Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar [6] World café กลุ่ม BOD … ผลลัพธ์ (ไม่ลับ) การใช้ประโยชน์จาก BOD


 

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการพัฒนาดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย [Burden of Diseases, BOD] สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar" ณ โรงแรมอิมพิเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
รายละเอียดโครงการ (คลิก)

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการพัฒนาดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย
[Burden of Diseases, BOD] สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar"
ณ โรงแรมอิมพิเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมารายละเอียดโครงการ (คลิก)

...

หนึ่งในกิจกรรมในงานสัมมนาก็คือ World Cafe [World cafe คือ คลิก] ซึ่งกำหนดไว้ 6 Cafe ได้แก่ 

1. BOD: X-Ray (ตรวจสุขภาพองค์กร) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)

2. Capacity Building (คน + กำลัง = ความหวังของการพัฒนา) --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)

3. BOD Go Inter --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)

4. กลุ่มเครือข่าย : You’ll never walk alone . . . --> เขียนบทความไว้แล้ว (คลิก)

5. BOD… ผลลัพธ์ (ไม่ลับ) --> คือบทความนี้

6. BOD: Sufficiency Vs insufficiency

...
ลองมาดูกันว่า เราสามารถใช้ประโยชน์อะไรจาก BOD ได้บ้าง
...
...
 
1. การนำเอาข้อมูล BOD ไปใช้
• ควรพิจาณาให้เหมาะสมกับลักษณะและระดับของการใช้งาน 
   เป้าหมายของการนำไปใช้ เช่น อาจจะต้องทำเป็น Burden of Health care,
   Burden of Health system, Burden of Well-being 
• ชวนคิดว่า ข้อมูล BOD เป็นข้อมูลของคนส่วนใหญ่ แต่ข้อมูลของคนส่วนน้อย
   ที่มี BOD น้อย ก็มีความสำคัญเช่นกัน เช่น โรคไต ไม่ติดหนึ่งในสิบ แต่ใช้ค่าใช้จ่ายมาก
   ต้นทุนมาก, หรือบางโรคที่ BOD น้อยแต่ใช้ต้นทุนไม่มากก็น่าลงทุน
   ย้ำว่าหากจะตัดสินใจต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ เข้ามาประกอบด้วย
• ใช้ BOD เพื่อทำแผนลงทุนด้านสุขภาพ, Health assessment
• การใช้ BOD ไปผลักดันนโยบายสาธารณะ ข้อมูลที่ได้ต้องไม่ใช่มีเฉพาะความเสี่ยง
   หรือการเจ็บป่วย ต้องสะท้อนภาพผลกระทบและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ต่อสุขภาวะด้วย
   พูดเรื่องปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น กรณีมาบตาพุด สะท้อนข้อมูลผลกระทบที่เกิดในพื้นที่
• ทำข้อมูลที่นำไปใช้ให้ได้หลายๆ กระทรวง ไม่ใช่เฉพาะมิติสุขภาพ เพียงอย่างเดียว
 
2. Resource allocation VS Priorization 
• ใช้ BOD เป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณเหมาะหรือไม่ เพราะ BOD
   เป็น Outcome indicator/ bottom line indicator
   >> งบประมาณควรกำหนดยุทธศาตร์ ไม่ใช่แก้ที่ Outcome จากข้อมูล BOD
• BOD VS POLICY ล้อกันไปล้อกันมาหรือเปล่า
• BOD น่าจะเป็นไปเพื่อจัดลำดับความสำคัญหรือชี้เป้า โดยเรื่อง allocation
   จะต้องพิจารณาใช้ร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ อีกเช่น กำลังคน, ค่าใช้จ่าย, epidemiology
• ข้อระวังเรื่อง การ abuse ข้อมูล เพราะหวังว่ามีข้อมูลเยอะ
   ก็อาจจะมีงบมาลงเยอะแต่วิธีการป้องกันวิธีหนึ่งคือ การผูกสองเรื่องเข้าด้วยกัน
   ทำข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน ได้อย่างอาจจะเสียอีกอย่าง การ make ข้อมูลจะทำได้ยาก
• ความเป็นไปได้ในการใช้ BOD สร้างแรงจูงใจทางบวกในการทำงาน

3. Format and contents
• การถ่ายทอดเทคโนโลยี กำกับความถูกต้องของข้อมูลตลอดการใช้งาน  
• การ monitor Burden, cost ความคุ้มทุน
• เนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมกับผู้ใช้ประโยชน์ 4 กลุ่ม
   1) ผู้บริหาร นักการเมือง >> เพื่อให้สนใจปัญหานี้,
   2) นักวิชาการ,
   3) ผู้ปฏิบัติ provider ซึ่งเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งต่อข้อมูล,
   4) สาธารณะชน>> เพื่อให้สังคมเข้าใจ ผลกระทบ
   โดยให้แต่ละกลุ่มเข้าใจง่ายและเข้าถึงข้อมูลง่าย
• ยกเครื่องระบบการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลแบบ comprehensive เชื่อมโยงข้อมูล
• การเลือก indicator เป็นกลุ่มโรค แทนกลุ่มได้หรือไม่
• หาโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น ช่วงการเปลี่ยนผู้ว่าใหม่
   เอาข้อมูลไปเสนอเลย
• การผลักดันให้ BOD เข้าไปอยู่ในสภาพัฒน์ฯ
• ถ้าเปรียบ BOD  เป็นสินค้า ได้มีการทำการตลาดของ BOD บ้างหรือยัง
  โดยต้องประเมินว่าลูกค้าหลักคือใคร ทำอย่างไรให้สินค้าเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
• คนนำข้อมูลไปส่งต่อ เผยแพร่อาจไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นคนที่ทำ BOD

4. Disaggregation การจัดกลุ่มข้อมูลเป็นประเภทต่างๆ และระดับต่างๆ
   ของผู้ใช้ข้อมูล ลูกค้าหลาย ๆ กลุ่ม
• ระดับพื้นที่ (จังหวัด ภาค ท้องถิ่น) โดยให้พื้นที่ทำข้อมูลเองดีไหม
   หรือเป็นไปได้หรือไม่เพื่อข้อมูลจะได้ใกล้เคียงความจริง, พื้นที่เพื่อพื้นที่
• การแบ่งพื้นที่จะต้องไม่แบ่งตามเขตตรวจราชการ ไม่เหมาะสม การติดตามก็ปัญหา
  เพราะฐานแกว่งตลอด อาจจะต้องแยกพื้นที่ กทม. ออก
• เฉพาะกลุ่มอายุ วัยรุ่น VS ผู้ใหญ่, และแบ่งกลุ่มอายุต้องแบ่งให้สอดคล้องกับกรม
   กองอื่น ๆ ด้วย, Age specific date rate
• กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ได้เป็นความต้องการหรือความจำเป็นของคนส่วนใหญ่?
 
5. Economic approach
• เนื่องจาก Burden เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ 
  ดังนั้นควรใช้วิธีการทางด้านเศรษฐศาสตร์ มาช่วยวิเคราะห์ด้วย
  เช่น Cost effectiveness, cost benefit,  productivity, opportunity cost ใส่cost เท่าไหร่,
  opportunity loss สูญเสียเท่าไหร่ >>ประโยชน์เชิงนโยบาย
• BOD คล้าย GDP วัดแบบมหภาค แนวคิดคล้ายๆ กัน

6. Role of BOD team
• ทบทวนและ update เทคนิคต่าง ๆ ของ BOD กระบวนการที่ทำให้ข้อมูล
   หรือภาระโรคหลุดออกไป, definition ของ inclusion criteria, sensor ที่ใช้,
   มีมากว่า 10 อันดับ, ภาระโรคที่ประชาชน concern แต่รัฐไม่ concern , ทำหลาย ๆ โรค
• Contextualization ใช้ข้อมูลไทยให้มากกว่าต่างประเทศ
 
7. Timing 5 ปี
• อาจจะนานเกินไปหรือไม่ ไม่ทันการณ์, อาจทำให้ข้อมูลโรคอุบัติใหม่,
   Infectious disease, ขาดไป หรือไม่มีข้อมูล เช่น Flu มีBOD น้อยเพราะเป็นแล้วหาย
   แต่อีกวิธีหนึ่งอาจจะจัดกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกันอยู่ด้วยกันแล้วเป็น  1 ตัวแปร
   เช่น CVD+DM จัดเป็นอีกหนึ่งภาระโรคได้
 
8. Pit falls of BOD ช่องว่างที่หายไปของ BOD
• ข้อมูล Rare disease จัดกลุ่มโรค, ข้อมูล disaggregated กลุ่มเสียประโยชน์, จริยธรรม

9. การตรวจสุขภาพของการนำเอาข้อมูล BOD ไปใช้จริง ว่ามีใครบ้างที่เอาไปใช้จริง 
    สำรวจการนำไปใช้จริง, คนเอาไปใช้ ได้ใช้จริงหรือเปล่า เช่น Health service

10. การใช้ข้อมูลอื่นควบคู่กับข้อมูล BOD  ซึ่งเป็น Hard Fact, Fright fact  
     เช่น Five FACTOR ที่ใช้โปรโมท นักการเมืองให้ความสนใจ เช่น เอ๋อ
     ไอคิวต่ำ—ที่ขาดไอโอดีน ดังขึ้นมาทั้ง ๆ ไม่มี evidence อะไรเลยแต่นักการเมืองสนใจ
 
11. เปลี่ยนชื่อ BOD จาก “ภาระโรค” เป็นชื่ออื่น เพราะเข้าใจยาก

...
บทความต่อไปจะเป็นประเด็น BOD: Sufficiency Vs insufficiency
จะเป็นอย่างไรนั้น เร็วๆ นี้ครับ
* ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD
...
หมายเลขบันทึก: 409967เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ช่วยไป บอกผู้บริหาร สธ. หน่อยครับ ว่าไข้ไข้เลือดออก

มันสำคัญมากที่สุด มากกว่าโรคอื่นๆ 55555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท