มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร กับ เกษตรอินทรีย์ ( ตอนที่ 2 )


       คราวที่แล้วทิ้งท้ายกันด้วยปัญหาและอุปสรรค ของการทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ที่เป็นดินทรายชายทะเล  ใครที่เคยแวะเวียนมาเที่ยวที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  คงจะทราบดีว่า  พื้นดินส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยเป็นดินทรายชายฝั่งทะเล   ซึ่งดินชนิดนี้เป็นดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเพาะปลูก      ส่วนดินในอุดมคติหรือดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก   จะต้องมีอนินทรีย์สาร 45 อินทรีย์สาร 5 % น้ำ 25 และอากาศอีก 25 %

                                 

                ในดินทรายจะพบปัญหาหลักอยู่ 2 ประการ ประการแรกดินทรายมีอินทรีย์สารหรืออินทรียวัตถุต่ำ    และประการที่  2  ดินทรายมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ  การแก้ไขปัญหาสามารถทำได้ดังนี้
                1.เรื่องดินทรายมีอินทรียวัตถุต่ำ แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยคอก(ขี้วัว)ลงไปในแปลงที่ใช้สำหรับเพาะปลูก  ซึ่งปุ๋ยคอกจะเป็นแหล่งของธาตุอาหารที่ดีให้แก่พืช   นอกจากนี้ยังช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้นอีกด้วย
                2. เรื่องดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ   แก้ไขโดยนำขุยมะพร้าวมาเทแล้วคลุกเคล้าลงในแปลงปลูก   สาเหตุที่เลือกขุยมะพร้าวมาเป็นสารตัวเติมในดินมีเหตุผลหลายประการ คือ ขุยมะพร้าวมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี   มีขนาดเล็ก  ทำให้สามารถคลุกเคล้าลงไปในดินได้ง่าย  มีความสะอาด  หาได้ง่ายในท้องถิ่น  และที่สำคัญยังมีราคาถูกอีกด้วย   ประโยชน์อีกประการของการคลุกเคล้าขุยมะพร้าวลงในแปลงปลูก  คือ  ช่วยลดการพังทลายของขอบแปลงปลูกได้ดีมาก 
                นี่เป็นตัวอย่างของการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษาสาขาพืชศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร   เป็นการแก้ไขปัญหาแบบง่าย ๆ แต่ได้ผลดี  หลักการแก้ไขปัญหา  คือต้องทราบก่อนว่าอะไรคือปัญหา   เมื่อทราบตัวปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไขกันทีละประเด็น   ในคราวหน้าสาขาพืชศาสตร์จะมาแนะนำวิธีการปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้างให้ได้ผลผลิตดีมาฝากกัน


 อ.ประสาทพร  กออวยชัยและนักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 4083เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2005 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท