ภาษาเมืองล้านนาวันละคำตอน "เบ็งจร"


คำเมืองล้านนาว่าเบ็งจรก็คือหน้าต่าง

ในวรรณกรรมล้านนาบางตอน บางเรื่องเราอ่านแล้วมักจะพบกับคำว่า  เบ็งจร    อ่านว่า  "เบ็ง-จ๋อน" คนรุ่นใหม่อาจไม่เข้าใจว่ามีความหมายนว่าอย่างไร?

เพื่อให้ได้ใจความเร็วขึ้น จะนำเอาตัวอย่างของคำไหว้มนต์แคล้วคลาดภัยที่อาจารย์ศรีเลา  เกษพรหม  ได้กรุณาเขียนไว้ในหนังสือนพีสีเชียงใหม่ ปี พ.ศ.  2547 สรุปความได้ดังนี้

เมื่อ  พ.ศ.  1981  พระเถระชื่อ  ชัยมังคละ จังหวัดลำพูนไปแสวงบุญที่ประเทศลังกาได้คาถาชินบัญชรจำนวน  14  บทเมื่อกลับมาถึงลำพูนจึงได้นำพระคาถานี้ถวายแด่พญาติโลกราช  กษัตริย์เมืองเชียงใหม่เพื่อสวดภาวนาให้แคล้วคลาดภัยทั้งปวงตามเนื้อหาสรุป  ดังนี่ครับ..

"   พระคาถาชินเบ็งจร เกิดขึ้นในประเทศลังกา  ประวัติในใบลานกล่าวว่า พระราชาพระองค์หนึ่งมีพระโอรสกำเนิดใหม่  ทรงให้หมอโหรมาทำนายดวงชะตาโอรสน้อย หมอโหรทำนายว่าหากโอรสอายุได้   7  ปี   7 เดือนจะถูกฟ้าผ่า   พระราชาทรงตกพระทัยจึงทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับพระสงฆ์ หมู่สงฆ์จึงแนะนำว่าควรแต่งพระคาถาขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เมื่อตกลงกันแล้วพระสงฆ์จำนวน  14  รูปจึงประชุมและแบ่งหน้าที่กันประกอบพิธีแต่งพระคาถารูปละ  1  บท  โดยให้พระสงฆ์แต่ละรูป   ไปนั่งแต่งพระคาถาที่หน้าต่างปล่องเบ็งจร  หรือบัญชรในภาษาไทยกลาง   เมื่อแต่งเสร็จพระคาถานี้จึงได้ชื่อว่า   ชัยเบ็งจร    (อ่านว่า     ไจ-ยะ-เบ็ง-จ๋อน   )  หมายถึงความมีชัยชนะ   ได้  14  บท  ตามจำนวนของพระสงฆ์ที่นั่งริมเบ็งจรหรือริมหน้าต่างเพื่อให้มีแสงสว่างในการเขียนพระคาถานั่นเอง   เมื่อโอรสมีพระชนมายุครบ 7ปี  7  เดือน  ฟ้าผาลงจริง แต่พลาดไปถูกหินก้อนใหญ่ทางตะวันตกเมืองลังกา  พระโอรสปลอดภัย   ผู้คนจึงนิยมนำพระคาถานี้มาสวดกันต่อๆมา  แม้กระทั่งในเมืองไทยปัจจุบัน"

 จากเนื้อหาที่สรุปเป็นเรื่องราวกล่าวมานั้น สรุปได้ว่า  คำว่า   "เบ็งจร"  ในภาษาล้านนาโบราณ  หมายถึง  คำว่า  "ปล่อง"  (อ่านว่า   ป่อง)ในภาษาเมืองล้านนาในปัจจุบัน และตรงกับคำว่า   "หน้าต่าง "   ในภาษาไทยกลางนั่นเอง

หมายเหตุ      เนื้อหาในพระคาถาชัยเบ็งจร สรุปว่า   ได้ขอบารมีอานุภาพของพระพุทธเจ้า  อานุภาพของพระอรหันต์ทั้งหลายมาคุ้มครอง  หุ้มหัวผู้สวดมนต์ ขอให้มีชัยชนะข้าศึกศัตรูทั้งปวง   ขออานุภาพพระพุทธเจ้าและอรหันต์ทั้งหลายมากั้นบังภัย  อานุภาพแห่งพระรัตนตรัยมารักษายังตนตัวของผู้สวดตลอดไป...

สรุปคำว่า   เบ็งจร    ปล่อง   บัญชร  หน้าต่าง  คือความหมายเดียวกันครับ..

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน......พรหมมา 

 

หมายเลขบันทึก: 411135เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับคุณวัฒนา..

แม่นแล้วครับ...

เพียงแต่ผู้ที่นำไปใช้และเผยแพร่คือสมเด็จท่านหนึ่งในภาคกลาง ผู้คนส่วนมากก็เลยเข้าใจว่าพระท่านนี้คือผู้ประพันธ์และเป็นเจ้าของพระคาถาชินบัญชรไปครับ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

อ่อเจ้า  ......ความฮู้ใหม่    ขอบคุณเจ้า

สวัสดีเจ้าอิน้องผัดเวิ้ง....

กว่าลุงจะมาแว่อ่านก็เลยไปถึง  2 ปีแล้ว....

ก็บ่เมินครับ....

ขอบคุณที่เข้ามาแว่อ่าน...ครับ....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท