Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar [8] สรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับองค์กรเครือข่ายและประสบการณ์ความร่วมมือ


เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการพัฒนาดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย
[Burden of Diseases, BOD] สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar"
ณ โรงแรมอิมพิเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
รายละเอียดโครงการ (คลิก)
...
หนึ่งในกิจกรรมในงานสัมมนาก็คือ World Cafe [World cafe คือ คลิก] ซึ่งกำหนดไว้ 6 Cafe ได้แก่
1. BOD: X-Ray (ตรวจสุขภาพองค์กร) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
2. Capacity Building (คน + กำลัง = ความหวังของการพัฒนา) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
3. BOD Go Inter --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
4. กลุ่มเครือข่าย : You’ll never walk alone . . . --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
5. BOD… ผลลัพธ์ (ไม่ลับ) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
6. BOD: Sufficiency Vs insufficiency --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
...
ซึ่งหลังจากกิจกรรม World Café ก็มีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับองค์กรเครือข่าย
เพื่อพูดคุยถึงบทบาทความร่วมมือขององ์กรต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายการทำงานของ BOD
รายละเอียดดังนี้ครับ
...

...

สรุปประเด็น
เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับองค์กรเครือข่ายและประสบการณ์ความร่วมมือ
(บทบาทความร่วมมือขององ์กรต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายการทำงานของ BOD)

1. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
ได้นำข้อมูลของ BOD ไปใช้ประกอบการเผยแพร่ร่วมกับฐานข้อมูลอื่น
และมีการทำข้อมูล BOD ให้เข้าใจง่ายขึ้น ตามกลุ่มของผู้รับข้อมูล

2. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
การนำข้อมูล BOD ไปใช้ประโยชน์
  1. พัฒนามาตรการในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหา ป้องกันโรค โดยเฉพาะในแต่ละกลุ่มอายุ 
      เช่น กลุ่มวัยรุ่นกับการสูญเสียการได้ยินจากการใช้หูฟัง
  2. พัฒนาเกณฑ์อุบัติการณ์ของโรคจากการประกอบอาชีพ

3. สำนักระบาด
สำนักระบาดมีภารกิจ ในการเฝ้าระวัง สอบสวน ศึกษาวิจัย โดยเกี่ยวข้องทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
มีการนำข้อมูล BOD มาใช้เพื่อ เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ให้กับเครือข่าย ภาพรวมการบริหารจัดการของสำนักจะมีสำนักโรคต่างๆ ภายใน โดยมีสำนักวิชาการทำหน้าที่กำกับ ดูแล สำนักโรคเหล่านั้น โดยได้ใช้ข้อมูลของ BOD ในการทำงาน

4. สำนัก 7 สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ (สสส.)
สำนัก 7 สสส. ควรนำ BOD ไปใช้ในลักษณะการเผยแพร่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังสุขภาพ โดยสำนัก 7 และสำนักอื่นๆ ของ สสส. ได้นำข้อมูล BOD ไปใช้ประกอบการวางแผนในงานที่สำนักในลักษณะของการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และมีการผลักดันให้หน่วยงานอื่นของ สสส. ได้นำข้อมูลของ BOD ไปใช้เพิ่มมากขึ้น

5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนักงานอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทสถิติของประเทศ ซึ่งเป็นแกนกลางในการรวมรวมข้อมูล ทำข้อมูลให้ทันสมัย และเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ ทั้งในส่วนที่สำนักงานจัดเก็บเองและจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น BOD

6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ภารกิจหลักของ สปสช. คือ ทำให้คนเข้าถึงบริการสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน มีเรื่องให้ต้องทำอยู่มาก และมีหลายงานที่ยังทำได้ไม่ดี ข้อมูล BOD มีส่วนสำคัญในการช่วยพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ สปสช.เองก็มีข้อมูล personal base ที่ดี ที่ BOD สามารถนำไปใช้ได้

7. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ
ศจย.นำข้อมูลของ BOD ไปขับเคลื่อนในการผลักดันนโยบายด้านบุหรี่ และเป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุการทำงาน เนื่องจากผลการศึกษาของ BOD มีส่วนหนึ่งที่พบว่าบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สร้างภาระโรค

8.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สป. ควรมีการสนับสนุนการใช้ข้อมูลของโครงการ BOD และมีการจัดทำให้ข้อมูล BOD มีความเข้าใจง่าย
...
ทางคณะทำงานมีการจัดทำ E-newsletter นะครับ ท่านใดสนใจเป็นสมาชิกเพื่อรับอีเมล์ข่าวจากเราท่านสามารถแจ้งเมล์ของท่านได้ในบันทึกนี้หรือแจ้งความจำนงมาที่ [email protected]
* ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD
...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท