Appreciative Inquiry กับพลังกลุ่ม (ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 274)


Appreciative Inquiry

ผมมีโอกาสไปป็นกระบวนกร (Facilitator) ให้กับโครงการพัฒนา Cluster ท่องเที่ยวและหัตถกรรมของอิสานใต้..10 กว่าจังหวัด...

ผมใช้ Appreciative Inquiry ครับ..เป้าหมายคือการรวมตัวกันของผู้ประกอบการณ์ ที่รวมกันแล้วมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างรายได้เพิ่ม ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรม...

......

แต่ต้องรวมตัวกันให้ได้ก่อน...ผมจึงใช้การถามแบบ AI คือ...ตั้งแต่เคยเห็นการทำงานเป็นกลุ่มมา ชอบกลุ่มไหนที่สุด...ชอบอะไรของเขามากๆ...เพื่อรวบรวมเป็นองค์ความรู้ ในการบริหารกลุ่มต่อไปในอนาคต...

.....

มีท่านหนึ่งพูดว่า..มีครั้งหนึ่งพาชาวบ้านไปดูงานกลุ่มชาวบ้านแห่งหนึ่ง...พอไปดูงาน..ชาวบ้านก็เตรียมอาหารมาให้รับประทานกัน...อิ่มหนำสำราญเสร็จแล้ว..ก็ต้องตกใจครับ...เพราะที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น..พอทานเสร็จ แทนที่จะวางไว้ในชาวบ้านที่เกณฑ์กันมาต้องเป็นภาระต่อ...เขากลับมีกะละมังสามใบใส่น้ำยาล้างจาน และอีกสองใบใส่น้ำให้ล้างกันเอง...กลายเป็นเรื่องที่ฮือฮากันมาก...เนื่องจากบางคนไม่เคยล้างจานเองครับ..

.....

ผมบอกเลยว่าเรื่องเล่านี้ดีมากครับ..ผมก็รู้สึกเหมือนกันครับ..ชาวบ้านก็ไม่ค่อยจะมีกินอยู่แล้ว..ยังต้องมาเสียเวลาทำมาหากิน..มาต้อนรับแขก ที่็ก็ไม่ค่อยมาตรงเวลา แถมยังต้องมาตามล้างตามเช็ดอีก..

....

ชุมชนข้างต้นมีระบบการจัดการดูงานที่ดีมากๆ...ผมเลยแนะนำกลุ่ม ให้รับไปทำเป็นนโยบายเลยครับ..ต่อไปเวลาใครมาเยี่ยมก็ใช้กระบวนการนี้ครับ...นอกจากลดภาระแล้ว คนมาเยี่ยมก็สนุกครับ...กลุ่มเห็นด้วยครับ

...

ผมเลยต่อยอดให้อีกว่ามีโรงแรมบางแห่ง เวลาคนมาพัก จะพาแขกไปปลูกต้นไม้ด้วย..ปรากฏว่าแขกชอบครับ...

...

เห็นไหมครับ..ถ้าคุณใช้โจทย์นี้ ถามคนหลายๆคน คุณจะได้เรื่องเล่าดีๆ ที่เอามาพัีฒนาเป็นนโยบายดีๆ ของกลุ่ม ที่จะนำมาสู่การเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน สร้างนวัตกรรม และความยั่งยืนได้ครับ...

.....

แล้วคุณจะเห็นพลังกลุ่ม ที่ส่งให้เกิดพลังแห่งความสุขครับ...

......

แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไร...

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 410210เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2010 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

    อ.โย ครับ   การสร้างนวัตกรรม  ผมว่าหัวใจอยู่ที่  "กล้าคิด  กล้าผิด   กล้าทำ"

    คิด  แล้ว ต้อง ทำ ครับ  อาจจะทำแบบ "ลองถูกลองผิด" ไปบ้าง ก็เป็นเรื่องปกติ  หรือ ทำแล้ว   ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ   ก็ไม่เป็นไรครับ ถือว่าได้ทำแล้ว และ ก็รู้ว่าวิธีนี้ทำแล้ว ไม่ได้ผล

    ผมมีประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองครับ นำมา ลปรร   เรื่องนำนักเรียนเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำ  3 วัน 2  คืน

    ผมจะเล่าเรื่อง  "อาหาร"  ครับ

    ผมเตรียมอุปกรณ์กองกลางไว้ให้  เช่น  ถ่านหุงข้าว  หม้อข้าว   เตา  หอม กระเทียม  ข้าว น้ำปลา น้ำตาล  ฯลฯ  

    เสร็จแล้ว  ผมให้เงินไปซื้อของสดจากร้านค้าใกล้ๆ มาประกอบอาหาร  หัวละ 10 บาท ต่อคน  ต่อวัน ( 3  มื้อ)   โดยให้ประกอบอาหารเป็นกลุ่ม  เป็นเด็กประถมนะครับ   แล้วให้วางแผนบริหารจัดการเอง ต้องทำให้พอกินกันทั้งวัน

     หลายคนบอกทำไม่ได้  แต่ผม "กล้าผิด" ครับ   ผลออกมา เด็กเขาทำได้ครับ  และ สนุกมากๆ

    งานนี้ผมมีข้อแม้ว่า  ห้ามเด็กทุกคน พกเงินมา   ใครอยากจะกินไอติม  อยากกินขนม  ก็ให้เบิกสตางค์ไปจากกลุ่ม เฉลี่ยหัวละ 10 บาทนั่นแหละ  555...

     รถไอติมวิ่งเข้ามาขาย  เด็กไม่มีใครสนใจเลยครับ  เพราะต้องเบิกเงินค่ากับข้าวไปซื้อไอติม   แลกเอา  จะเอากับข้าวหรือเอาไอติม

      ครูบางคนยังไปห่วงเด็ก  บอกว่าต้องกำหนดรายการอาหารให้เด็ก ทั้ง 3 มื้อ ผมบอกว่าไม่ต้อง เขาจะกินอะไรเรื่องของเขา

     งานนี้ "สอนโดยไม่สอน" ครับ  เด็กได้ทั้งการวางแผน กระบวนการกลุ่ม ความรับผิดชอบ ความเสียสละ  ความมีน้ำใจ  โดย "ไม่ต้องสอน" อีกเช่นกัน

     นวัตกรรมแบบนี้  ต้อง "กล้าคิด กล้าผิด  กล้าทำ"  และที่สำคัญ

     ต้องกล้า "ออกนอกกรอบ"

                         ขอบคุณครับ

   

ชอบไอเดีย "กล้าคิด กล้าผิด กล้าทำ" ของท่าน อ. Small Man ครับ แบบนี้ต้องขอ C&D (Copy & Development) แล้วครับ

เรียนท่านอาจารย์

  • เปลี่ยนโฉมหน้าจนจำไม่ได้เลยนะคะ
  • วันนี้ก็ยังยืนยันคำเดิมค่ะว่า " AI " จงเจริญค่ะ สาธุ สาธุ

ขอบคุณท่านอาจารย์ Small Man กับคุณไทเลย

กล้านอกกรอบ สำคัญมากครับ...ผมจะเขียนเรื่องนี้วันต่อไปครับ

ขอบคุณมากๆครับ คุณยาย เป็นกำลงใจมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท