สรุปจากที่อาจารย์สอนในชั่วโมง "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเบื้องต้น"


พิกเซล ( Pixel)
           จุดภาพ หรือ พิกเซล ( pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย

 

 

สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
             1. RGB
             2. CMYK
             3. HSB
             4. LAB

 

1. RGB
            เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ แดง ( Red), เขียว ( Green) และน้ำเงิน ( Blue) เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี     
    ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ     Additive หรือการผสมสีแบบบวก

2.  CMYK
           เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black)
     เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูด
     กลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลัก
     ของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB ดังภาพ

3.   HSB
             เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักจะเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว
     สีเหลือง สีแดง เป็นต้น Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
     Brightness คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด

4.  LAB
           เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                   "L" หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว
                   "A" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
                   "B" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

2.1 ภาพกราฟิกแบบ Raster
           ภาพกราฟิกแบบ Raster หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ที่เรียกว่า พิกเซล ในการสร้างภาพ
     กราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
     หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
            ดังนั้น การกำหนดจำนวนพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่จะสร้าง เช่น งานที่มีความละเอียดน้อย หรือภาพสำหรับเว็บไซต์ ควรกำหนดจำนวนพิกเซล ประมาณ 72 ppi
     (pixel / inch คือ จำนวนพิกเซลใน 1 ตารางนิ้ว) แต่ถ้าเป็นงานแบบพิมพ์ เช่น นิตยสาร ปกหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดประมาณ 300 - 350 ppi เป็นต้น            
            ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Photoshop, Paint เป็นต้น

2.2 ภาพกราฟิกแบบ Vector
             เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง
     รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster
           ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบอาคาร การสร้างการ์ตูน เป็นต้น
    ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3Ds Max แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์
    จะเป็นการแสดงผลภาพแบบ Raster

กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
       ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
                    1. ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
                    2. ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)   
                    3. ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)

 

1.   ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)  
             เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ
                   -   ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก
                   -   จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก
                   -   ต้องการพื้นแบบโปร่งใส
                   -   ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด
                   -   ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว


             จุดเด่น
                  -   มีขนาดไฟล์ต่ำ
                  -   สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent)
                  -  มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace
                  -  มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก
                  -  เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
                  -  ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
            จุดด้อย
                 -  แสดงสีได้เพียง 256 สี

 

 

2. ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)  
    เป็นอีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี
         1.  ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color)
         2.  ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้
         3.  ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต
               เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
       จุดเด่น
          -  สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
          -  สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
          -  มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive
          -  มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
          -  เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
          -  ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)
       จุดด้อย
          -  ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้

    ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)
                กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำ แต่ก็มีข้อเสีย คือ
     เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์
     ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ

 

 

 

ตัวอย่างภาพที่มีนามสกุล .jpeg

 

3.  ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)
     จุดเด่น
            -  สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
            -  สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
            -  มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace)
            -  สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
       จุดด้อย
            -  หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ
            -  ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4
            -  ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card
            -  โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

 
       

 

หมายเลขบันทึก: 410872เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณคับ

 

ปล.พอดีเรียนที่sbac คอม-กราฟฟิค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท