ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บทความ การตรึงอารมณ์ผู้ฟัง


ดังนั้นถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดเมื่อท่านต้องการให้ผู้ฟังร้องไห้ ท่านจะต้องแสดงความโศกเศร้าให้ปรากฏแก่ผู้ฟัง ไม่ว่าจะสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ซึ่งต้องสอดคล้องกับเรื่องพูดที่โศกเศร้า แต่หากท่านต้องการให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น ท่านซึ่งเป็นผู้พูดจำเป็นจะต้องปลุกตัวเองให้ตื่นเต้นก่อน แล้วผู้ฟังก็จะรู้สึกตื่นเต้นตามผู้พูด จงพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เพราะความรู้สึกของผู้พูดมักสื่อไปถึงผู้ฟังด้วย

การตรึงอารมณ์ผู้ฟัง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

http://www.drsuthichai.com

                ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจะต้องมีความสามารถหลายอย่าง การตรึงอารมณ์ผู้ฟังให้สามารถตั้งใจฟังเราพูดได้ตลอดเวลา ถือว่าเป็นศิลปะหนึ่งในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ดังที่เราเคยเห็นนักพูดเก่งๆ จากเวทีทอล์คโชว์ หรือ นักพูดทางการเมืองที่เก่งๆ นักพูดเหล่านั้นสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ตลอดเวลา

                นักพูดเหล่านั้น สามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟัง ให้หัวเราะก็ได้ ให้ร้องไห้ก็ได้ ให้โกรธแค้นก็ได้ ซึ่งพวกเราก็สามารถทำเช่นนั้นได้ หากพวกเราต้องศึกษาอย่างจริงจัง อีกทั้งต้องฝึกฝนการพูดบนเวทีต่างๆให้มาก เมื่อเรามีประสบการณ์ในการพูดมาก เราก็จะสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ เราจะสามารถพูดแล้วผู้ฟังหัวเราะได้ พูดแล้วผู้ฟังร้องไห้ได้ พูดแล้วสร้างความโกรธแค้นให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้

                เราสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ตั้งแต่การเริ่มต้นการพูด นับตั้งแต่การเปิดฉากการพูด เราจะเปิดฉากการพูดอย่างไรให้ตื่นเต้น เร้าใจ ไม่เปิดฉากด้วยความจืดชืด เย็นชา เช่นต้องเปิดฉากด้วยบทกวี เปิดฉากการพูดด้วยสุภาษิต เปิดฉากการพูดด้วยคำกลอน เปิดฉากการพูดด้วยอารมณ์ขัน ฯลฯ

เมื่อเข้าในส่วนของเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องต้องกลมกลืน สอดคล้องกับการเปิดฉากอีกทั้งการพูดต้องมีชีวิตชีวา ดังเราจะสังเกตเห็นว่า เมื่อเราไปฟังนักพูดที่พูดไม่มีชีวิตชีวา เราซึ่งเป็นผู้ฟังมักจะเบื่อหน่าย ง่วงนอน แต่ถ้านักพูดพูดเสียงดังฟังชัด มีชีวิตชีวา มีเสียงสูงเสียงต่ำ มีจังหวะในการพูด มีอารมณ์ขันสอดแทรกตลอดเวลา เรามักไม่อยากหลับ เราจะมีความสนุกสนานกับการฟังนักพูดผู้นั้น

                ดังนั้นถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดเมื่อท่านต้องการให้ผู้ฟังร้องไห้ ท่านจะต้องแสดงความโศกเศร้าให้ปรากฏแก่ผู้ฟัง ไม่ว่าจะสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ซึ่งต้องสอดคล้องกับเรื่องพูดที่โศกเศร้า แต่หากท่านต้องการให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น ท่านซึ่งเป็นผู้พูดจำเป็นจะต้องปลุกตัวเองให้ตื่นเต้นก่อน แล้วผู้ฟังก็จะรู้สึกตื่นเต้นตามผู้พูด จงพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เพราะความรู้สึกของผู้พูดมักสื่อไปถึงผู้ฟังด้วย

                อีกทั้งการพูดที่ดี ต้องมีลักษณะพูดชัด ไม่มีการออกเสียง “ ร ”  เป็น “ ล” พูดคล่อง ไม่พูดติดขัด ผู้ฟังมักชอบนักพูดที่พูดคล่องไม่ติดขัด น่ารำคาญ นักพูดที่ดีจึงต้องมีการฝึกฝนการพูดให้คล่อง จดจำคำกลอนคำสุภาษิตให้แม่นถึงเวลานำมาใช้ต้องมั่นใจ ไม่พูดคำกลอน คำคมที่ผิดเพราะการพูดผิดหรือจำคำสุภาษิตคำกลอนผิด ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเลื่อมใส ขาดศรัทธา

                การพูดแล้วตรึงอารมณ์ผู้ฟัง นักพูดจะต้องมีไหวพริบปฏิณาณพอสมควร เนื่องจากการพูดแต่ละครั้งมีบรรยากาศหรือสถานที่แตกต่างกัน มีคนฟังไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย อายุที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจะต้องรู้จัก สร้างมุข หรือพูดสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองกับผู้ฟัง

                การตรึงอารมณ์ผู้ฟังจะต้องตรึงตั้งแต่เริ่มต้นการพูด จนสรุปจบ การสรุปจบในการพูดก็มีความสำคัญไม่น้อย ทำอย่างไรจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ เมื่อฟังนักพูดท่านนี้แล้วอยากที่จะตามไปฟังอีก ดังนั้นการสรุปจบจึงมีความสำคัญมากในการพูดแต่ละครั้ง การพูดสรุปจบเราสามารถพูดสรุปจบได้หลายแบบ เช่น จบแบบสรุปความ จบแบบฝากให้ไปคิดต่อ จบแบบคำคม สุภาษิต คำพังเพย จบแบบชักชวนหรือเรียกร้อง ฯลฯ

ดังนั้นการพูดแล้วสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ตลอดเวลาของการพูด จึงมีความสำคัญไม่น้อย

เพราะเป็นความปรารถนาของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง ที่ต้องการพูดหรือฟังแล้วเกิดความสุข เกิดความสนุก จะดีกว่าไหม

หากเราพูดแล้วคนตั้งใจฟังย่อมดีกว่าพูดแล้วคนไม่สนใจฟัง จะดีกว่าไหมหากผู้ฟังฟังผู้พูดด้วยความสุข ความสนุกสนานย่อมดีกว่าฟังผู้พูดพูดด้วยความเบื่อหน่าย ทรมาน ไม่อยากฟัง

คำสำคัญ (Tags): #การพูด
หมายเลขบันทึก: 410897เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยากหน่อยนะครับเรื่องนี้ เป็นทักษะขั้นสุดยอดจริงๆ

ครับ แต่ถ้าพยายามและหมั่นฝึกฝนก็ไม่เกินความสามารถของคนเราครับ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท