ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด


“ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ”

บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

http://www.drsuthichai.com

     คนเราจะพูดเก่งพูดเป็นนั้น จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานและเรียนรู้หลักเกณฑ์เพื่อที่จะนำไปใช้ปฏิบัติในการเรียนรู้และฝึกฝน ในตอนนี้ เราจะมาพูดเรื่อง บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด กัน บัญญัติทั้ง 7 มีดังนี้ 1.ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักพูด การที่คนเรามีแรงปรารถนาอยู่ในหัวใจจะทำให้คนๆ นั้น เกิดความมานะ พยายามในสิ่งเหล่านั้น คนที่ต้องการเป็นนักพูดก็เช่นกัน ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักพูดให้ได้ ถ้าท่านปรารถนามาก ท่านก็จะทุ่มเทมาก แต่ถ้าความปรารถนาของท่านมีน้อย ท่านก็จะทุ่มเทในการฝึกฝน เรียนรู้ น้อยเช่นกัน 2.ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการพูดทุกครั้ง การเตรียมพร้อมจะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในการพูด ทำให้การพูดของเราเป็นสุนทรพจน์คือมีการลำดับ การขึ้นต้น เนื้อเรื่องและสรุปจบ ทำให้เราบรรยายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถหาข้อมูลใหม่ๆ ข้อมูลแปลกๆ มาใช้ในการบรรยาย ทำให้การพูดของเราใหม่อยู่เสมอ 3.ต้องมีความเชื่อมั่นในการพูด ความเชื่อมั่นจะทำให้เราพูดได้ดียิ่งขึ้น กระผมเองเคยไปฟังคำบรรยายเรื่องการพูด กับ อาจารย์อุสมาน ลูกหยี ได้คาถาดี มาประโยคหนึ่งคือ “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ” ตั้งแต่บัดนั้น ทำให้ผมเกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาอย่างมาก พอจะขึ้นเวที พูดกับตัวเองในใจ ว่า “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ” แล้วก็ขึ้นไปพูดด้วยความมั่นใจทำให้การพูดแต่ละครั้ง ของกระผมออกท่าทางอย่างเต็มที่ พูดเสียงดังฟังชัดกว่าแต่ก่อนในอดีต อาการประหม่า ลดลงอย่างมาก 4.ต้องมีลีลา ประกอบการพูด การพูดที่ดีต้องแสดง ลีลา ท่าทางประกอบการพูดด้วย รวมไปถึงน้ำเสียงต้องสอดคล้องกับเรื่องที่พูด การใช้ท่าทาง หน้าตา สายตา การยืน การเคลื่อนไหว ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด อีกทั้งภาษาที่มีความสุภาพบ้าง ภาษาที่เป็นกันเองเหมือนกับเราพูดกับเพื่อนบ้าง เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้ภาษา รวมถึงบุคลิกภาพ การเดินขึ้นเวที จะต้องมีความเชื่อมั่น กระฉับกระเฉง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ 5.ต้องมีความหลากหลายในการพูด การพูดที่ดี ต้องมีความหลากหลาย เช่น ต้องมีเรื่องตลกหรือมีอารมณ์ขันประกอบ ต้องมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจหรือสนใจมากขึ้น ต้องมีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ฟังแล้วเกิดความคิด ต้องมีเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การพูดที่หลากหลายจะทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชอบ 6.ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ทำให้คนในยุคปัจจุบันฉลาดกว่าคนในสมัยอดีต เพราะสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น ได้มากขึ้น เรามีสื่อที่ทันสมัยกว่าในอดีต เช่น อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ วีซีดี ดีวีดี ฯลฯ และที่สำคัญคือสิ่งเหล่านี้มีจำนวนมากและไม่สามารถปิดกั้นได้เหมือนอย่างในอดีต ดังนั้น ใครอ่านมาก ฟังมาก คนๆนั้นจะเป็นนักพูดที่คนเชื่อถือ ศรัทธา เพราะความที่รู้มากกว่าผู้ฟัง 7.ต้องฝึกฝนตลอดเวลา การฝึกฝนตลอดเวลาจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ เกิดการแก้ไข ปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ ทำให้เราต้องตื่นตัว ทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น และลดความกลัวต่างๆ ลง ถามว่าทำไมถึงกลัว เหตุที่กลัวเพราะ เราขาดความมั่นใจ ถามว่าทำไมถึงไม่มั่นใจก็เพราะเราไม่แน่ใจ ว่าจะทำสิ่งเหล่านั้นได้ และความไม่แน่ใจว่าจะพูดได้หรือไม่ เกิดจากเหตุผลคือ การที่เราไม่ได้ฝึกนั่นเอง ดังนั้นจงฝึกพูดทุกโอกาส และเมื่อมีโอกาสก็ควร อาสาขึ้นพูด เพราะโอกาสจะมีสำหรับผู้ที่แสวงหาโอกาสเสมอ ท้ายนี้ หลักการพูดหรือหลักเกณฑ์ที่จะทำให้เราพูดได้ดี ยังมีอีกมากมาย ฉะนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคต่างๆ มากขึ้น สำหรับกระผมคิดว่า ถ้าท่านใช้หลักเกณฑ์ “บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด ”ที่กระผมกล่าวไปข้างต้น จะทำให้การพูดของท่านดีขึ้นมาอย่างแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 410083เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท