องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

แนะนำหลังตรวจทางนรีเวช....อย่างไรให้ได้มาตรฐาน


                                               นางมลิ            บวบทอง  

                                               นางสุมิตรา       ดีวัน     

                                               นางรุ่งทิพย์      จุ่นน้อย

                                               นางจิตนิภา      ชัยติสกุล       

คลินิกนรีเวชกรรมเป็นคลินิกหนึ่งในงานวัยทำงานที่ให้บริการสตรีที่มาตรวจภายใน/ตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปีและสตรีที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และมาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก เป็นการบริการที่ครอบคลุมการตรวจรักษาพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ ดังนั้นผู้รับบริการที่มารับการตรวจรักษา ควรได้รับรู้เกี่ยวกับผลการตรวจ/การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ รักษา และการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน ซึ่งพยาบาลผู้ให้บริการ ในคลินิกนรีเวชกรรมควรมีการทวนสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกับผู้รับบริการและเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ซักถามประเด็นสงสัย รวมทั้งมีการบันทึกกิจกรรมการให้บริการทางการพยาบาลในแฟ้มประวัติเพื่อให้ถูกต้องตามมาตรฐาน   การบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก

ดังนั้นเพื่อให้การบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกเป็นไปตามมาตรฐาน งานวัยทำงานจึงได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการให้คำแนะนำผู้รับบริการหลังตรวจทางนรีเวชขึ้น

มลิ : การให้คำแนะนำในผู้รับบริการนรีเวชฯ ยังไม่มีรูปแบบการให้คำแนะนำซึ่งอาจทำให้ จนท.ในแผนกเราแต่ละคนให้คำแนะนำแตกต่างกัน และไม่มีหลักฐานว่าแนะนำอะไรไปบ้าง สำหรับตัวเองจะทวนถามผู้รับบริการทุกคนบางครั้งผู้รับบริการจะบอกว่าแพทย์ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร แต่จะอธิบายอีกครั้งตามที่แพทย์บันทึกไว้ใน OPD CARD

สุมิตรา : หลังจากที่ผู้รับบริการตรวจเสร็จแล้วจะถามว่าแพทย์ได้บอกอะไรบ้างแล้วดูว่าตรงกับที่แพทย์บันทึกไว้หรือเปล่า และให้คำแนะนำตามที่แพทย์เขียนไว้ แต่ไม่ได้เขียนว่าพูดคุยกับอะไรกับผู้รับบริการ แต่วันนัดที่จะให้ผู้รับบริการ บันทึกไว้

รุ่งทิพย์ : จะถามย้ำกับผู้รับบริการอีกครั้งหลังตรวจ ว่าแพทย์บอก/อธิบายว่าอย่างไรบ้าง ถ้าผู้รับบริการมียาเหน็บทางช่องคลอดจะอธิบายเพิ่มเติม แต่ก็ไม่ได้เขียนไว้ว่าแนะนำ แต่ถ้ามีนัดติดตามจะเขียนวันนัดไว้

จิตนิภา : ส่วนใหญ่เมื่อดูที่ผลการตรวจของแพทย์ จะสรุปบอกผู้รับบริการเลยว่าแพทย์ว่าเป็นอะไร รักษาอย่างไร/อธิบายช้ำอีกทีถ้าผู้รับบริการยังสงสัย/ถ้ามีผู้รับบริการรอนานจะอธิบายน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้รับบริการมีน้อย และที่อธิบายกับผู้รับบริการไม่ได้ บันทึกที่ OPD CARD เลย

    จากนั้นได้มีการพูดคุยกันอีก 3 ครั้ง หลังจากได้ทดลองนำไปปฏิบัติแล้วแก้ไข จนสรุปได้แนวทางปฏิบัติมา แบบนี้

ผลลัพธ์กิจกรรม 

  1. ได้รูปแบบการให้คำแนะนำผู้รับบริการหลังตรวจทางนรีเวชที่เป็นแนวทางเดียวกัน
สำหรับพยาบาล 1 รูปแบบ โดยทำเป็นตรายาง  2 อัน ดังนี้

คำแนะนำหลังตรวจทางนรีเวช

¨ ทบทวนผลการตรวจและแนวทางการรักษา

¨ นัดวันที่.........................เพื่อ...................

¨ ส่งผล Pap  smear ทางไปรษณีย์

¨ แนะนำ..................................................

 ลงชื่อ…..............................ผู้แนะนำ

  1. เก็บข้อมูลบันทึกทางการพยาบาลของคลินิกนรีเวชกรรม สรุปได้ดังนี้
เดือน
จำนวนผู้รับบริการ
จำนวนแฟ้มประวัติ
คิดเป็น %
เป้าหมาย
ที่มีบันทึกทางการพยาบาล
มีนาคม
192
192
100
80
เมษายน
141
140
99.3
80
พฤษภาคม
17
17
100
80
มิถุนายน
22
22
100
80
 หมายเหตุ เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสุ่มประเมินแฟ้มประวัติวันละ 1 ราย
และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป  ดำเนินการสุ่มประเมินแฟ้มประวัติวันละ 1 รายเป็นประจำและสรุปวิเคราะห์ข้อมูลทุก 3 เดือน
หมายเลขบันทึก: 411544เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท