การเติมก๊าซซีนอนในหัววัดรังสีของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


หัววัดรังสีในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดที่บรรจุก๊าซ เมื่อมีก๊าซรั่วออกไป ก็ต้องเติมก๊าซเข้าไปใหม่ ก๊าซที่นิยมใช้กัน คือ ก๊าซซีนอน

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพที่น่าสนใจ ที่ผมเองก็ได้เห็นเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน จึงบันทึกภาพไว้ เพื่อใช้ประกอบการสอน เป็นภาพที่ช่างได้เติมก๊าซซีนอน (Xenon gas) เข้าไปในหัววัดรังสี (Detector) ของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากการตรวจสอบพบว่ามีการรั่วซึมของก๊าซ ทำให้ขบวนการสร้างภาพผิดปกติไป ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้น ณ หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 

 

 

หัววัดรังสี  เป็นส่วนที่รับรังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านผู้ป่วยมาแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการสร้างภาพต่อไป

 

 

 

 

หัววัดรังสี สำหรับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นแถวยาวติดต่อกัน แต่จะมีขนาดความกว้างของขนาดช่อง จำนวนช่องสำหรับรับรังสีในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป (ตัวอย่างหัววัดรังสีที่ผมได้เก็บสะสมไว้)

 

 

 

หัววัดรังสี ที่ดีควรมีคุณสมบัติหรือประสิทธิภาพเกี่ยวการจับหรือรับปริมาณรังสี (Capture efficiency) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของหัววัดรังสีที่รับรังสีที่ผ่านมากระทบหัววัดรังสีได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นกับขนาดหรือความกว้างของหัววัดรังสีและระยะห่างของช่องหัววัดรังสีที่บริษัทให้ผู้ผลิตจัดสร้าง

 

 

 

หัววัดรังสีชนิดก๊าซ (Gas Ionization Detectors) ใช้ ก๊าซซีนอน (Xenon gas) บรรจุอยู่ในหลอดหรือช่อง (Chamber) ทำด้วยวัสดุที่นำไฟฟ้าได้ เมื่อก๊าซซีนอนได้รับรังสีจะเกิดขบวนการแตกตัวเป็นประจุของอากาศที่เรียกว่า ไอออนไนเซชั่น (Ionization) คือ ก๊าซจะแตกตัวเป็นประจุเมื่อได้รับรังสี ประจุที่เกิดขึ้นจะเข้าไปจับแผ่นรับสัญญาณ แล้วทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพต่อไป

 

 

ในภาพช่างได้ต่อท่อขนาดเล็ก เชื่อมระหว่างถังที่บรรจุก๊าซซีนอนกับหัววัดรังสีของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

 

จากนั้นก็ปล่อยให้ก๊าซซีนอนไหลเข้าไปยังหัววัดรังสี

 

 

 

 

หัววัดรังสีที่ชำรุดนี้ สามารถใช้งานได้มามากกว่า 12 ปี 

 

 

 

สรุป :

หัววัดรังสี เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับรังสี แล้วแปลงรังสีเอกซ์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า 

ประสบการณ์ เป็นสิ่งที่รับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต แล้วแปลงเป็นความรู้ ความเข้าใจของแต่ละคน

 

 

การตรวจคุณภาพ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยประเมินว่าเครื่องมือที่ใช้งานอยู่นั้น ยังคงมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพดีหรือไม่?   

หากรู้ว่าบกพร่องก็แก้ไข ปรับปรุง

 

การประเมินตน ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบอกถึงคุณภาพ และประสิทธิภาพของผู้ถูกประเมินว่า ยังคงดีอยู่ หรือ ไม่?   

หากรู้ว่าคุณภาพและประสิทธิภาพลดลง ก็ต้องหาหนทางแก้ไข ปรับปรุง รักษา และพัฒนา (หากทำได้ จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้าง)

 

หมายเลขบันทึก: 410987เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ได้ลับสมอง..รับความรู้..แต่เช้าเลย..

ขอบพระคุณ ครับ อาจารย์

ได้อ่านสิ่งดี ๆ เรื่อย ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท