ภาษาเมืองล้านนาวันละคำตอน "เถียว"


เถียวเป็นคำเมืองล้านนาที่บอกลักษณะของเล่มไม้ที่เล็กเรียว

มีคำถามจากผู้ฟังทางรายการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ในรายการ "ม่วนกั๋นบ้านเฮา"เกี่ยวกับคำว่า "เถียว"  หมายถึงอะไร??...

ในกอไผ่จะต้องมีไม้เถียวหรือไผ่ลอดกออยู่ไม่มากก็น้อย  เพราะไผ่ลอดกอ  หรือไม้เถียวเป็นสิ่งที่ต้องเกิดก่อนไม้ไผ่ลำโต  แม้จะเป็นกอไผ่กอใหญ่มีไม้ไผ่ลำโตๆอยู่ แต่บางครั้งการแตกหน่อออกกอไม้เล่มใหม่ บางครั้งต้องเป็นไม้เล่มเล็กๆหรือลำเล็กๆ  ไม้ที่เล็กเรียวในกอเหล่านี้นั่นไงครับทางผู้คนล้านนาเรียกกันว่าไม้ "เถียว"

ประโยชน์ของไม้เถียวมีมากมายนัก...

ผู้คนล้านนาจะนำไม้เถียวมาทำคันช่อ(อ่านว่า  จ้อ ) คือคันธงสามเหลี่ยม   ถือนำหน้าขบวนครัวทาน(ขบวนไทยทาน)  หรือเดินนำหน้าแถวเพื่อให้เป็นที่สังเกตของผู้คนที่เดินตามหลัง  และเป็นสิ่งที่คึสง่างามแก่ผู้พบเห็นในการเดินแถว เดินขบวนนำเครื่องครัวทานไปสู่วัดวาอารามด้วยความปิติที่จะได้บุญ

นอกจากนี้ไม้เถียว  ยังนำมาเป็นไม้ส้าว(ไม้สอย)ผลไม้ สอยสิ่งของที่อยู่สูง   เพราะไม้เถียวมีน้ำหนักเบาและขนาดเล็ก  แข็งแรงจึงเป็นไม้ไผ่ที่มีประโยชน์แก่ผู้คนอย่างแท้จริง

บางครั้งคำว่า "เถียว"  ยังสามารถเปรียบเทียบเป็นคำพังเพย สุภาษิตได้อีก  เช่นว่า    "ฮ่างก็แค้ว  แอวก็เถียว"   หมายความว่า  เป็นคนรูปร่างเพรียวและเอวคอดเรียวงาม

หรือบางครั้งพูดเปรียบนิ้วมือสตรีว่า  "นิ้วงามเถียว"   หมายความว่า     นิ้วมือเรียวงามแท้นั่นเอง....

หากมีคำพูดว่า   เก๊าใหญ่ปล๋ายเถียว   (โคนใหญ่ปลายเรียว) หมายความว่าไม้ต้นนั้นมีโคนใหญ่และเรียวเล็กสู่ปลายยอด

"เถียว"    จึงเป็นคำเมืองล้านนาที่บอกลักษณะลำไม้ไผ่  เช่นว่า   ไม้ฮวกเถียว   หมายถึง  ไม้ไผ่รวกลำเล็กเรียว       ไม้เฮี้ยเถียว  หมายถึงไม้ไผ่บางลำเล้กเรียว

เถียวก็หมายถึงเรียวสู่ปลายยอดหรือเล่มเล็กนั่นเนอหมู่เฮา

หมายเลขบันทึก: 412944เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2010 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท