my paper submitted to NGC17 today


นิสิตตอบคำถามถูกต้องแล้วก็ยังให้คะแนนส่วนใหญ่เพียง ๔๐ จาก ๑๐๐ เท่านั้น วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือกำจัดครูชั่วเช่นนี้ออกไปจาก ม. เกษตรศาสตร์ อย่างน้อยต้องไม่ให้ตรวจข้อสอบเพราะเป็นผลร้ายต่อ ม. เกษตรศาสตร์

เจาะลึกข้อมูลด้านการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ

Data digestion on education system in learning and teaching animal breeding at Kasetsart University: Reverse Threshold Model Theory

 

สุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง1*

Supat Faarungsang1

1ภาควิชาสัตวบาล คณะ เกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ. นครปฐม ๗๓๑๔๐

1 Department of Animal Science, Faculty of Agriculture Kamphangsaen, Kasetsart University, Nakhon Pathom 731401, Thailand

*Corresponding author: [email protected]

 

บทคัดย่อ

เจาะลึกข้อมูล การเรียนการสอนวิชาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ของ ม. เกษตรศาสตร์ที่สะสมมา ๓๒ ปีตั้งแต่ พ.. ๒๕๒๒ ถึง พ.. ๒๕๕๓ เพื่อหาตัวกำหนดของวิชานี้ และวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในสาขาวิชาพันธุศาสตร์ โดยอาศัยทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ

 

ABSTRACT

Thirty Two years of accumulated data in learning and teaching animal breeding at Kasetsart university since 1979 up to 2010 were digested to find out the limiting factors and analyzed to solve education problems in genetics using Reverse Threshold Model Theory.

 

คำสำคัญ : เจาะลึกข้อมูล การศึกษา ปรับปรุงพันธ์สัตว์ ตัวกำหนด ทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ

Keywords: data digestion, education, animal breeding, limiting factor, reverse threshold model theory

 

คำนำและวัตถุประสงค์

ความจริงในธรรมชาติมีอยู่ก่อนแล้วกว่าที่มนุษย์จะอุบัติขึ้น ต่อมาเกิดนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆและตั้งเป็นสมมุติฐาน ทฤษฎี หรือ แบบหุ่น ต่างๆ ซึ่งหลายครั้งการอธิบายปรากฏการณ์เดียวกันมีแบบหุ่นแตกต่างกัน และ เป็นไปได้ที่แบบหุ่นที่ต่างกัน อาจ ถูกทั้งหมด ผิดทั้งหมด หรือ บางส่วนถูกแต่บางส่วนผิด Faarungsang (2010a) ได้นำเสนอทฤษฎีใหม่ชื่อ “ทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ” สามารถแก้ข้อบกพร่องในแบบหุ่นเก่าให้กำจัดอิทธิพลสุ่มของความคลาดเคลื่อนได้ทั้งหมดแต่มีค่ารบกวนใหม่เรียกว่า “ดวามคลาดเคลื่อนของการจำแนก” เข้ามาแทนที่ ข้อแตกต่างของแบบหุ่นเก่าและใหม่คือ แบบเก่าถือว่าอิทธิพลอย่างหนึ่งประกอบด้วยตัวแปรเล็กจำนวนอนันต์เกิดการกระจายแบบระฆังคว่ำ แต่แบบใหม่มีสมมุติฐานว่าการแสดงออกของอิทธิพลมีวิธีการเรียกว่า threshold ตามแบบของ Wright (1916) แม้จะเก่าแต่ถูกต้องและไม่มีผู้ใดคัดค้านจนถึงปัจจุบันเพราะเอกสารใหม่เกือบทั้งหมดจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องแคบๆเรื่องเดียวกันเหมือนที่เคยเป็นมา (Christine et al, 2010, Christine et al, 2010 and Gerhard et al 2010) และหลงลืมว่ายังมีเรื่องอื่นๆที่ยังสำคัญที่จะกลายเป็นตัวจำกัดได้ทุกเมื่อหากวิธีใหม่ไร้ข้อผิดไฉน วิธีของ จรัญ (Independent Culling Level, ICL) จึงถูกแทนที่โดย สมชัย (Best Linear Prediction, BLP) ซึ่งก็ถูกแทนที่ด้วย ศรเทพ(Best Linear Unbiased Prediction, BLUP) สุพัตร์ (Makov Chain Monte Carlo Simulation, MCMC) และมนต์ชัย (Single Nucliotide Polymorphism, SNP) ตามลำดับ อนึ่ง BLUP หมายถึง ดีที่สุดแล้วจะมีวิธีปัจจุบันของ Christine (SNP) ดีมากกว่าได้อย่างไรถ้าสมมุติสัจจะที่เคยตั้งไว้เป็นจริง

Faarungsang (2010a) มิได้ให้คำอธิบายในกรณีที่มีตัวแปรที่มีตัวจำกัดมากกว่าหนึ่งตัวที่แสดงออกพร้อมกัน จรัญ (Faarungsang, 2010b) อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นแบบหุ่นดังนี้

X = A + e1 (1)

Y = B + e2 (2)

X+Y = A + B + (AB) + e3 (3)

ในเมื่อ X หมายถึง เนื้อควาย e1 หมายถึง ขี้ควาย Y หมายถึง ข้าวสาร e2 หมายถึง ตอซังข้าว เมื่อมีการประสมประสาน X+Y จะได้ทั้ง เนื้อควาย(A) ข้าวสาร(B) และปฏิกิริยาร่วม (AB) ที่มีผลมาจากตอซังข้าวและ ขี้ควาย กรณีนี้มีชื่อว่า Synergistic interaction effect.

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ

. อธิบายงานเดิมด้วยแบบหุ่นใหม่

. เจาะลึกข้อมูลใหม่ที่พึ่งจะเกิดขึ้น และ

. นำเสนอวีธีการแก้ไข

 

อุปกรณ์และวิธีการ

ข้อมูลเดิมได้แสดงไว้ในตารางที่ ๑ ถึง ตารางที่ ๓ (สุพัตร์ ๒๕๕๒) ข้อมูลใหม่ได้แสดงไว้ ในตารางที่ ๔

 

ผลและวิจารณ์

ตารางที่ ๑ ถึง ๓ เป็นผลงานเก่าที่จำเป็นต้องนำมาแสดงเพื่อการต่อยอดที่ไม่พลาด ตารางที่ ๔ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่คาดไม่ถึงและย้ำว่าทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับเป็นสิ่งถูกต้อง นั้นคือ ภายใต้สถานการณ์ใดๆแม้มีอิทธิพลต่างๆมาเกี่ยวข้องมากแต่มักจะมีอิทธิพลที่เป็นตัวจำกัดอยู่เพียงจำนวนน้อยในกรณีศึกษานี้ถ้าดูอย่างผิวเผินด้วยแบบหุ่นเก่าจะเห็นว่าค่าในตารางที่ ๔ เป็นปรกติดีและหมายถึงนิสิตมีพัฒนาการแต่ถ้าเจาะลึกโดยใช้แบบหุ่นใหม่ของทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับจะพบความจริงว่ามิได้เป็นไปเช่นนั้น นิสิตมิได้มีพัฒนาการ และมิได้สอบตกมาแต่ต้นแล้ว การที่มีคะแนนมากขึ้นเป็นผลมาจาก ๑ ข้อสอบซ้ำ ๒ ข้อสอบใหม่บางข้อมีความเป็นธรรม ที่จริงนิสิตไม่ได้ตอบคำถามเพียงข้อเดียวซึ่งปรากฏว่าเป็นคำถามไร้สาระที่อาจารย์ส่วนใหญ่ก็ตอบผิด ดังนั้นในความเป็นธรรมนิสิตควรได้คะแนน ๙๕ จาก ๑๐๐ แต่ที่ได้คะแนนเพียง ๖๑ เป็นเพราะผู้ตรวจข้อสอบมีอคติต่อวิชาชีพ นิสิตตอบคำถามถูกต้องแล้วก็ยังให้คะแนนส่วนใหญ่เพียง ๔๐ จาก ๑๐๐ เท่านั้น วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือกำจัดครูชั่วเช่นนี้ออกไปจาก ม. เกษตรศาสตร์ อย่างน้อยต้องไม่ให้ตรวจข้อสอบเพราะเป็นผลร้ายต่อ ม. เกษตรศาสตร์

 

สรุปผลการทดลอง

คะแนนวิชาด้านปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่ ม. เกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ พ.. ๒๕๒๑ ถึง ๒๕๕๓ ใช้เป็นตัวแบบที่ดีในการอธิบายทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ

 

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยในชั้นเรียน และคลังข้อสอบที่ริเริ่มโดยหัวหน้าภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.. ๒๕๕๑

 

เอกสารอ้างอิง

สุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง ๒๕๕๒. เจาะลึกข้อมูลด้านการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑๖ ม. ธรรมศาสตร์ กรุงเทพ

Christine C.A., Sebastien D.A., Legarra H.G., Tom D.F., Ytournel D.E. and Naima O.B. 2010. Does probabilistic modelling of linkage disequilibrium evolution improve the accuracy of QTL location in animal pedigrees? Genetics Selection Evolution 2010,42:38. Article URL http://www.gsejournal.org/content/42/1/38

Christine G., Elisabeth J.H., Buschbell C.P., Dawit T.H., Jungst C.L., Karl S. and Ernst T. 2010. Epistatic QTL pairs associated with meat quality and carcass composition traits in a porcine Duroc x Pietrain population. Genetics Selection Evolution 2010, 42:39. Article URL http://www.gsejournal.org/content/42/1/39

Faarungsang, S. 2010. Reverse Threshold Model Theory. 11th National Conference on Statistics and Applied Statistics. May 27-28, 2010 at Holliday-Inn. Chiang Mai.

Faarungsang, S. 2010. Extract knowledge from Dr. Charan lecture in KU: INTERACTION and SSE Article URL http://gotoknow.org/blog/sss-supat/402184

Gerhard M.M., Khatkar B., Hayes J. and Herman W.R. 2010. Accuracy of direct genomic values in Holstein bulls and cows using subsets of SNP markers. Genetics Selection Evolution 2010, 42:37. Article URL http://www.gsejournal.org/content/42/1/37

Wright, S. 1916. An intensive study of the inheritance of color and of other coat characters in guinea pigs with especial reference to graded variations, Pub. Canegie Instn. Washington, 1916: 59-160.

 

ตารางที่ ๑. เจาะลึกข้อมูลการสอนวิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ตั้งแต่ พ.. ๒๕๒๒ ถึง ๒๕๕๒

year source note p (SSS1) E1 p (A)

1979-1981 BKK+KPS traditional 0.25 50-60 0.01-0.05

1982 KPS fine note 1.00 75-80 0.25

1983-1988 KPS traditional 0.25 50-60 0.01-0.05

1989-1994 KPS traditional 0.00 50-60 0.01-0.05

1995-2001 BKK+KPS SIMBULL 0.50 60-70 0.10-0.20

2002-2003 KPS traditional 0.10 50-60 0.01-0.05

2004 BKK+KPS SSS1 1.00 110.00 1.00

2005 KPS half drop 0.10 40-50 0.00

2006-2007 KPS traditional 0.05 30-40 0.00

2008 KPS external 0.00 35.00 0.00

2009 KPS external 0.00 31.25 0.00

 

 

ตารางที่ ๒. ผลทดสอบทางสถิติระหว่างวิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และวิชาความปลอดภัยของอาหาร

Animal Breeding Food Safety

Average 31.25 83.33**

S.D. 9.26 1.67

MAX 48.75 84.99

MIN 28.75 81.66

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ ๓. อำนาจจำแนก(r) ระดับความยาก(p) ระหว่างวิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่มีองค์ความรู้ต่างกัน

SSS1 External2

Average 110 35**

S.D. 11.55 9.26

question1 recessive gene detection (p=.5,r=.93) contemporary group(p=0,r=0)

question2 co-dominance (p=.5,r=.93) C.V. (p=0,r=0)

1SSS หมายถึง องค์ความรู้ ตามแนว เศรษฐกิจแบบพอเพียง ที่นิสิตพึ่งพาตนเองได้

2External หมายถึง สรุปคะแนนการสอบข้อเขียนวัดความรู้พื้นฐานระดับบัณฑิตศึกษาจากรายงานการประชุม ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน ม. เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๒

 

 

ตารางที่ ๔. ผลทดสอบทางสถิติระหว่างวิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ครั้งที่ ๑ และ ๒ พ.. ๒๕๕๓

ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒

Average 49.25 66.30**

S.D. 5.44 6.81

MAX 56.75 71.11

MIN 45.25 61.48

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #rtmt
หมายเลขบันทึก: 410772เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2010 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 03:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท