ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

ป่าห้วยไร่บูรพา กล้ายิ้มระดับประเทศ


มีคนดี มีแผนดี มียุทธศาสตร์ดี มีกิจกรรมต่อเนื่องดี

23 พฤศจิกายน 2553 มีคนดี มีแผนดี มียุทธศาสตร์ดี มีกิจกรรมต่อเนื่องดี  โดยที่พอทำงานไปแล้วมีอุดมการณ์ร่วมกัน มีคน(สนับสนุนได้) มาเห็น  และร่วมกันแก้ปัญหาให้ถูกจุด  จั่วหัวไว้อย่างนี้  ซึ่งคนทำงานแพทย์แผนไทย ได้แก่ผม เจี๊ยบ ปุ๊ก ได้มีโอกาสไปร่วมดูงานป่าห้วยไร่บูรพา ตำบลอูบมุง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานีเราเองนี่แหละ ซี่งได้รับรางวัลระดับประเ?สในโครงการกล้ายิ้มของกรมป่าไม้ ทั้งนี้จากการที่ได้มีการพูดคุยกับคนทำงานอาสาพิทักษ์ป่าคำหัวแฮด (มีผญ.บุญไทย , พี่วีรพันธ์ เป็นแกนหลัก)  ซึ่งสนใจจะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนทำงานทางห้วยไร่บูรพา  งานนี้เลยได้เกิด ทางเราได้ประสานกับพี่อภิชาติ และหน.สมเด็จ ซึ่งคุ้นเคยกับพื้นที่เป็นอย่างดี และเป็นพี่เลี้ยงให้ทางคำหัวแฮดด้วยก็ยิ่งเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น  ทีมงานที่เราได้ไปเจอกันวันนั้น นอกจากทีมคำหัวแฮด แล้ว ยังมีทีมที่มาจากจอมศรี อำเภอเพ็ญ (พ่อบุญไทย พี่คำสิงห์ พี่จำรัส และน้องนักวิชาการจากจอมศรี) ทีมจากบ้านตลิ่งชัน ตำบลหินโงม (คณะเจ้าหน้าที่นำโดยพี่ร่าเริง และเครือข่ายคนทำงานที่บ้านตลิ่งชัน)  และพี่อภิชาตยังได้ชักชวน กลุ่มภูพานน้อย ถ้ำสิงห์ จากอบต.ขอนยูง อำภอกุดจับ มีร่วมขบวนกันด้วย โดยพี่กล้าณรงค์ หัวหน้าสถานีอนามัย ได้นำคณะหมอนวดมาเตรียมอาหารให้พวกเราด้วย

          เราไปตั้งหลักกันที่ในพื้นที่ป่าห้วยไร่บูรพา ซึ่งพื้นที่นำโดย พ่อหมุน (รองนายก อบต.อูบมุง ซึ่งเป็นหนึ่งในคนทำงานอนุรักษ์มาก่อน) , พ่อไสว และพ่อประธานป่า หมู่10  เปิดเวทีแนะนำตัวกัน โดยแต่ละพื้นที่ได้เล่าให้ฟัง ได้แก่ กลุ่มภูพานน้อย ถ้ำสิงห์ พ่อตัวแทนจากอบต.ขอนยูง ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อปี 2546 กรมศิลปากรได้มาดูถ้ำสิงห์ และได้ให้งบประมาณมาทำแนวกันไฟ และได้มีการสนับสนุนจากหน่วยอนุรักษ์ในพื้นที่ในการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่นยาหม่องหัวเข่าคลอน ปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 7,500 ไร่ และเคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว   พื้นที่ป่าตลิ่งชัน ผญบ.ม.4 เล่าให้ฟังว่าจากการที่หมอพาสำรวจป่าแล้วนั้นมีพื้นที่ 75 ไร่ แม้จะเล็กแต่ก็มีคุณค่าทางจิตใจ และมีแผนพัฒนากลุ่มซึ่งตอนนี้ได้รับงบประมาณจาก อบต.แล้ว พื้นที่ป่าชุมชนตำบลจอมศรี อ.เพ็ญ ประธานป่าชุมชน ปี่จำรัส บอกว่ามีพื้นที่ประมาณ 176 ไร่ ทั้งนี้ได้เคยขอเข้าโครงการลูกโลกสีเขียว แต่ไม่ผ่านเนื่องจากกลุ่มยังไม่ได้รับการเชื่อมโยงกับทาง อบต.  และกลุ่มจากโคกคำหัวแฮด ทุ่งฝน ผญ.ไทย เล่าว่ามีพื้นที่กว่า 1,800 ไร่ มีการร่วมรณรงค์อนุรักษ์โดยเครือข่ายอาสาพิทักษ์ป่า และได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ และสาธารณสุข ในการพัฒนาโคกคำหัวแฮด รวททั้งการมีรายได้จากการหาของป่า เห็ด ในพื้นที่ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนทำงานอาสาเห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินี้

          ในพื้นที่ป่าห้วยไร่บูรพา พ่อไสวเล่าว่าครอบคลุมพื้นที่ ม.4 และ ม.10 ซึ่งแรก ๆ มีพื้นที่ 150 ไร่ คนทำงานได้ขยายผลออกเป็น 1500 ไร่ การที่มาถึงจุดนี้ได้ เพราะเห็นป่ามาตั้งแต่เด็ก จนอายุ 13-14 ปี มาเลี้ยงสัตว์ วัวควายบนพื้นที่แห่งนี้ก็อุดมสมบูรณ์  พอปี 2520 ก็ได้มาทำเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์  จนกระทั่งปี 2537 ได้ร่วมอบรมกับ FBT ปตท. และเพื่อน ๆ ที่ทำงานอาสาด้วยกัน เช่นพ่อหมุน เห็นว่าพื้นที่ป่าเบาบางลงไปมาก ก็มีใจอาสามาทำงาน แรก ๆ รวมกลุ่มกัน 3-4 คน ปี 2507 มีการสัมปทานป่า ปี 2511-12 มีระเบิดลง มีการหักล้างถางพงขึ้นมาตั้งบ้าน 5 หมู่บ้าน พอปี 2529-2530 ทางจังหวัดมาขอให้ลง ก็ทำงานอาสาพิทักษ์เรื่อยมา  จนกองทัพภาค 2 ได้มาเสนอขอธงพิทักษ์ป่า จากสมเด็จพระราชินี ให้แก่กลุ่ม (รสทป) พอปี 2547 เห็นว่า “ทำแต่เฮา การประสานงานจะยาก” ก็เลยส่งคนในเครือข่ายสมัครเป็นตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มีแผนการณ์ดี)  ในส่วนของปัญหาอุปสรรคก็จะเป็นในเรื่องของการมีข้อขัดแย้งกับผู้บุกรุกแผ้วถาง  และไม่ได้คิดเรื่องการประกวดแต่ทาป่าได้เล็งเห็นความสำคัญของเครือข่าย ป่าที่นี่เป็นป่าเบญจพรรณ 3 ส่วน ป่าดิบแล้ง 5 ส่วน ป่าเต็งรัง 5 ส่วน  ทุกปีจะมีกิจกรรมอบรมการดับไฟป่า 1 ครั้ง นอกจากนี้จะมีกิจกรรมร่วมกันอยู่เรื่อย ๆ ไม่ขาด

          ทางพ่อหมุน ได้เล่าให้ฟังว่า แต่อดีตตนเองก็ยิงนกตกปลา จนปี 2543 ได้ร่วมเป็น รสทป. ปี 2544-2545 หารือกันว่าจะได้งบ อบต. มีแผนจะขยายป่าชุมชนให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่มีกรรมการป่า หน่วยงานรัฐและเอกชนควรจะได้เข้ามา  และตอนนี้มีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็น “วุ้นหมาน้อยลอยแก้ว”

          พ่อประธานป่า ม.10 ก็เข้ามาตอนปี 2541 สมัยเริ่มปลูกป่าถาวร เป็นป่าต้นน้ำห้วยหลวง มีการอบรมปีละ 2 ครั้ง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์การหาของป่า เช่นไม้ล้มหมอนนอนไพรให้ตัด 50 ซม.เป็นต้น

          สิ่งที่เราได้จากการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คราวนี้ก็เหมือนที่ได้จั่วหัวไว้นั่นเอง คือมีคนดี มีแผนดี มียุทธศาสตร์ดี (ส่งพ่อหมุนเข้าร่วมเป็นผู้บริหาร อปท.) มีกิจกรรมต่อเนื่องดี  โดยที่พอทำงานไปแล้วมีอุดมการณ์ร่วมกัน มีคน(สนับสนุนได้) มาเห็น  และร่วมกันแก้ปัญหาให้ถูกจุด 

            และได้ขอให้พ่อไสว ลองสำรวจพื้นที่คร่าว ๆ แล้วจัดทำเป็นแผนที่ทางเดินศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่

 

คำสำคัญ (Tags): #คำหัวแฮด
หมายเลขบันทึก: 412853เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2010 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท