สรุปสถานการณ์ยาเสพติด ปี 2554


แบบสรุปสถานการณ์ยาเสพติด ประจำปี 2554

จัดทำโดยคณะอนุกรรมการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ (รั้วสังคม)

1. สภาพทั่วไป

จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดที่ ตั้งอยู่ทางใต้ของภาคเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตทางด้าน ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัด แพร่ และน่าน ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดย มีเขตแนวพรมแดน 120  กิโลเมตร ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย

จังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 7,838,592   ตารางกิโลเมตร  แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 613 หมู่บ้าน มีประชากรรวมจำนวนทั้งสิ้น  462,770 คน (ข้อมูลจากสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 16 กันยายน 2553)

ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่เพื่อประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม จำนวนประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดอุตรดิตถ์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์  คือลางสาด  โดยเป็นจังหวัดที่มีการปลูกลางสาดมากที่สุดในประเทศ อาชีพรองลงมาคือการประกอบการอุตสาหกรรม การประมง และการพาณิชย์  ประกอบกับพื้นที่เกษตรกรรมบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์จะใช้เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก เนื่องจากมีการตั้งโรงงานน้ำตาลในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง โรงงานผลิตไวน์ลางสาด โรงงานผลิตเส้นหมี่ และโรงงานถลุงแร่ขนาดเล็ก เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน

ส่วนด้านการศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาของเยาวชนเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การศึกษาระดับปฐมวัยจนถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา

การที่จังหวัดอุตรดิตถ์มีพรมแดนติดต่อกับเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านอำเภอบ้านโคก และน้ำปาด ดังนั้นในปี  พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรี จึงมีมติยกระดับ ช่องภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก เป็นด่านชายแดนสากล ทำให้การเดินทางผ่านแดน เข้าออกสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น  ณ ที่ทำการด่าน ตามระเบียบของกระทรวงต่างประเทศ โดยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศสาธารณรับประชาธิปไตยประชาชนลาว  ทำให้ประชาชนจากประเทศไทยมีการเดินทางเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางสั้นที่สุดจากประเทศไทยไปหลวงพระบาง โดยในอนาคตเส้นทางนี้จะถูกพัฒนาเป็นถนนระหว่างประเทศระดับมาตรฐาน รวมระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง

  การที่ประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศที่เป็นไปอย่างสะดวกสบายตามที่กล่าวข้างต้น  จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก

2.สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากมีขบวนการค้ายาเสพติดใหม่ การขยายตัวของยาเสพติดของกลุ่มตัวยาใหม่ รวมทั้งปัจจัยเงื่อนไขจากปัญหาพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการขยายตัวของปัญหา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง (Heartland) ซึ่งมีสถานบริการ สถานบันเทิง ร้านเกมส์ ร้านอินเตอร์เน็ต หอพัก/ที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งมั่วสุมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งอาชญากรรมอื่นๆ ได้ โดยมีสถานการณ์ยาเสพติดด้านต่างๆ ดังนี้

- ด้านการผลิต การลำเลียงและนำเข้ายาเสพติด มีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะยาบ้าและยาเสพติดอื่นๆ ทั่วพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ตอนในของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีแนวโน้มการนำเข้ายาเสพติดจากประเทศลาวมากขึ้น รวมทั้งมีข้อมูลการจับกุมผู้ต้องหาชาวลาวพร้อมของกลาง

- ด้านการแพร่ระบาด สถิติการแพร่ระบาดสูงในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอลับแล ปัจจุบันความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด ร้อยละ 60 สามารถซื้อยาเสพติดได้ง่าย ส่วนใหญ่ยังคงเป็นยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชา(แห้ง) และสารระเหยเพียงเล็กน้อย โดยราคายา ณ เดือน พฤษภาคม 2553 ยาบ้าราคาเม็ดละ 250-300 บาท กัญชาแห้งราคา 4,000 บาท ต่อกิโลกรัม  กลุ่มอาชีพที่มีการใช้ยา/สารเสพติด คืออาชีพรับจ้าง เกษตรกรรมและกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ตามหอพัก และกลุ่มผู้ใช้แรงงานตามลำดับ โดยกลุ่มผู้ใช้ยาเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุ 19-23 ปี การค้ายาเสพติด จะทำกันโดยติดต่อผ่านคนที่รู้จักหรือเครือข่ายผู้ค้า/ผู้เสพยาเสพติดด้วยกัน แนวโน้มการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชน

- ด้านคดีการจับกุมในรอบปี 2553 ให้ใช้ข้อมูลจาก ตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์

- ปัญหาด้านคดีเด็กและเยาวชน ปัจจุบันมีปัญหาคดีเด็กและเยาวชนทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายกันเพิ่มมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง โดยสาเหตุจากการแย่งผู้ชาย หรือการปล้นทรัพย์สินของเด็กและเยาวชน เช่นโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ โดยมักเกิดปัญหาเมื่อมีการจัดงานวัด งานทำบุญ งานอุปสมบท ฯลฯ ในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้เด็กและเยาวชนที่เป็นผู้กระทำความผิดและถูกดำเนินคดีต้องเสียอนาคตได้

 

3. การประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในรอบ 6 เดือนแรก

3.1 แนวรุกการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน (อำเภอบ้านโคก/อำเภอน้ำปาด) น่าจะเพิ่มมากขึ้น

3.2 สถานการณ์ปัญหายาเสพติด น่าจะมีการขยายตัวมากกว่าในรอบ 6 เดือนแรก ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติอย่างรุนแรง (อุทกภัย) รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดนำไปใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ทำให้มีผลกระทบกับแผนงาน/งบประมาณ ในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวม

3.3 ปริมาณของกลางยาบ้าในพื้นที่ เพิ่มขึ้น ตัวยาได้แก่ ยาบ้า สาระเหย   และกัญชา 

3.4 กลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักเที่ยวกลางคืน รับจ้าง เกษตรกร  อายุระหว่าง 15-25 ปี มีอัตราเสี่ยงกระทำความผิดคดียาเสพติดสูง

4. แนวทางการดำเนินงาน/กิจกรรมสำคัญ

4.1 จัดการอบรมสัมมนาให้ความรู้และเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากรของชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการระดับจังหวัด/อำเภอ

4.2 จัดกิจกรรมเน้นการออกตรวจจัดระเบียบสังคมในพื้นที่อำเภอ/พื้นที่เป้าหมายเน้นหนัก อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

4.3 จัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นการจัดระเบียบสังคมให้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรม ชัดเจนมากขึ้น

4.4 เน้นการสนับสนุนและส่งเสริม กิจกรรมของกลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายภาคประชาชน ที่มีการดำเนินกิจกรรมเชิงบวก ที่มีผลงานเชิงคุณภาพ  อาทิ กลุ่มคนรักษ์ห้วยผาลาด โรงเรียนอุตรดิตถ์  กิจกรรมภานักเรียนทั้ง 9 อำเภอ ฯลฯ

4.5 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการและบริหารจัดการ คณะทำงานด้านการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ (รั้วสังคม) อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  เน้นการจัดโครงสร้างการดำเนินกิจกรรมจัดระเบียบสังคมในระดับอำเภอ/จังหวัด และการจัดทำฐานข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและมีการปรับแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา

5. ข้อเสนอแนะแนวทางและจุดเน้น

                1. เน้นการจัดระเบียบสังคมต่อพื้นที่/บุคคล /สถานที่  เป้าหมาย ที่อยู่ใกล้สถานศึกษา

2.เน้นการจัดระเบียบชุมชนเขตเมืองที่ปรากฏข่าวสารการแพร่ระบาดยาเสพติด

3.ส่งเสริมให้องค์กรภาคธุรกิจ เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้กับ  

   สังคม

                4.สนับสนุนให้หน่วยงานและองค์กรให้ดำเนินกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับความ

                 ต้องการวัฒนธรรมและวิถีชีวิต

                5.เห็นควร อปท. บรรจุกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างปัจจัยบวกหรือพื้นที่บวกเพิ่มขึ้นใน

                 แผนประจำปี

คำสำคัญ (Tags): #ปกครอง
หมายเลขบันทึก: 408061เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 05:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท