การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ


แนวทางใหม่ในการจัดการเชิงกลยุทธ์

บทความทางการศึกษา

การจัดการเชิงกลยุทธ์:โดย นางสุมลฑา ชูจร

รหัส 5355708007

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic  Management)

                การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic  Management) หมายถึง  กระบวนการที่ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและข้อมูลสำคัญของธุรกิจที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ การวางแนวทางการดำเนินงาน การควบคุมการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจ ว่าองค์การสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดการเชิงกลยุทธ์ มีเป้าหมาย 2 อย่าง คือ สร้าง/ดำรงความสามารถในการแข่งขัน และสร้างคุณค่าแก่เจ้าของ

                การวิเคราะห์ศภาพแวดล้อม จึงเป็นกระบวนการในการติดตามและตรวจสอบสภาพแวดล้อมขององค์การ ฝ่ายบริหารจะสามารถตอบสนองต่อพลวัตรของสภาพแวดล้อมได้เหมาะสม ซึ่งเครื่องมือวิเคราะห์มีหลากหลาย เช่น แบบจำลองเพชรแห่งความได้เปรียบของชาติ (Diamond Model of National Advantage) ของ Michael E.Porter  แบบจำลองแรงผลักดัน 5  ประการ (Five Focus Model) หรือ แบบจำลองห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model) การใช้เทคนิคการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยใช้เทคนิค Benchmarking การกำหนดกลยุทธ์เป็นกิจกรรมสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ มี 3 ระดับ คือ ระดับองค์การ ระดับธุรกิจ และระดับหน้าที่  การกำหนดจะต้องชัดเจนเป็นรูปธรรม ต้องใช้ความพยายาม มีเงื่อนไขเวลา มีเหตุผล สร้างความเข้าใจร่วมกัน สามารถวัดได้ การจัดการสร้างกลยุทธ์ด้วย Blue Ocean ซึ่งมีกรองการดำเนินงาน 4 ประการ คือ การขจัด การลด การยกระดับ และการสร้าง  ที่เน้นการสร้างขอบเขตการตลาดใหม่ เน้นภาพใหญ่ไม่ใช่ตัวเลข ก้าวพ้นความต้องการที่มีอยู่เดิม และการกำหนดลำดับกลยุทธ์ให้ถูกต้อง ส่วนการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัตินั้น ใช้ แบบจำลอง 7S ของ Mckinsey และการใช้ BSC ควบคุมการใช้กลยุทธ์อีกทีหนึ่ง

                การจัดการกับการเปลี่ยนแลงทุกด้านในยุคปัจจุบันสถานศึกษาเองไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเอกชนต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภายนอกและภายใน  สามารถจัดการได้  6  วิธี  คือ

                                                                1.การติดต่อสื่อสาร

                                                                2.การมีส่วนร่วม

                                                                3.การอำนวยความสะดวกและให้การสนับสนุน

                                                                4.การเจรจาต่อรอง

                                                                5.การแทรกแซงและการสร้างแนวร่วม

                                                                6.การบังคับ

การเปลี่ยนแปลงขั้นวิกฤติใช้กลยุทธ์กลับตัวที่สามารถดำเนินการได้ มี 4 ลักษณะ คือ กลยุทธ์เพิ่มรายได้  กลยุทธ์ลดต้นทุน กลยุทธ์การลดสินทรัพย์ และกลยุทธ์ผสม

                อย่างไรก็ตามการที่จะให้ธุรกิจหรือสถานศึกษาเองอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้น ผู้บริหารจะต้องยึดหลักบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมในการประกอบธุรกิจที่พึงปฏิบัติ และ หลักธรรมาภิบาลสำหรับการดำเนินงานของรัฐ ด้วยความรับผิดชอบ เปิดเผย โปร่งใส ยึดถือระเบียบที่ยุติธรรม มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม(Public Mind) และความซื่อสัตย์ประกอบกันด้วย.

 

หมายเลขบันทึก: 413019เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2010 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท