ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บทความ ปาก


อาจารย์ 2 ท่าน มีความรู้ไม่เท่ากัน คนแรกมีความรู้ 90 % แต่ไม่สามารถบรรยายให้คนฟังเข้าใจตามที่ตัวต้องการได้ ฉะนั้นคนฟังน่าจะได้รับความรู้ 90 % เท่ากับที่อาจารย์รู้แต่อาจารย์สามารถบรรยายให้คนเข้าใจเพียง 20 % แต่อาจารย์ท่านที่สอง มีความรู้น้อยกว่า อาจารย์คนที่สองมีความรู้แค่ 60 % แต่สามารถทำให้คนฟังเข้าใจ 50 % ถามว่าอาจารย์ท่านไหน ใช้ปากให้เกิดประโยชน์มากกว่ากัน แน่นอน อาจารย์ท่านที่สอง ถึงแม้มีความรู้น้อยกว่าแต่ทำให้คนเข้าใจมากกว่า

ปาก
โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์

http://www.drsuthichai.com

ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือเป็นตรีมีปัญญาไม่เสียหลาย ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากกาย มีอุบายใช้ไม่เป็นเห็นป่วยการ

                           นี่เป็นคำกล่าวของคนโบราณที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้ปากให้เกิดประโยชน์ จากคำกล่าวนี้นับว่าเป็นความจริงทีเดียว ถึงแม้จะมีความรู้มากมายแต่ถ่ายทอดไม่เป็นก็ไม่เกิดประโยชน์ อาจารย์ 2 ท่าน มีความรู้ไม่เท่ากัน คนแรกมีความรู้ 90 % แต่ไม่สามารถบรรยายให้คนฟังเข้าใจตามที่ตัวต้องการได้ ฉะนั้นคนฟังน่าจะได้รับความรู้ 90 % เท่ากับที่อาจารย์รู้แต่อาจารย์สามารถบรรยายให้คนเข้าใจเพียง 20 % แต่อาจารย์ท่านที่สอง มีความรู้น้อยกว่า อาจารย์คนที่สองมีความรู้แค่ 60 % แต่สามารถทำให้คนฟังเข้าใจ 50 % ถามว่าอาจารย์ท่านไหน ใช้ปากให้เกิดประโยชน์มากกว่ากัน แน่นอน อาจารย์ท่านที่สอง ถึงแม้มีความรู้น้อยกว่าแต่ทำให้คนเข้าใจมากกว่า

                     ฉะนั้นนี่เป็นความสำคัญของการพูด ซึ่งผู้รักความก้าวหน้าควรฝึกปฏิบัติ พยาบาลบางคนทำงานที่โรงพยาบาล ตรวจคนไข้ ก้มหน้าก้มตาจด แล้วบอกคนไข้ว่า “ ป้าถอดรองเท้าแล้วชั่ง ” แล้วก็ถามป้าว่าหนักเท่าไร ป้าตอบ “ 3 ขีด ” นี่แสดงว่ามีปัญหาในด้านการสื่อสาร คือความจริงต้องการให้ป้า ถอดรองเท้าก่อน แล้วป้านี่ขึ้นตาชั่ง ชั่งน้ำหนักตัวเอง แต่ป้าดันไปเข้าใจว่า พยาบาลให้ถอดรองเท้าแล้วเอารองเท้าชั่ง หรือ อีกตัวอย่างหนึ่ง แพทย์ตรวจคนไข้ ซึ่งเป็นสุภาพสตรีแล้วบอกสุภาพสตรีผู้นั้นว่า “ หมอจะทำการผ่าตัด ซึ่งคิดว่าจะเป็นอันตรายได้ ให้คุณไปเอาสามีมาก่อน ” ปรากฏว่า พรุ่งนี้เช้า สุภาพสตรีมาแต่เพียงผู้เดียว มาพบหมอ หมอถามแล้วสามีคุณละ “ เอามาหรือยัง ” คนไข้สุภาพสตรีตอบทันควัน “ เอามาแล้วค่ะ เอามาเมื่อคืนนี่เองค่ะ ” นี่แสดงว่ามีปัญหาในการสื่อสารเช่นกัน หมอต้องการผ่าตัด คนไข้ กลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนไข้ ต้องการที่จะปรึกษาสามีและให้สามีคนไข้ได้เซ็นต์ยินยอม แต่คนไข้ดันนึกว่า หมอบอกให้ไปเอาสามีมา นึกว่าหมอให้มีเพศสัมพันธ์กับสามีก่อนผ่าตัด นี่เข้าใจไปคนละเรื่องเดียวกันเลย

              บางคนเป็นเจ้าของกิจการ อยากจะชมลูกน้องว่า ทำงานดี มีความซื่อสัตย์ ทำให้กิจการมีกำไร และเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่พูดไม่เป็น เพราะไม่ได้ศึกษา และฝึกฝน แทนที่ชมดีดี เช่น คุณนี่เป็นคนดี ผมภูมิใจที่มีคนอย่างคุณทำงานให้ผม ทำให้ผมเบาแรงลงมากเลย เพราะคุณเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีความซื่อสัตย์ แต่กลับไปชมว่า กูนี่โชคดีได้ลูกน้องแบบมึง มึงซื่อสัตย์แบบหมาเลย ถึงแม้จะชมด้วยความจริงใจ พูดแบบเป็นกันเอง แต่ผู้ฟัง อาจรู้สึกไม่ประทับใจได้ ฉะนั้นกระผมขอยืนยัน นั่งยัน และนอนยัน ได้เลยว่า “ ปากเป็นเอก ” นั้นถือว่าเป็นความจริงมากทีเดียว เราสามารถพัฒนาและฝึกฝนได้ มันไม่ใช่ พรสวรรค์แต่เป็นพรแสวง ต่างหาก ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา…….

คำสำคัญ (Tags): #ปาก
หมายเลขบันทึก: 412951เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2010 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...

โอ๋เคยประสบเหตุการณ์แบบนี้ค่ะ ดังเช่นท่านอาจารย์กล่าว ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา…รู้มากรู้น้อยขึ้นอยู่กับว่าถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้มากน้อยเท่าใด การให้ถ้าคุณให้แบบเปิดก็มีประโยชน์และมีค่า แต่ถ้าให้แบบกั๊กเพื่อต้องการบอกว่าแค่ได้ให้มีความหมายใดเล่า(กดดันนิดหน่อยค่ะ โอ๋เข้าอบรมบางอย่างวิทยากรเก่งมาก แต่เขาบอกแค่ผ่านและตามเวลาที่กำหนด ด้วยเรามีความรู้น้อยอาจจะเข้าใจยากสักนิดจึงมีคำถามเมื่อสงสัย แต่วิทยากรบอกว่าเวลาหมด..แล้วโอ๋จะไปถามใครค่ะ) เลยต้องกลับมาหาข้อมูลทาง internet และเรียนรู้เองแบบลองผิดลองถูก ...และคงใช่ค่ะ พรแสวงช่วยเราได้ถ้าเราตั้งใจ)ขอบคุณค่ะสำหรับบันทึกตรงใจโอ๋

ครับ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท