การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การสอนจำนวนตัวเลขสำหรับเด็กปฐมวัย

       ดิฉันได้มีโอกาสสอนเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยม   ทำให้ได้สัมผัสกับเด็กหลายระดับที่ครูต้องใช้วิธีการสอนที่แตกต่างกัน  เป็นอย่างมากทั้งคำพูด วิธีการสอน วิธีการจูงใจให้สนใจในการเรียน และอื่น ฯลฯ

        ในการสอนคณิตศาสตร์  สำหรับเด็กอนุบาลต้องใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นกับเด็กเช่นเล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ แสดงท่าทางประกอบคำคล้องจองตัวอย่างเช่นการสอนจำนวนตัวเลขต้องให้เด็กจำตัวเลขได้ ว่าตัวเลขอะไรมีรูปร่างแบบไหน เช่นอาจให้เด็กท่องคำคล้องจองได้ประกอบท่าทาง

                   เลขหนึ่งเหมือนเสาธง        

                   เลขสองงอเหมือนเบ็ดหรือว่าเป็ดลอยน้ำ

ให้เด็กทำท่าทางประกอบคำคล้องจอง จากนั้นให้เด็กแต่งคำคล้องจองเลขต่อ

หรือโดยการทำจำนวนตัวเลขเป็นบัตรคำ  แล้วให้เด็กทายว่าบัตรที่ครูจะเปิดเป็นเลขอะไร  จากนั้นให้เด็กเล่นกันเอง เป็นกลุ่ม โดยครูเข้าไปเล่นด้วยทุกกลุ่มจนแต่ละกลุ่มเล่นเป็น โดยการคว่ำบัตรตัวเลขทั้งหมด 1-10 ทีละใบพร้อมกับพูดตัวเลขด้วยว่าเลขอะไร เช่น เลข 3 แล้วคว่ำบัตรไว้ ทำอย่างนี้จนหมดเพื่อเป็นการฝึกการจำตัวเลขและตำแหน่งของตัวเลขที่เพื่อนเปิดว่าเป็นเลขอะไรอยู่ตรงไหน จากนั้นให้เด็กเล่นทายบัตรคำที่จะเปิดว่าเป็นเลขอะไรทีละคน ถ้าใครทายไม่ถูกให้คว่ำไว้ตามเดิม    ใครทายถูกก็ได้คะแนนพร้อมเก็บบัตรคำไว้  ใครทายไม่ถูกก็ไม่ได้คะแนน  เล่นจนกว่าเด็กจะจำตัวเลขได้ว่า เป็นเลขอะไร จากนั้นก็ให้เด็กรู้ค่าของจำนวนตัวเลขว่าตัวเลขมีค่าเท่าไรเช่น เลข 2 ครูก็ชูสมุดขึ้นมาหนึ่งเล่น ถามว่าครูมีสมุดกี่เล่ม  ชูเพิ่มอีก 1 เล่มถามเด็กว่ามีสมุดกี่เล่ม จากนั้นให้เด็กนับ1, 2 แล้วถามว่าครูมีสมุดกี่เล่ม หรือครูสอนให้เด็กนับเลข ประกอบกับสื่อของจริงเช่นอุปกรณ์การสอน ต่าง ๆ ในห้อง หรืออาจให้นับของเล่น ของใช้ของเด็กภายในห้องเรียน การนับ 1-10  อาจสอนโดยให้เด็กนับเพิ่มนับลด สร้างเหตุการณ์  หรือบทบาทสมมุติให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนไปด้วย เช่นครูมีดินสอจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่ากี่แท่ง เด็ก ๆ ช่วยคุณครูนับหน่อยซิ เมื่อเด็กนับ 1 ครูก็ชูดินสอขึ้นมา 1 แท่ง ทำอย่างนี้จนกว่าจะนับดินสอหมด  จากนั้นครูก็นำดินสอทั้งหมดชูขึ้นถามเด็ก ๆ ว่ามีดินสอทั้งหมดกี่แท่งค่ะ ครูแจกดินสอทั้งหมดกับเด็กคนหนึ่งแล้วให้เด็กลองนับเลียนแบบครู จากนั้นให้เด็กแจกดินสอให้เพื่อน ๆ แล้วนับจำนวนดินสอที่เหลือ จนกว่าจะหมด พร้อมกับพูดเป็นประโยคให้เด็กสร้างประโยคที่เด็กกำลังแสดงอยู่ตามจริงเช่น

"แก้มมีดินสอ 7 แท่ง แก้มแบ่งให้แอ๋ว 1 แท่งแก้มเหลือดินสอกี่แท่ง คำตอบคือ 6 แท่ง"  ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เล่นกับเด็กโดยการแสดงบทบาทสมมติกับเด็กแล้วต้องให้เด็กแต่งประโยคสัญลักษณ์คำถามแบบนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กเข้าใจโจทย์ปัญหาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

หมายเลขบันทึก: 410816เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทาย และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

สวัสดีค่ะคุณบุษรา

ขอบคุณค่ะที่มาร่วมแลกเปลียนเรียนรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณบุษรา

ขอบคุณค่ะที่มาร่วมแลกเปลียนเรียนรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

พี่คิมเคยไปดูงานที่โรงเรียนสัตยาไส  เห็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  น่าทึ่งมากค่ะ  ติดใจมาก ๆ จึงไม่ไปดูอย่างอื่น

แต่ก็ไปสัตยาไสมา ๕ ครั้งแล้วนะคะ

เป็นวิธีการสอนที่มีประโยชน์มากๆ เลย ขอบคุณค่ะ :)

ขอบคุณคุณคิมที่แนะนสถานศึกษาดี ๆ ให้

ขอบคุณคุณPOO ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท