ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บทความ การเลือกอาชีพ ผู้นำและองค์กร


ารทำงานที่ตนเองชอบจะทำให้คนนั้น มีความอดทนต่อความล้มเหลวได้มากกว่าคนธรรมดา การทำงานที่ตนเองชอบจะทำให้คนนั้นอดทนต่อการถูกด่าทอ อดทนต่อการดูถูก กว่าคนที่ไม่มีเป้าหมาย และการทำงานที่ตนเองชอบ เราจะไม่คิดว่าเรากำลังทำงานแต่เราคิดว่าเรากำลังสนุก เรากำลังได้พักผ่อน ผู้นำหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จ ของจะเลือกทำงานที่ตนเองรัก ไม่ใช่เลือกทำงานตามวุฒิ ตามปริญญาที่ตนเองเรียนจบมา เช่น คุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ก็ไม่ได้จบทางด้านประชาสัมพันธ์มา แต่จบปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ แต่ก็เป็นหัวหน้าประชาสัมพันธ์ของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย จนทำงานบริษัทโตโยต้า ประเทศไทยมียอดขายมากมาย

การเลือกอาชีพ ผู้นำและองค์กร

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                              การเป็นผู้นำ(Leader) มีความสำคัญมากกับการอยู่รอด การเจริญก้าวหน้า การถดถอย การก้าวกระโดด ขององค์กร ถ้าองค์กรใด มีผู้นำที่เก่ง มีผู้นำที่ดี องค์กรนั้นก็จะเจริญก้าวหน้าไปได้ด้วยดี ตรงกันข้าม ถ้าองค์กรใดมีผู้นำที่ไม่เก่ง ไร้ซึ่งความสามารถ ก็จะทำให้องค์กรนั้นเจริญก้าวหน้าไปอย่างช้าๆและบางแห่งถึงขนาดถดถอย ล้าหลังไปเลยก็มี สำหรับทักษะหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี ได้แก่ การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน,วิสัยทัศน์ของผู้นำ,เทคนิคในการตัดสินใจ,การ สื่อสารที่ดี , คุณธรรมของผู้นำ , การทำงานด้วยความสนุก ฯลฯ โดยเฉพาะการทำงานด้วยความสนุก บุคคลหรือผู้นำที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มักจะเลือกงาน เลือกองค์กร ที่ตัวเองทำแล้วมีความสุข มีความสนุก

                         อีกทั้งยังตรงกับเป้าหมายในชีวิต ความสามารถในตัวเอง การเลือกอาชีพ การเลือกองค์กร ในการทำงานจึงถือว่าสำคัญมากในการที่คนๆ นั้นหรือผู้นำ จะประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือเป็นคนธรรมดา ดังนั้น การเลือกงานหรือการเลือกองค์กรที่ตนเองชอบจึงสำคัญมากกว่าการเลือกงานหรือ เลือกองค์กร เพราะมีเงินเดือนมาก หรือได้เงินตอบแทนมาก

                          โดยที่ตนเองอาจไม่ชอบงานนั้นๆ หรือองค์กรนั้น ผู้นำบางคนเลือกอาชีพ เลือกเข้าไปทำงานในองค์กรตามกระแส คนบางคนอาจจะไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้ว่าตนต้องการอะไร เหมือนกับเด็กๆ เห็น ภราดร ตีเทนนิส ประสบความสำเร็จ บางคนก็อยากให้ลูกตีเทนนิส บางคนเห็น ไทเกอร์วูล ตีกอฟล์ ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง ก็อยากให้ลูกเป็นนักกอฟล์บ้าง แต่หารู้ไม่ว่า คนเรามีความสามารถแตกต่างกันไป เราไม่อาจเลียนแบบคนอื่นแล้วประสบความสำเร็จตามคนๆนั้นได้ ถ้าคนเราไม่มีความชอบ มีพรสวรรค์ มีพรแสวง ก็จะทำงานหรือฝึกฝนตนเองด้วยความเบื่อหน่าย การเลือกอาชีพ ตามเวรตามกรรม

                         ผู้นำบางคนซึ่งอาจเป็นคนส่วนใหญ่ก็ว่าได้ เลือกอาชีพ ตามเวรตามกรรม เห็นว่างานไหน องค์กรไหน มีตำแหน่งว่างก็สมัครไปก่อน เมื่อได้ทำแล้ว ก็ทำแบบสบายๆ ไม่กระตือรือร้น ไม่มีความสนุกในงาน เกิดอาการเบื่อหน่าย ดูสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของที่ทำงานก็เกิด อาการเซ็ง ถ้าเป็นอย่างนี้ กระผมขอแนะนำให้เปลี่ยนงานใหม่ หรือ เปลี่ยนองค์กร ที่ตรงกับความชอบ ความรัก และตรงกับความสามารถ รวมทั้งความฝันของตนเองจะเป็นการดีกว่า

                      แต่แท้จริงแล้ว การเลือกอาชีพ หรือ เลือกงานนั้น มีความหมายมากๆ สำหรับการดำเนินชีวิตและผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต การทำงานที่ตนชอบจะทำให้ตนเองเกิดความสนุก การทำงานที่ตนชอบจะทำให้ผู้นั้นทำงานได้นานกว่าปกติ การทำงานที่ตนเองชอบจะทำให้คนนั้น มีความอดทนต่อความล้มเหลวได้มากกว่าคนธรรมดา การทำงานที่ตนเองชอบจะทำให้คนนั้นอดทนต่อการถูกด่าทอ อดทนต่อการดูถูก กว่าคนที่ไม่มีเป้าหมาย และการทำงานที่ตนเองชอบ

                    เราจะไม่คิดว่าเรากำลังทำงานแต่เราคิดว่าเรากำลังสนุก เรากำลังได้พักผ่อน ผู้นำหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จ ของจะเลือกทำงานที่ตนเองรัก ไม่ใช่เลือกทำงานตามวุฒิ ตามปริญญาที่ตนเองเรียนจบมา เช่น คุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ก็ไม่ได้จบทางด้านประชาสัมพันธ์มา แต่จบปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ แต่ก็เป็นหัวหน้าประชาสัมพันธ์ของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย จนทำงานบริษัทโตโยต้า ประเทศไทยมียอดขายมากมาย อาจารย์จตุพล ชมพูนิช ก็จบนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพในการใช้วิชาทางด้านกฏหมายมา แต่มาเป็นนักพูด นักฝึกอบรม นักบรรยาย นักทอล์คโชว์

                 ดังนั้น ผู้นำหรือบุคคลที่ต้องการประสบความสำเร็จ จงเลือกงานที่ตนเองชอบ จงเลือกองค์กรที่ตนเองรัก แล้วเราจะมีความสุข เราจะมีความสนุก และเราจะประสบความสำเร็จในชีวิต

คำสำคัญ (Tags): #การบริหาร
หมายเลขบันทึก: 412253เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2010 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท