ภาษาเมืองล้านนาวันละคำตอน "กะแหล้ง"


ไม้กะแหล้งคือไม้สองอันไคว่กัน ช่างนำมาใช้ป้องกันกระแสลมพัดกระเบื้องหลังคาหลุดหาย ต่อมาคือก๋าแลหรือกาแล

ศิลปะะการสร้างบ้านล้านนาที่ลือชื่ออีกรูปแบบหนึ่งคือเรือน(เฮือน)ก๋าแล หรือกาแล  

แต่กว่าจะมาเป็นคำว่า  "ก๋าแล" ก็ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน  ผ่านการถกเถียง   ที่มาของคำก๋าแล   จนกระทั่งผู้ฟังอาจเมา(เวียน)หัวไปเสียก่อนที่จะรู้เรื่องราวเนื้อหาอย่างแท้จริง

ในภาษาล้านนามีคำว่า "กะแหล้ง"  หมายถึงการนำเอาไม้สองอันมาไคว่กัน  เรียกว่า  ไม้กะแหล้ง   เพื่อใช้ในความประสงค์ในหลายอย่าง  เช่น  เอาไม้สองอันมากะแหล้ง(ไคว่)กันที่ก้นซ้า(ตะกร้า)เพื่อให้ก้นซ้ามันแข็งแรงรองรับน้ำหนักสิ่งของที่ใส่ในตะกร้าได้ดี    เอาไม้มากะแหล้งไคว่ขัดกันเพื่อเป็นเครื่องหมายกากบาท  เป็นต้น

แต่เมื่อเราสร้างตูบ(กระท่อม)ที่มุงหลังคาด้วยใบตองตึง(ใบพลวง)  หรือตับหญ้าคา  สะหล่า(ช่าง)ต้องนำปล้องไม้ไผ่มาผ่าโขบ(ผ่าครึ่ง)แล้วเซาะตามปล้องให้เป็นร่องตลอดลำ  แล้วนำไม้ไผ่แต่ละโขบ(ครึ่ง)มาครอบหัวตับหญ้าคาหรือตับใบตองตึงให้เป็นแนวเอียงตามแนวของหน้าจั่วหลังคาบ้าน  เมื่อเอาไม้โขบหนึ่งครอบหัวหลังคาหน้าจั่วด้านขวา ก็ต้องนำไม้ไผ่อีกโขบหนึ่งมาครอบหน้าจั่วหลังคาด้านซ้าย ให้เอียงตามแนวหลังคา  จะเกิดการไคว่กันส่วนหนึ่งที่ยอดหน้าจั่วบนสุดหลังคาไม้ทั้งสองโขบมากะแหล้งหรือไคว่กัน   ณ   จุดนี้เอง  คือจุดกะแหล้ง  และส่วนของไม้โขบกะแหล้งทั้งสองอันจะเลยโผล่ขึ้นไปจากยอดจั่วหลังคา  คล้ายเขาควาย    ดูไกลๆก็สวยดีเพราะปลายไม้ที่เลยยอดจั่วหลังคานั้นถูกตัดแต่ง แกะลายให้สวยงาม

เมื่อมีการพัฒนาการสร้างบ้านจากตูบ(กระท่อม)เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ใช้แป้น(กระดาน)มาทำบ้านทั้งหลัง  สะหล่า(ช่าง)จะนำไม้แป้น(กระดาน)มาประกบแนวจั่วกันกระเบื้องหลังคามิให้ถูกระแสลมพัดตีให้กระเบื้องกระจุยปลิวว่อน   เมื่อนำไม้แป้นสองอันมาตีกรอบป้องกันกระแสลมแล้วก็มีส่วนหนึ่งของไม้แป้นเลยขึ้นสูงไปจากยอดจั่วหลังคาบ้าน  สะหล่าจึงตัดแต่งเป็นลายกนก  ลายหัวนาค  กลายเป็นสิ่งประดับจั่วหลังคาอย่างงดงามเช่นกัน   ลักษณะของจั่วบ้านที่มีไม้กะแหล้งมาเกี่ยวข้องนี่เองคนจึงเรียกขานกันว่า  เรือน(อ่านว่า   เฮือน)ไม้กะแหล้ง   ต่อมาเพี้ยนเป็นเรือนก๋าแล   และที่เป็นภาษาไทยกลางเรียกขานกันว่า   กาแล  นั่นเอง

มีบางตำนานบอกว่า   ครั้งพม่าครองเมืองเชียงใหม่  พม่าต้องการข่มให้คนเชียงใหม่อยู่ใต้อำนาจจึงนำเอาไม้ค้ำโลงศพหรือตีนหล้อง(ขาโลงศพ) มาให้คนล้านนาประดับหลังคาบ้าน  แต่นั้นมาคนเชียงใหม่จึงปลูกบ้านมีไม้ไคว่กันเรียกว่า  กาแล... ลุงหนานฟังแล้วมันมีข้อสงสัยแท้ และได้ตั้งคำถามคนที่เอาเรื่องนี้มาเผยแพร่ดังนี้....

1....คนพม่าที่มีความคิดนี้คือใคร?  ชื่ออะไร?บอกหน่อย..

2. หากมีคนพม่าคิดจริง  เขาเอาเรื่องไม้ก๋าแลมาในล้านนาวันไหน?  เวลาใด?   พ.ศ.  ใด?  บ้านหลังใดเป็นครั้งแรก    มีหลักฐานที่แน่ชัดได้ขนาดไหน?

หมายเหตุ    ท่านที่จะตอบต้องไม่เอาขี้ปากคนอื่นมาตอบ....หรือท่านที่อ่านหนังสือแล้วมาตอบก็ไม่ต้องตอบ...เพราะลุงหนานเห็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก็มาก    แต่ดูๆแล้ว  คนเขียนมันก็เอาขี้ปากคนอื่นเล่ามาเขียน  หาหลักฐานแท้จริงไม่ได้อยู่ดี..

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า   ไม้กาแลที่อยู่หน้าจั่วหลังคาบ้านนั้น   ทำไว้เพื่อให้อีกาที่กำลังบินผ่านบ้านสังเกตว่าที่นี่คือบ้านผู้คน  พวกมันไม่กล้าลงมาจับหลังคาบ้าน  เพราะหากอีกาลงมาจับหลังคาบ้านถือว่า   ขึด/  อาถรรพ์  เป็นเสนียดจัญไร  หรือ  ซวย..ซ้วย....ซวยแต๊ๆ(แท้ๆ)  เน้อ   จนถึงต้องมีการสวดถอนเสนียดจัญไรกันโน่นเทียวนะจะบอกหื้อ....

  ไม้กะแหล้ง  คือผะหญาปัญญาเชิงช่างล้านนา  ที่สะหล่า(ช่าง)สร้างบ้านอย่างฉลาดรอบคอบ   โดยการนำเอาไม้มาไคว่กะแหล้งกันป้องกันแรงลมพัดกระเบื้องเสียหายก็เท่านี้แหละนายเฮย....

ปัจจุบันบ้านไม้กะแหล้งภาษาไทยกลางเรียกขานกันว่า    เรือนกาแล.....

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 410948เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-ขอรบกวนถามหน่อยครับ"กะแหล้ง" เคยได้ยินคนเฒ่าเขาพูดคำนี้คืออุปกรณ์ของยอ(จ๋ำ) ไม้ไผ่ที่เขาเอามาตัดเป็นปล้องเพื่อให้เอาไม้ที่ผูกกับตัวยอ(ผืนผ้าของจ่ำ)เอาไม้นั้นมาสอด เขาก็เรียกไม้ไผ่ที่ไขว้กันนั้นว่า"กะแหล้ง" ใช่หรือไม่ครับ ขอบคุณท่านอาจ๋ารย์ที่เผยแพร่กำเมืองนักๆเลยครับ

สัวสดีคุณยุทธ์ครับ....

ยินดีที่เข้ามาแอ่ว..ไม้ที่เอาขาจ๋ำ(ยอ)สอดเข้าไปนั้นฮ้อง(เรียก)กันว่า  ไม้ก้องแก้ง"  เพราะมันไคว่กั๋นแล้วแกว่งก้องแก้งไปมา เหมาะสำหรับการหมุนขาผืนจ๋ำ(ผืนยอ)ให้ขาผืนจ๋ำกางออก  ขาจ๋ำกางแล้วดันผืนจ๋ำ(ยอ)ออกไปแผ่กว้าง

ไม้ก้องแก้งจะห้อยอยู่ปลายไม้กันก้าว(คันยกยอ)   หากดักจ๋ำ(ยอ)เสร็จเจ้าของจะถอดเอาขาจ๋ำออกมาเก็บส่วนไม้ก้อแก้งจะห้อยติดอยู่กับไม้กันก้าวครับ..

บางท้องถิ่นฮ้อง(เรียก)ไม้ก้องแก้งว่า  ไม้กะแหล้ง   ก็มีเพราะมันไคว่กันนั่นเองครับ...

ดัวยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

ได้ความฮู้ใหม่แหมแล้วเจ้า  ขอบคุณเจ้า 

ปอครูเจ้าแล้วจะอี้ต๋ำราไหนตี่น่าเจื่อถือนักกว่ากั๋นเจ้า  หรือเฮาจะเจื่อถือต่ำราไหนดีเจ้า  ....เพื่อว่าข้าเจ้าจะได้ใจ้สอนละอ่อนอย่างมั่นใจ่เจ้า  ขอบคุณเจ้า 

ข้าเจ้ากลัวเป็นความผิดขนาดเจ้าเพราะเกยบอกล่ะอ่อนไปว่าตะก่อนบ้านเฮาเกยถูกพม่าปกครอง(ใช้ฐานความรู้จากการอ่านจากหนังสือ+เรื่องเล่าจากอาจารย์สมัยเรียน)

สวัสดีอิหล้าผัดเวิ้ง......

กว่าลุงจะมาอ่านก็เลยเวลามาเป๋นปี๋กำแล้ว...

หาหนังสือหลายๆเล่มแล้วรวมเนื้อหาตรวจสอบ...ก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องหรือพิจารณาว่าหนังสือเล่มใดที่มีเหตุผลอ้างอิงดี...ก็นำไปใช้เจ้า...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน......พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท