ระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ โดยใช้ชุมชนเป็นกลไกดำเนินการ


ระบบกองทุนการออมชุมชน หรีอองค์กรการเงินชุมชนมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็นเสาหลักการประกันความเสี่ยงด้านรายได้

       สถาบันพัฒนาสยามได้เสนอร่างผลการศึกษาเรื่อง ความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพให้แก่แรงงานนอกระบบโดยผ่านกลไกชุมชน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 มีสาระ สำคัญได้แก่

       การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วมคือให้ชุมชนศึกษาตนเอง แทนการถูกสัมภาษณ์โดยนักวิจัย หรือนักวิชาการทางเดียว โดยมีการช่วยเหลือด้านวิชาการจากนักวิจัยหรือนักวิชาการชุมชน

ซึ่งในการนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นเช่น ราชภัฏ ม.สงขลา ผลการศึกษาตนเองของชุมชน ได้รับการสังเคราะห์ร่วมกันโดยหลายภาคส่วน

       ผลการศึกษาตอบโจทย์การวิจัยในการเสนอร่างรายงานการศึกษาว่า ชุมชนมีความเหมาะสมที่จะเป็นกลไกของระบบการออมชุมชน และจะสามารถจัดให้เป็นระบบสวัสดิการและระบบสวัสดิการเพื่อการชราภาพได้ โดยมีความเหมาะสมคือ

1.  มีความพร้อมในแง่ความบริสุทธิ์ใจ

2.  มีความพร้อมในด้านความคิด ภูมปัญญา และการพัฒนาระบบการออม

3.  มีความพร้อมด้านบุคลากรและผู้ปฎิบัติงาน และการอุทิศตัว

4.  พร้อมด้านประสบการณ์การทำงาน และการดำรงอยู่ของกลุ่ม

5.  ความพร้อมด้านการติดตามตรวจสอบและการติดตามการทำงาน และการยอมรับในระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกัน

6.   ความสามารถในการสรุปบทเรียน การแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขของแต่ละกลุ่ม ทำให้สมาชิกชุมชนสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสันติไปพร้อมๆกับความเจริญและการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ไม่ประมาท

      มีข้อสรุปที่น่าสนใจเล่าสู่กันคือ การศึกษาพบว่า ชุมชนเกิดตามธรรมชาติ  เกิดจากอุดมคติ และเกิดจากการปฏิบัตินิยม ทั้งยังเกิดจากพลวัติได้ด้วย คือ กลุ่มออมทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงตนเอง นอกจากนี้พบว่า กลุ่มการออมชุมชนเป็นเรื่องของความต่าง และ ความเหมือน มีความโดดเด่นในเรื่องวิสัยทัศน์ผู้นำ

      การศึกษาได้เสนอแนวทางในการทำให้ชุมชนเป็นกลไกการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพโดยมีข้อเสน 2 แนวทางคือ เชิงนโยบาย และข้อเสนอเพื่อดำเนินกิจกรรม

ข้อเสนอเชิงนโยบาย

1.การเตรียมพร้อมสู่สังคมชราภาพ การอยู่อย่างมีศักดิศรี

2.การพัฒนาองค์กรภาคประชาชนเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจสอบรัฐบาล

3.การเคารพ ให้เกียรติ การยอมรับความหลากหลาย

4.การพัฒนาระบบ และพัฒนาสร้างขีดความสามารถเพื่อการพึงตนเองของประชาชน

5.การรับรองสถานะทางกฏหมายให้เกิดการยอมรับ และการรับรู้ของสังคม

6.ละเว้นการสร้างระบบการพึ่งพิง

ข้อเสนอเพื่อดำเนินกิจกรรม

1.การหนุนเสริมเพื่อดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม

2.การป้องกันการล้มละลายของกลุ่มในอนาคต(การสร้างความยั่งยืนทางการเงิน)

3.การส่งเสริมสร้างกำลังใจบุคลากรที่ทำความดี

4.การจัดตั้งหน่วยศึกษาสนับสนุส และการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของชุมชน

5.การพัฒนาเครือข่าย (ข้อนี้ผู้รายงานขอเสริมเรื่องการทำงานของคุณๆ(พี่เอื้อ พี่กิจ พี่ประสานฯลฯ ด้วยค่ะ

             แต่ละข้อ แต่ละประเด็นเป็นรูปธรรมที่มีตัวอย่างเป็นที่ประจักษ์จากผลการวิจัยชุมชนโดยชุมชนเอง

              ที่มีโจทย์วิจัยเรื่องนี้เพราะว่า แรงงานในระบบการจ้างงานมีเครื่องมีอรองรับการมีรายได้เลี้ยงตนเองในยามชราแล้ว แต่ผู้ที่มีอาชีพอิสระ เป็นนายตนเองยังไม่มีระบบ เพราะความจำกัดในเรื่องคุณสมบัติของตนเอง โดยเฉพาะเรืองสถานประกอบการที่ชัดเจน ดังนั้นชุมชนซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีภูมลำเนาชัดเจน(AREA BASE) เป็นการยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง น่าจะเป็นคำตอบทางออกที่ดีได้ (เรื่องการขยายประกันสังคมให้แรงงานนอกระบบ ทำโดยกลุ่มอาชีพ จะได้เล่าสู่กันฟังในคราวต่อไป)

               จึงมีความปรารนาว่าต่อไปชาวไร่ชาวนา แม่ค้าหาบเร่ เปิดท้ายขายของ ผู้รับจ้างรายวันคงจะมีระบบบำนาญกันตามอัตภาพความพอเพียง กันบ้าง

                หมายเหตุ ในการเสนอผลงาน มีผู้ให้ข้อเสนอแนะและการวิพากษ์ที่มีประโยชน์มาก ซึ่งจะได้รวบรวมนำมารายงานให้ทราบต่อไป

 

                                                                                                                

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

        สถาบันพัฒนาสยามได้เสนอร่างรายงานขั้นสุดท้าย(final draft) ของผลการศึกษาเรื่อง การศึกษาความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการ

 

 

 

 

 

 

 

      

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4085เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2005 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท