คำสอนของคุณต้นหญ้า


ต้นหญ้าต้นเล็ก ๆ ที่หยัดยืนสู้แดดลมฝน เพียงเพราะต้นหญ้าได้ใช้สิ่งที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวอย่างรู้ค่ามีค่าที่สุด

(ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ต)

.....ผู้เขียนเคยสงสัยหลายครั้งแล้ว ระหว่าง "ต้นหญ้า" กับ "ต้นผัก" ทำไมต้นหญ้าถึงสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ทุกที่ ซึ่งต่างจากต้นผักที่ต้องการคนพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ควบคุมปริมาณแสงที่เพียงพอ อาจจะเป็นเพราะความต้องการสารอาหาร ในการดำลงชีวิต ความอดทนต่อความร้อน ความหนาว ความโหดร้ายทารุนของสภาพอากาศ ในฤดูที่แห้งแล้ง ต้นหญ้าต้องยอมเสียสละทั้งดอก ทั้งใบของตัวเอง โดยให้เหลือเฉพาะส่วนหัว ที่ผังอยู่ในดินเท่านั้น เพื่อรักษาชีวิตให้รอดตลอดฤดูแล้ง

.....เมื่อมามองอุปมาในชีวิตของคนเรา หากเรานำข้อคิดของต้นหญ้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตข้อหนึ่งคือความ "สมถะ" (ADJ. unambitious  มักน้อย) ความมักน้อยคือ ความต้องการแต่น้อย  หรือความปรารถนาน้อย  ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีมาก  หรือสมบูรณ์หรือเพียงพอ  แต่ถ้าเรามีความปรารถนามากเท่าไหร่  มันก็รู้สึกว่าไม่เพียงพอ  ความปรารถนาน้อยทำให้เรามีจิตใจสุขสำราญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสุตันตปิฎก  เล่ม 20  อังคุตตรนิกาย  เอกนิบาต  ว่า ความมักมากเป็นเหตุให้อกุศลเกิดขึ้น  ทำให้กุศลเสื่อมไป  ส่วนความมักน้อยเป็นเหตุให้กุศลธรรมเกิดขึ้น  ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป

    เพราะฉะนั้น  ท่านโบราณาจารย์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า  ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ  มหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้ำฉันใด  บุคคลผู้มักมากก็ฉันนั้น  ให้ปัจจัยเท่าไหร่ๆก็ไม่รู้จักพอใจ  ส่วนคนมักน้อย  หรือความมักน้อย จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับความมักมาก ปาปิจฉตา นี้อาจจะแปลตามตัว ก็คือผู้ที่มีความปรารถนาน้อย  ต้องการแต่น้อย

  ในอรรถกถา  อังคุตตรนิกาย  ท่านได้จำแนกบุคคลที่มีความปรารถนาน้อยเป็น 4 อย่าง คือ
      
     1. เป็นผู้ปรารถนาน้อยในปัจจัย 4  ปจฺจยอปฺปิจฺโฉ
      
     2. เป็นผู้ปรารถนาน้อยในธุดงคคุณ  เรียกว่า ธุตงฺคอปฺปิจฺโฉ
      
     3. เป็นผู้ปรารถนาน้อยในปริยัติ  เรียกว่า ปริยตฺติอปฺปิจฺโฉ  คือการศึกษาเล่าเรียน
      
     4. เป็นผู้ปรารถนาน้อยในธรรมที่บรรลุ  เรียกว่า อธิคมอปฺปิจฺโฉ

จะเห็นได้ว่า ผู้มักน้อย จะเป็นผู้มีชีวิตรอดในทุก ๆ สถานการณ์ ปัจจัย 5 ปัจจัย 6 ที่สังคม พ่อค้า นักธุรกิจต่างยัดเยียดให้กับเรา ว่ามันคือสิ่งที่จำเป็น ทุกคนต้องมี รถซื้อมาจนถนนไม่พอจะวิ่ง แต่ทุกคนยังต้องซื้อ เป็นเพราะความปรารถนาของใจเราเอง ที่ทนต่ออำนาจของตัณหาไม่ไหว ซึ่งอาจจะเปรียบชีวิตอย่างนี้เป็นเหมือนกับต้นผัก ที่ต้องการสิ่งมาบำรุงบำเรออยู่ร่ำไป หากขาดสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว ย่อมทำให้ชีวิตเหี่ยวเฉา ไม่น่าอยู่ ซึ่งต่างจากต้นหญ้าที่ต้องการสิ่งดำรงชีวิต และสามารถมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสบาย ด้วยปัจจัยที่น้อยนิด ชีวิตเราก็คงจะเป็นเช่นนั้น...

ขอขอบคุณ "ต้นหญ้า" ต้นเล็ก ๆ ที่ไร้ราคา แต่มากด้วยคุณค่าน่านำมาเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิต...

หมายเลขบันทึก: 411173เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2010 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท