โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

malignant bowel obstruction ตอนที่ 2 "เรื่องคาใจ"


วันนี้เป็นว้นที่ 2 ที่ผมไปเยี่ยมคุณป้าในตอนที่แล้ว "ป้ารู้สึกโดดเดี่ยว (ท่ามกลางครอบครัว)" วันนี้อาการดีขึ้นมาก ไม่ปวดไมอาเจียนยาที่ผมให้ในผู้ป่วยรายนี้ใช้ morphine แค่ 2 dose ผมให้ hyoscine 1 amp iv(ลด bowel secretion)+dexa 5 mg iv (หลังผลลด tumor edema and luminal obstruction)+morphine prn สีหน้าคนไข้ดีขึ้นมาก ผมทบทวนที่คุยกันเมื่อวานเรื่องจิตใจ

ผม- วันนี้จิตใจเป็นยังไงบ้าง

ป้า- ก็ยังมีเหงาๆ อยู่ แต่รู้สึกว่าใจมีช่วงสว่างมากขึ้น

ผม-ใจดี กายก็จะทรมานน้อยลงด้วยครับ

ป้า-เหงาๆ แต่ไม่กลัวตายแล้ว นะหมอ

ผม-บางครั้งการเดินบนเส้นทางนี้คนเดียวก็อดหวั่นใจไม่ได้ครับ...ป้ามาถูกทางแล้วครับ ใจเริ่มนิ่ง สติเริ่มไว ก็เห็นความจริงในใจมากขึ้น...

ป้า-อาการป้าจะแย่ลงกว่านี้ไหม?

ผม-ก็อาจเป็นได้ทั้งดีขึ้น หรือแย่ลงครับ...แต่จากที่ดูตอนนี้ น่าจะยังไม่แย่ลง ผมคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะลองทบทวนว่า อะไรที่ยังติดค้างในใจหรือยังห่วงกังวล

ป้า-มีอยู่เรื่องหนึ่งหมอ..ป้าเป็นคนที่ทำอาหารให้คนในครอบครัวกิน และทุกคนกินข้าวพร้อมกัน...ช่วงนี้รู้สึกบรรยากาศนั้นหายไป

ผม-แล้วป้ารู้สึกยังไง

ป้า-ห่วงว่าถ้าป้าไม่อยู่แล้วลูก ๆ จะไม่รักสามัคคีกัน

ตอนที่คุยกันลูกชายและลูกสะใภ้นั่งอยู่...ผมรู้ได้เลยว่านี่คงเป็นเรื่องที่คาใจป้าอยู่

ผม- เพราะอะไรป้าถึงคิดว่า การไม่กินข้าวด้วยกันแปลว่า พี่น้องจะไม่สามามัคคีกัน

ป้า-ตั้งแต่เล็กก่อนแต่งงาน มีพี่น้อง 10 คนรักใคร่กัน พอมารักกับปา (สามีคนไข้) กินข้าวด้วยกันมาตลอด พอสุดท้ายป้าป่วยลูกหลายกลับแยกกันกิน

ผม- ดูป้าจะห่วงเรื่องนี้มาก

ป้า-ก็ห่วงนะ

ผม- ป้าคุยกับลูก ๆ ยังไง

ป้า- คุยกันแล้วและ ลูกๆ ก็ว่าไม่มีอะไร

ผม- ผมเชื่อว่าลูกๆ ก็พยายามอย่างดีนะครับ ลูกชายก็ดูแลคุณแม่,ลูกสาวก็ช่วยดูร้าน..

ป้า- ป้าก็รู้ว่าเขาก็พยายามเต็มที่...แต่ความห่วงก็ยังมี

ผม- การปลดห่วงไม่ใช่เรื่องง่าย...แต่ผมเชื่อว่าป้าน่าจะผ่านไปได้ครับ

ป้า (ยิ้ม)- ขอบคุณที่หมอรับฟังคะ

หลังจากคุยกันจบผมถามลูกชายว่า ประเด็นที่แม่ห่วง จริงๆ แล้วมีความขัดแย้งจริงไหมครับ ลูกชายบอกว่าก็ไม่ได้ขัดแย้ง แต่แม่คงคิดมาก

ผมบอกลูกชายว่า เรื่องที่แม่ห่วง ลูกๆ อาจจะดูว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง ปรับจุดที่ปรับได้..ลูกชายรับปาก

เรียนรู้: การรับฟัง การสะท้อนความรู้สึก และ ปรับมุงมองในเรื่องเดียวกันในมุมบวกช่วยได้มาก ความขัดแย้งในใจ และในครอบครัว อาจจะไม่ได้แก้ไขได้ง่ายๆ หากแต่ การจับประเด็นและส่งสเริมให้เกิดการแสดงความรู้สึกจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่ดีในครอบครัวได้

คนไข้รายนี้มีค่านิยมเรื่องการกินเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ซึ่งในยุกต์ปัจจุบันลูกหลานคิดต่างออกไป ผมให้วิธีพูดคุยให้คนไข้ได้เห็นว่า มีหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้พี่น้อยห่างกัน

เจอกันตอนหน้าครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 408015เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มาติดตามอ่าน.. ประสบการณ์ดูผู้ป่วยพี่โรจน์

เข้าถึงผู้ป่วยจริงๆ นับถือคะ

พี่โรจน์เคยใช้ Ranitidine IV ลด bowel secretion ไหมคะ ได้ผลไหมหนอ ( นึกถึง อ.David Currow )

ฝากประชาสัมพันธ์ การประชุมเครือข่าย Palliative care ในโรงเรียนแพทย์คะ พี่โรจน์ได้รับจดหมายเชิญไหมคะ

http://portal.in.th/suandokpal/events/589/

ปล. ครั้งนี้ ม.ช. เป็นเจ้าภาพคะ 2-3 ธันวาคม

ยังไม่ได้ลองนะ แต่ review ranitidine ใน MBO ไม่เห็นมีเลยยังไม่ได้ใช้อะ สบายดีนะแต้

นำภาพหาดแม่รำพึงที่ไปเยือนเมื่อวันก่อนมาฝากครับ

หวัดดีครับ

พี่ศุภรักษ์...เทพเทือกหรือเปล่าครับพี่ อิอิ

อาจารย์โสภณ...ขอบคุณสำหรับรูปสวนๆ ครับ

เขียนดีมากค่ะ  ตามอ่านหลายตอน  ขอบคุณบทความดีๆจากอาจารย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท