ขั้นตอนการวิจัย


ขั้นตอนการวิจัย

ขั้นตอนในการวิจัย  

ในการวิจัยแต่ละประเภท อาจมีขั้นตอนแตกต่างไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนในการวิจัยซึ่งไม่ได้หมายคลุมไปถึงว่าการวิจัยทุกประเภท ต้องมีขั้นตอนตามที่จะกล่าว ต่อไปนี้ ทุกประการ

1. เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะ วิจัยออกมา

2. การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนดขอบเขตของ ปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการกำหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้

2.1   วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม

2.2   รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การแปลผลการวิจัย

2.3   มองเห็นภาพอย่างแจ่มชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง

3.  การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้

1)      ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย

2)      ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)

3)      ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)

4)      ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล

5)      ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง

6)      ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

7)      ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย

4. การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป

5. การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัย อย่างมี ระบบ ควร จะ ประกอบด้วย

1)      ชื่องานวิจัย

2)      ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา

3)      วัตถุประสงค์

4)      ขอบเขตของการวิจัย

5)      ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย

6)      คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)

7)      สมมุติฐาน (ถ้ามี)

8)      วิธีดำเนินการวิจัย

9)      รูปแบบของงานวิจัย

10)  การสุ่มตัวอย่าง

11)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

12)  การวิเคราะห์ข้อมูล

13)  แผนการทำงาน

14)  งบประมาณ

6. การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการสร้างและนำเครื่องมือนั้นไป ทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานเหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ก็อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ถ้าสงสัยในเรื่องคุณภาพของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑ์ก็นำมาใช้เก็บรวบ รวมข้อมูลได้ (การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป)

7. ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือ สุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือทุติยภูมิ (Secondary Source)

วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่

1)      การใช้แบบทดสอบ

2)      การใช้แบบวัดเจตคติ

3)      การส่งแบบสอบถาม

4)      การสัมภาษณ์

5)      การสังเกต

6)      การใช้เทคนิคสังคมมิติ

7)      การทดลอง

การจัดกระทำข้อมูล (Data Processing) การจัดกระทำข้อมูลเป็นวิธีการดำเนินการอย่างมีระบบตามลำดับขั้น กับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย

หมายเลขบันทึก: 408220เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กล่าวถึงงานวิจัยนี่ทั้งรัก ทั้งชัง ทั้งหวาน ทั้งขมขื่นจริงๆ อ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่ได้ลงมือสักที อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท