โรคติดต่อ


โรคติดต่อในประเทศไทย โดย นายแพทย์สุวิทย์ อารีกุล และคนอื่นๆ
          ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อ นับแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีการตราพระราชบัญญัติโรคติดต่อขึ้น และมีการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๔๗๙ และ พ.ศ. ๒๔๘๒ ใน พ.ศ. ๒๔๘๕  ประกาศใช้พระราชบัญญัติไข้จับสั่น และ พ.ศ. ๒๔๘๖ มีพระราชบัญญัติโรคเรื้อน
          ใน พ.ศ. ๒๕๒๓  ได้ยกเลิกกฎหมายทั้ง ๕ ฉบับ และประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ 
          ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีประกาศรัฐมนตรีเรื่องโรคติดต่ออันตราย  โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ เรียงตามลำดับดังนี้
          ๑. โรคติดต่ออันตราย มีอยู่ ๔ โรค ได้แก่อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค
          ๒. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔  มีอยู่ ๔๔ โรค คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลืองไข้กาฬหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน โรคบาดทะยักโปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูมไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า  โรคตับอักเสบ  โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย  ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ สครับไทฟัส (scrub typhus)  มูรีนไทฟัส  (murine  typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทร็กซ์  (antrax) โรคทริคิโนซิส (trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซิส ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน  แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ    โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง
          ๓. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ  มีอยู่ ๑๕โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค  ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ โรคบาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ  ไข้พิษสุนัขบ้า  ไข้รากสาดใหญ่ แอนแทร็กซ์ โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น  โรคคุดทะราด ระยะติดต่อ โรคเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม
          ดังนั้นจะเห็นว่า   ประเทศไทยมีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด  ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรงบางชนิด  ได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว เช่นไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคอีกเลย นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ และไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ. ๒๕๐๕ (ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑) โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้าง  ก็ได้ลดความรุนแรงลงไป  เช่น  อหิวาตกโรคอย่างไรก็ตาม โรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฏอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่  ฉะนั้น โดยทั่วไปแล้ว   โรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป
          โรคติดต่อในปัจจุบันที่สมควรกล่าวให้ทราบมีดังต่อไปนี้ (สำหรับโรคคอตีบ  ไอกรน  บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส ไข้เลือดออก  และวัณโรคในเด็ก  โปรดดูเรื่อง การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ เล่ม ๘)        

          เราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออกเป็นกลุ่มตามขนาด  รูปร่าง และคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้
         ๑. เชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
         ตัวอย่างโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  ได้แก่ ไข้ทรพิษพิษสุนัขบ้า ไขสันหลังอักเสบหรือโปลิโอ หัด คางทูม และอีสุกอีใส เป็นต้น
          ๒.  เชื้อบัคเตรี มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัสสามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
         เชื้อบัคเตรีแบ่งออกเป็นกลุ่ม ตามรูปร่างที่มองเห็น
         กลุ่มที่มีรูปร่างกลม เรียกว่า ค็อกไซ (cocci) 
         กลุ่มที่มีรูปร่างเป็นแท่ง เรียกว่า บะซิลไล(bacilli)
         กลุ่มที่มีรูปร่างขดเป็นเกลียวสว่าน เรียกว่า สไปโรคีต (spirochete)
         ตัวอย่างโรคจากเชื้อบัคเตรี ได้แก่ อหิวาตกโรคไข้ไทฟอยด์ บิด  บาดทะยัก หนองใน วัณโรคหนองฝี ไข้เจ็บคอ ปอดบวม คอตีบ และไอกรนเป็นต้น
          นอกจากนี้ยังมีบัคเตรีอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติต่างไปจากเชื้อบัคเตรีส่วนใหญ่ บัคเตรีอื่นๆ  เหล่านี้อาจแยกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
          ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) เป็นบัคเตรีที่ไม่มีผนังเซลล์ มีขนาดเล็กมากต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ทำให้เกิดโรคปอดบวม และโรคอื่นๆ
          คลามีเดีย (chlamydia) มีขนาดเล็กมาก และไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ในอาหารเพาะเลี้ยง   ต้องใช้เซลล์มีชีวิต  เป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงตา หนองในเทียมและโรคอื่นๆ
          ริกเก็ตต์เซีย (Rickettsia)  มีขนาดเล็กมาก เชื้อในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ก่อโรคในสัตว์  และติดต่อมายังคนโดยมีแมลงเป็นพาหะ  เกือบทุกตัวไม่สามารถเจริญได้ในอาหารเพาะเลี้ยง  ต้องใช้เซลล์มีชีวิต  มีเพียงบางตัวที่เลี้ยงได้ในอาหารที่เตรียมขึ้น ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากริกเก็ตต์เซีย ได้แก่ ไข้รากสาดใหญ่หรือไข้ไทฟัสเป็นต้น
          ๓. เชื้อรา (fungus) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง ๒ แบบ คือ ราแบบรูปกลมเรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายราราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้
ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น
         ตัวอย่างโรคจากเชื้อรา ได้แก่ กลาก เกลื้อนและฝ้าขาวในปากเด็ก  เป็นต้น
          ๔.  เชื้อปรสิต (parasite) เป็นจุลชีพที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช ภายในเซลล์แยกออกเป็นนิวเคลียสและไซโทพลาซึม (cytoplasm) ชัดเจน แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น สัตว์เซลล์เดียว หนอนพยาธิ และอาร์โทรพอด  (arthropod) ตัวอย่างเชื้อปรสิต ได้แก่ เชื้อบิดอะมีบา เชื้อมาลาเรียพยาธิตัวกลม  พยาธิใบไม้  พยาธิตัวตืด  ตัวหิด และตัวโลน  เป็นต้น
         เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายระยะแรกจะมีจำนวนไม่มากพอที่จะก่อโรค จะต้องอาศัยช่วงระยะเวลาหนึ่งแบ่งตัวเพิ่มจำนวน   แล้วปรากฏอาการโรคภายหลังระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งปรากฏอาการโรคเรียกว่า  ระยะฟักตัว
         การติดเชื้อ  หมายถึง การที่เชื้อโรคเพิ่มจำนวนในร่างกาย โดยจะปรากฏอาการของโรคหรือไม่ก็ได้
         ผลจากการติดเชื้อ มักทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น และอาจทำให้ไม่เป็นโรคจากเชื้อนั้นอีกก็ได้
         โรคติดเชื้อบางโรค   จะติดต่อแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ง่าย   หากในบริเวณนั้นมีผู้ติดโรคเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นเรียกว่า    เกิดเป็นโรคระบาด บางโรคจะต้องมีพาหะนำเชื้อโรค และบางโรคจะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ จึงจะเกิดการติดเชื้อก่อโรคได้

ทางติดต่อของเชื้อโรค ได้แก่
          ๑.  ทางการหายใจหรือสูดดม  นับว่าเป็นทางที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยจะปล่อยเชื้อโรคออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยการไอหรือจาม เกิดเป็นละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ   ถ่ายทอดให้ผู้อื่นโดยการสูดดมละอองเชื้อโรคเข้าไป ทำให้ติดเชื้อป่วยเป็นโรค ตัวอย่างเช่น วัณโรค ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ไข้คอตีบ ไอกรน และหัด เป็นต้น
          ๒.  ทางการกิน   โดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เชื้อโรคจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในลำไส้  ออกมากับอุจจาระแล้วปนเปื้อนกับอาหารหรือเครื่องดื่ม  ติดต่อสู่ผู้อื่นต่อไป  ตัวอย่างเช่น อหิวาตกโรค บิด ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย   โปลิโอตับอักเสบ   พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว พยาธิใบไม้ในปอด และพยาธิตัวจี๊ด  เป็นต้น
          ๓. ทางผิวหนัง ทางบาดแผล รอยถลอกหรือฉีดยา โดยทั่วไปผิวหนังและเยื่อบุของคนปกติจะสามารถป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเกิดบาดแผลหรือรอยถลอก  หรือแทงเข็มผ่านไปก็จะทำให้เชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนได้   ตัวอย่างเช่นโรคพิษสุนัขบ้า  บาดทะยัก และหนองฝี เป็นต้น
          แมลงหลายชนิดเป็นพาหะนำโรค  เช่นยุง หมัด เห็บ เหา และไร แมลงจะกัดกินเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคเข้าไป    เชื้อโรคไปเพิ่มจำนวนในตัวแมลง และเมื่อแมลงไปกัดกินเลือดผู้อื่นก็จะปล่อยเชื้อถ่ายทอดไป ตัวอย่างเช่น มาลาเรีย  ไข้เลือดออก  และไข้สมองอักเสบ เป็นต้น  แมลงบางชนิดเป็นพาหะนำโรคโดยเป็นสื่อกลางนำเชื้อจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตรงไม่มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นต้น
          ระยะติดต่อของพยาธิและเชื้อบัคเตรีบางชนิดสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่ไม่มีรอยบาดแผลได้ เช่นพยาธิปากขอ พยาธิใบไม้เลือด และเชื้อเล็พโทสไปโรซิส (leptospirosis) เป็นต้น
          ๔. ทางเพศสัมพันธ์  โรคที่ติดต่อทางเพศเดิมเคยเรียกว่า กามโรค ปัจจุบันเรียกว่า  โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ซึ่งมีมากมายหลายโรค  เช่น หนองในซิฟิลิส หูดหงอนไก่  เริม และแผลริมอ่อน
          ๕. ทางรกและช่องคลอด ถ้ามารดามีการติดเชื้อโรคบางอย่างขณะตั้งครรภ์  ทำให้ทารกติดเชื้อ  เกิดความพิการแต่กำเนิด  แท้ง หรือตายตั้งแต่แรกคลอดเชื้อที่สำคัญได้แก่ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน เป็นต้น
         นอกจากนี้  ถ้ามารดามีการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด  ทารกจะได้รับเชื้อโดยการกลืนกิน  สูดดมหรือสัมผัสขณะคลอด ทำให้เกิดโรคอาการรุนแรง ตัวอย่างเช่น ตาอักเสบจากหนองใน หนองในเทียม และโรคเริม เป็นต้น
         เชื้อโรคบางอย่างจะติดต่อก่อโรคจากคนไปสู่คนเท่านั้น  แต่บางโรคอาจติดต่อถ่ายทอดจากสัตว์มาสู่คนโรคติดต่อจากสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า วัณโรค  โรคเล็พโทสไปโรซิส  โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา  และโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นต้น
ตัวโลน เชื้อปรสิตชนิดหนึ่ง  
ตัวเห็บ สัตว์พาหะนำโรคชนิดหนึ่ง  
          พาหะของโรค
         ได้แก่ คนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคอาศัยอยู่โดยไม่แสดงอาการของโรคและสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นได้   ระยะเวลาที่เป็นพาหะอาจสั้นเพียงชั่วคราว  หรือพบเชื้ออยู่ได้นานเป็นพาหะเรื้อรัง พาหะนำโรคนี้อาจเป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ผู้สัมผัสโรค ผู้อยู่ในระยะฟักตัวของโรค  หรือผู้ที่เพิ่งหายจากการป่วยเป็นโรคก็เป็นพาหะของโรคได้  
           ระยะติดต่อของโรค
          หมายถึง ระยะเวลาที่คนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคนั้น แล้วสามารถนำเชื้อถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
          เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับเชื้อโรค    จะเกิดการติดเชื้อป่วยเป็นโรคหรือไม่นั้น   ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและจำนวนของเชื้อโรคที่ได้รับเข้าไป และความต้านทานหรือสภาพร่างกายของบุคคลผู้นั้น    ผู้ที่มีสุขภาพดีได้รับอาหารที่เหมาะ ออกกำลังและพักผ่อนเพียงพอจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ ดีกว่าผู้ที่ขาดอาหารหรือเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวจะมีภูมิคุ้มกันโรคดีกว่าเด็กอ่อนหรือคนชรา
          เราอาจสร้างเสริมภูมิคุ้มกันจำเพาะโรคใดโรคหนึ่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการฉีดวัคซีนหรือให้เซรุ่ม (serum) ที่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้น
       วัคซีนหมายถึง ตัวเชื้อโรคหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเชื้อที่สามารถนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ทำให้เกิดโรครุนแรง  แต่จะมีผลให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้
          วัคซีน  แบ่งได้เป็น  ๒ ชนิด คือ วัคซีนที่ประกอบด้วยเชื้อโรคที่ตายแล้ว กับวัคซีนที่มีเชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งถูกเลี้ยงจนอ่อนฤทธิ์หรือเชื่อง ไม่ก่อโรคเหมือนเชื้อที่พบในธรรมชาติ
          เชื้อโรคบางชนิดจะก่อโรคโดยการสร้างชีวสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเรียกว่า ท็อกซิน (toxin) เรานำท็อกซินนี้มาดัดแปลงทำให้สภาพเป็นพิษหมดลงได้  แต่ยังคงสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ เรียกว่าท็อกซอยด์ (toxoid) ซึ่งก็ถือว่าเป็นวัคซีนชนิดหนึ่ง
          ภายหลังการฉีดวัคซีนหรือท็อกซอยด์ประมาณ ๒-๔ สัปดาห์ ร่างกายจึงจะมีภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นเองเกิดขึ้นป้องกันโรคได้โดยตรง แต่บางครั้ง บุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อโรค อาจจะฉีดวัคซีนให้ไม่ทันเวลา จำเป็นต้องฉีดเซรุ่มของคนหรือสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นให้ทันที  ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโดยทางลัด

โรคติดต่อในประเทศไทย

        ใน พ.ศ.2523 ได้ยกเลิกกฎหมายทั้ง 5 ฉบับและประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 ได้มีประกาศรัฐมนตรี เรื่องโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ เรียงตามลำดับดังนี้

1. โรคติดต่ออันตราย มีอยู่ 4 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค

2. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารสุขลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2524 มีอยู่ 44 โรค คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง ไข้กาหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน โรคบาดทะยัก โปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูม ไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก โรคพิษ สุนัขบ้า โรคตับอักเสบ โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ สครับไทฟัส (scrub typhus) มูรีนไทฟัส (murine typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทร็กซ์ (antrax) โรคทริคิโนซิส (trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซิส ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง

3. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีอยู่ 15 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ บาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ ไข้พิษสุนัขบ้า ไข้รากสาดใหญ่ แอนแทร็กซ์ โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น โรคคุดทะราดระยะติดต่อ โรคเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม


        ดังนั้นจะเห็นว่า ประเทศไทยมีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรงบางชนิด ได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว เช่นไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคอีกเลย นับตั้งแต่ พ.ศ.2495 และไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ.2504 (ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ.2521) โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้าง ก็ได้ลดความรุนแรงลงไป เช่น อหิวาตกโรค อย่างไรก็ตาม โรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฎอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่ ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้ว โรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป    

                                                ที่มา  http://www.panyathai.or.th

                                                ที่มาhttp://guru.sanook.comขอ


ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 


ตาแดง

หมายเลขบันทึก: 408302เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โอ้โห น่ากลัวมารกมายครับ

เนื้อหาดีมากเลย ได้ประโยชน์จริงๆ

ดีคะพี่แก้วอ่านตาลายเลยค่ะ เพราะอยากรู้

มีคนเป็นโรคนี้ที่ มอ.หาดใหญ่ ระวังกันหน่อยน่ะจ๊ะ

พี่สอนเรื่องอะไร ผมว่าจะสอนเรื่อง การทดสอบสมรรถภาพ สนุกดีนะวันนี้มีหลายรูปแบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท