ปัญหาการเรียน การสอน และการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน


ปัญหามีไว้แก้ไข หากปล่อยไว้จะส่งผลกระทบในระยะยาว ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันจึงจะสำเร็จ

             ปัญหาการเรียน การสอน และการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน เริ่มมีแต่ปัญหาในระดับนโยบาย ปัญหาที่ตัวผู้สอน และผู้เรียน ปัญหาที่สื่อหรือนวัตกรรม และปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ การที่ผู้เรียนมิได้ให้ความสนใจกับวิชาภาษาไทยอย่างตระหนักรู้ว่า “นี่คือความจำเป็นที่จักต้องเรียนรู้ภาษาของชาติโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยแท้จริง

             ปัญหาในระดับนโยบาย ชั่วโมงของวิชาภาษาไทย ในทุกระดับชั้นถูกลดทอนลง จนผู้สอนมิอาจดำเนินการให้ลุ่มลึกได้ และนโยบายที่มิให้มี “เด็กตก” เป็นการเพิ่ม “ตัวเลข” ผู้อ่านหนังสือไม่ออก ให้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นปัญหายิ่ง ผู้บริหารในทุกลำดับชั้น มิได้ให้ความสำคัญกับภาษาไทย ทั้งด้านอัตรากำลังและงบประมาณสนับสนุน

             ปัญหาที่ตัวผู้สอน ผู้สอนภาษาไทย บางคนมิได้ศึกษามาโดยตรงทางภาษาไทย เป็นเพียงผู้พูดภาษาไทยและเป็นคนไทยเท่านั้น และนี่คือ ข้ออ่อนด้อยโดยตรง ที่ศาสตร์ทางภาษามิได้รับการเรียนรู้และถ่ายทอดจากคนตรงสายวิชา และยิ่งกว่านั้น ในระดับอุดมศึกษายังมีเสียงสะท้อนว่าผู้สอนบางท่านมิได้แม่นยาทางภาษาไทย ซึ่ง ๒ กรณีดังกล่าวนี้จึงมีผลย่อหย่อนต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างน่าได้รับการแก้ไขโดยด่วนยิ่ง

             ปัญหาที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่ เขียนหนังสือไม่ถูกต้อง และต่างยอมรับว่ายังคงมีความผิดพลาดอีกมากในการเขียนสะกด-การันต์ ผู้เรียนอ่านหนังสือไม่ออก จับประเด็นไม่ค่อยได้ และเขียนแสดงความคิดเห็นไม่ค่อยเป็น ซึ่งต่างยอมรับตรงกันว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ มิได้ฝึกแสดงความคิดอย่างเป็นระบบ เหตุเพราะข้อสอบที่รู้จักและทาต่อเนื่องมามีแต่ “ปรนัย”

            ปัญหาเรื่องสื่อและนวัตกรรม ทุกวันนี้การเรียนการสอนภาษาไทยยังมีข้ออ่อนด้อยเรื่องนวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ ซึ่งถ้าผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องจัดทำ จัดเตรียม หรือหามาได้เหมาะสมสอดคล้องกับการเรียนรู้ที่มุ่งให้เด็กเป็นศูนย์กลางแล้ว เชื่อว่าจะเกิดประสิทธิภาพยิ่ง

            ส่วนในเรื่องสำคัญที่ผู้เรียนส่วนใหญ่มิได้ให้ความสนใจกับการเรียนภาษาไทย สรุปว่าทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคงต้องถือเป็นวาระใหญ่ โดยแท้จริงที่จะทำให้เกิดการตระหนักรู้ว่านี่มิใช่เพียงการเรียนวิชาหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว คือการเรียนรู้ในเอกลักษณ์และวัฒนธรรม เห็นสังคมสำคัญเป็นความมั่นคงของชาติในที่สุด

....................................................

หมายเลขบันทึก: 408536เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2010 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท