Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar [7] Sufficiency Vs insufficiency


เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการพัฒนาดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย
[Burden of Diseases, BOD]
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar"
ณ โรงแรมอิมพิเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
และประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
รายละเอียดโครงการ (คลิก)
...
หนึ่งในกิจกรรมในงานสัมมนาก็คือ World Cafe [World cafe คือ คลิก] ซึ่งกำหนดไว้ 6 Cafe ได้แก่
1. BOD: X-Ray (ตรวจสุขภาพองค์กร) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
2. Capacity Building (คน + กำลัง = ความหวังของการพัฒนา) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
3. BOD Go Inter --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
4. กลุ่มเครือข่าย : You’ll never walk alone . . . --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
5. BOD… ผลลัพธ์ (ไม่ลับ) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)
6. BOD: Sufficiency Vs insufficiency --> คือบทความนี้
...
ลองมาดูกันว่าประเด็น Sufficiency Vs insufficiency นั้น BOD ต้องเพิ่ม ต้องลด ต้องปรับบทบาทอย่างไร
...

...

BOD: Sufficiency Vs insufficiency

Output


การเผยแพร่ข้อมูลใดใดนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และออกแบบให้เข้าใจง่าย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้จริง

มีการใช้ข้อมูลที่มีที่มาจากกลุ่มที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลจากกลุ่มอาชีพ ข้อมูลจากกลุ่มพื้นที่

ข้อมูลที่ผลิตออกมาควรจะพิจารณาถึงทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ อย่างรอบด้าน เช่น ปัจจัยทางด้านสังคม, คุณภาพชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพและคลอบคลุมทุกมิติ
  
งานวิจัยที่ออกมาควรจะสะท้อนภาพทุกมุมมองของการใช้งาน, ออกแบบให้ง่ายต่อการตีความ สามารถกระตุ้นความสนใจจากสังคม เช่น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ การลดค่าใช้จ่าย หรือ ระดับผลกระทบที่ตามมา

มีการการเชื่อมต่อข้อมูลจากภาคส่วนอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน/ สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุน (ROI) สำหรับการนโยบายสาธารณะ

งานต้องทันสมัยและนำไปสู่นโยบาย การวางแผน  กลยุทธ์ และการจัดสรรทรัพยากร

Input

แหล่งข้อมูลที่ใช้ ต้องมีความแม่นยำและวิธีการต้องมีความถูกต้องตามระเบียบวิธี

ระเบียบวิธีที่นำมาใช้ ต้องสามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล

การวินิจฉัย/โรคที่หาพบยาก (ต้องหาข้อมูลและนำมาพิจารณาด้วย แม้ข้อมูลจะหายากและมีปริมาณน้อย เพื่อให้ได้ข้อมุลครบทุกมิติและควาต้องการ)

ข้อมูลต้องมีความความครบถ้วน

พิจารณาทุกความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และนำมาจัดทำเป็นข้อมูล 

การมองมิติทางสังคมในภาพรวม เช่น โรคนี้เกิดจากอะไร ส่งผลให้เกิดอะไร และจะมีโรคอะไรที่ตามมา เหล่านี้ต้องนำมาพิจารณาและจัดทำเป็นข้อมูล เื่พื่ประโยชน์ในการใช้งาน
….
บทความต่อไปจะเป็น สรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับองค์กรเครือข่ายและประสบการณ์ความร่วมมือ
ซึ่งเป็นบทความสุดท้ายของงานสัมมนา จะเป็นอย่างไรนั้น เร็วๆ นี้ครับ
* ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD
...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท