ดีจังเลย "ตลาดกรุงเทพฯ "


"ผักกึ่งสำเร็จรูป" , "ฟักทองที่หั่นชิ้นนี้นะ จะต้องนำไปแกงกับไก่" "หมูที่หั่นชิ้นนี้นะ จะต้องไปตากทำหมูแดดเดียว" "ปลาชิ้นนี้นะ จะต้องนำไปผัดเผ็ดปลาดุก" ,มูลค่าเพิ่ม" แน่นอนครับ เมื่อสินค้ามันดีขึ้น "ราคา" ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย

กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ผมเดินทางเข้าไปประชุมที่กรุงเทพฯ และได้ไปนอนพักที่บ้านย่าครับ

พอถึงเวลาตีหนึ่งเศษ ๆ พี่สาวผมก็ได้ชวนออกไปซื้อกับข้าวที่ตลาดครับ เพื่อที่จะนำมาประกอบอาหารไว้ขายในช่วงเช้า

ก่อนที่จะออกไปก็งง ๆ นิด ๆ ครับ ว่าทำไมต้องไปซื้อตอนตี 1 ครับ เพราะถ้าเป็นบ้านนอกของผม ตีหนึ่งไปตลาดนี่ คงจะเจอแต่แผงกับเสาครับ

แต่พอเมื่อไปถึงตลาดแห่งหนึ่ง ก็เห็นคนจ้อกแจ้กจอแจพลุกพล่านมาก ๆ เลย และสิ่งมองดูถึงสิ่งที่แม่ค้านำมาขายนั้น

"โอ้โห ทำไมเขาขายของกันแบบนี้"

สิ่งที่พบ สินค้าต่าง ๆ ที่ขายในตลาดสดแห่งนั้น มีลักษณะบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไปจากตลาดที่ผมเคยพบตามจังหวัดครับ

นั่นก็เพราะว่า สินค้าที่แม่ค้าพ่อค้านำมาวางแผขายนั้น ไม่ว่าจะเป็นผัก ของสด หรือเสื้อสัตว์ แต่ละอย่างมีลักษณะที่เรียกได้ว่า "ผักกึ่งสำเร็จรูป" ก็คล้าย ๆ กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปน่ะครับ ก็คือเติมน้ำแล้วก็ทานได้เลย  เพราะผักหรือเนื้อสัตว์ที่ผมเห็นนั้น เอาไปผัดก็ทานได้เลยเหมือนกัน

พ่อค้าแม่ค้าจะทำการหั่นผัก หั่นเนื้อ หั่นหมู หั่นปลา ไว้อย่างสวยสดงดงามซึ่งมองเห็นปุ๊บก็จะรู้ได้ปั๊บว่า "ฟักทองที่หั่นชิ้นนี้นะ จะต้องนำไปแกงกับไก่" "หมูที่หั่นชิ้นนี้นะ จะต้องไปตากทำหมูแดดเดียว" "ปลาชิ้นนี้นะ จะต้องนำไปผัดเผ็ดปลาดุก" ประมาณนี้

หลาย ๆ คนก็คงจะชินกันสิ่งที่เห็นเหล่านั้นครับ แต่ผมในฐานะ "คนบ้านนอก" ที่นาน  ๆจะเข้ากรุงเทพฯ ที "งงไปเลยครับ" ว่าทำไมคนกรุงเทพฯ สบายจัง

ถ้าเป็นบ้านผมนะ มะเขือก็ยังเป็นลูกๆ ปลาก็ยังดิ้นกระแด่ว ๆ ไก่ก็เป็นตัว ๆ แต่มากรุงเทพฯ คืนนี้ ขนาดพริกขี้หนู เขายังซอยไว้ให้เสร็จเรียบร้อยเลย กลับไปถึงเติมน้ำปลาบีบมะนาวก็ใช้ได้เลย (ดีนะเขาไม่หั่นมะนาวไว้ให้ด้วย) ถ้าเป็นแบบนี้พ่อครัวจำเป็นอย่างผม สบายเลยครับเพราะไม่ว่าจะเป็นพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า ฟักทอง บวบ สายบัว หมู เห็ด เป็ดไก่ กึ่งสำเร็จรูปหมดเลยครับ 

"ซื้อไปแล้วแกะถุงเสร็จล้างน้ำลงกะทะได้เลย"

แหม พ่อค้าแม่ค้าทำแบบนี้ ลูกค้าก็ติดกันงอมแงมเลยสิครับ เพราะใช้เทคนิคทางการตลาดกันซะเพียบเชียว

อาจจะเป็นไปได้ว่าชีวิตที่เร่งรีบของชาวกรุงฯ หรือความต้องการความสะดวกสบายของผู้บริโภค

ในอีกแง่หนึ่งก็คือ "การแข่งขัน" ระหว่างพ่อค้าแม่ค้า จากเดิมที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ผู้ขายปลึก รับผัก รับเนื้อมาขาย ก็กลายปรับเปลี่ยนมาเป็น ผู้ผลิต ผู้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าต่าง ๆ

"มูลค่าเพิ่ม" แน่นอนครับ เมื่อสินค้ามันดีขึ้น "ราคา" ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย

จากเดิมอาจจะซื้อผัก 10 บาท ก็จะกลายเป็น 12 หรือ 14 บาท

2 บาท 3 บาท อาจจะดูว่าน้อยครับ แต่ถ้ารวม ๆ กัน ซื้อกันหลาย ๆ วัน หลาย ๆ อย่าง

ความสะดวกกับความประหยัดมักสวนทางการเสมอครับ


เอ๋! ถ้าพ่อค้าแม่ค้าที่บ้านของผมมาเห็นเข้า เขาเอาไปทำบ้างไหมครับเนี่ย

ถ้าเอาไปทำล่ะดีแน่ ๆ เลย สร้างความสะดวกสบายให้กับพวกผม พวกผมจะได้เสียเงินกันมากขึ้น แต่ก็ไม่เป็นไรครับ พวกเรามีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อุดหนุนพ่อค้าแม่ค้า จะได้กระตุ้นเศรษฐกิจ เราเป็นหนี้หัวโตไม่เป็นไรหรอกครับ ประเทศจะได้มี GDP เยอะ ๆ พวกเราชินกับการเป็นหนี้อยู่แล้วครับ จะเป็นหนี้เพิ่มอีกนิดหน่อยจะเป็นไรไป เพราะเขาสร้างพวกเรามาเป็นผู้บริโภคตอบสนองความเจริญเติบโตของธุรกิจและพ่อค้าอยู่แล้วครับ?

หรือว่าท่านอื่นมีความคิดเห็นว่าอย่างไรครับ........

 

หมายเลขบันทึก: 40774เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

   ไลว่านะอาจารย์ นอกจากที่เราจะต้องซื้อของที่แพงมากขึ้นแล้ว มันยังเป็นตัวทำให้คนเราสบายเกินเหตุ มันอาจจะส่งผลในระยะยาวได้ อย่างเช่นว่า ทำอะไรก็อยากให้มันสบายๆ อย่างเช่นการทำงานเหมือนกันคือทำแบบ "สุกเอาเผากิน" ถ้าทำงานวิจัยก็อย่างเป็นปัญหาใหญ่ อย่างเช่นอาจารย์บอกว่า "การทำไร่เลื่อยลอยของชาวเขา ก็เหมือนกับนักนักวิชาการก็ทำไร่เลื่อนลอยเหมือนกัน งานวิจัยเลื่อนลอย!

เอะ! มันเกี่ยวกันไหมเนี่ย!

เป็นอีกมุมมองนะคะ ไม่เคยนึกสังเกตุเลยอย่างที่อาจารย์ว่าเลย นึกแล้วก็คิดถึงตลาดสดเมืองไทยจัง

กิจกรรมและสภาพทางสังคมต่างกันมากเลยใช่ไหมครับอาจารย์...ระหว่างเมืองกรุงกับต่างจังหวัด

  • รูปแบบชีวิตของชาวเมืองกรุงเขา คงต้องการลักษณะการบริการแบบนั้น

นั่นแน่...แสดงว่าไม่เคยหนีไปเที่ยวตอนกลางคืนละซิครับ... ก็ตลาดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ช่วงเวลาตีสอง (ช่วงเวลาที่ผับ-เทคปิดบริการ) คนส่งผักส่งปลาขยันทำงานกันแล้วครับ

ปล. อาจาย์เป็นคนดีครับ...ส่วนการเที่ยวกลางคืนจนร้านปิด ทำให้เสียสุขภาพอย่างมาก (แม้ว่าจะได้เห็นสภาพการทำมาหากินของชุมชนชาวตลาดสดก็ตามที) 

ขอบคุณทั้งสามท่านมาก ๆ เลยครับ

ผมเคยแต่หนีไปซื้อไก่ทอดตอนตี 1 ที่ตลาดสดเทศบาลครับ (อร่อยมาก ๆ เลยครับ)

ผมไปเจออะไรแปลกหูแปลกตาตามภาษาต่างจังหวัดก็จะมานำเรียนให้ทุก ๆ ท่านทราบเรื่อย ๆ ครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับคุณนันทิกา

ตลาดเมืองไทยเดี๋ยวนี้พัฒนาไปเยอะมาก ๆ เลยครับ

จนคนไทยเกือบเป็น "ง่อย" กันหมดแล้วครับ

นั่นสิเน๊อะน้องพิไล

ดังนั้นเวลาเรียนเราก็ต้องทำอะไรแบบยาก ๆ

ต้องใช้เวลาเรียนเยอะ ๆ

ถ้าอย่างงั้นพิไลต้องเรียนสัก 3 ปีก่อนเน๊อะ ถึงจะดี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท