พืชตระกูลหญ้า, วัชพืชใบกว้าง และวัชพืชน้ำ

การป้องกันกำจัด

1.     ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น กข 6

2.     ขังน้ำท่วมแปลงนานกว่า 30 วัน หรือไถตากดินให้แห้ง หรือปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัยหมุนเวียนเพื่อลดจำนวนไส้เดือนฝอยในดิน


โรคใบแถบแดง (Red Stripe)

สาเหตุ

  สาเหตุของโรคมีรายงานครั้งแรกว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อแยกเชื้อบริสุทธิ์จะได้ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์การเกิดโรคได้

อาการ

  ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคเริ่มแรกจะเป็นจุดสีเหลืองแผลเป็นรูปกลมหรือรูป ไข่ จากนั้นจะขยายจากจุดที่เริ่มเป็นขึ้นไปทางปลายใบ โดยเป็นแถบตามเส้นใบ สีของแผลจะเข้มขึ้นเป็นสีเหลืองส้ม บางครั้งจุดนี้จะมีสีเข้ม แผลที่เกิดขึ้นพบแล้วจะเป็นสีเทาและเมื่อเป็นรุนแรงจะแห้งทั้งใบ

การแพร่ระบาด

   มีผู้รายงานว่าสามารถถ่ายทอดได้โดยวิธีการสัมผัส และเป็น air-borne แต่ ยังไม่สามารถพิสูจน์ถึงที่แท้จริงได้ เพราะนักวิจัยอื่น ๆ ไม่สามารถทำการทดลองเช่นเดียวกับผู้รายงานในครั้งแรกไม่ว่าจะเป็นเชื้อ แบคทีเรียหรือเชื้อรา

การป้องกันกำจัด

  จากการทดลองของนักวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การใส่ปุ๋ยไม่มีผลต่อการลดความรุนแรงของโรค การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราให้ผลไม่ชัดเจน ยังไม่มีคำแนะนำการป้องกันจนกว่าจะหาสาเหตุโรคได้


คำสำคัญ (Tags): #โรคข้าว#rice blast
หมายเลขบันทึก: 413225เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2010 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท