ฮูโต๋
นาย อภิชาต ฮูโต๋ อำมาตย์มณี

กศน.ภูซาง จัดเวทีชาวบ้าน ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1


นกต้องมีขน คนต้องมีพวก

       เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 กศน.อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา โดยการนำของ นางวิลาวัลย์ ไชยมงคล ผอ.กศน.ภูซาง และคณะครู ร่วมกับ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดย อ.วิลาสลักษณ์ ว่องไว ร่วมจัดทำเวทีชาวบ้าน เกษตรกรกลุ่มปลูกอ้อย บ้านสบบง หมู่ที่ 2 ตำบลสบบง อำเภอภูซาง เพื่อหาแนวทางในการจัดทำการทดลองปลูกอ้อยสายพันธุ์ใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกร รวมถึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มปลูกอ้อย ในการที่จะยกระดับคุณภาพผลผลิตของน้ำอ้อยให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นตลอดจนส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำอ้อยเพื่อรองรับการจัด "งานเทศกาลของดีตำบลสบบง" ประจำปี 2554 โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษา

    

    

      โดยการจัดทำเวทีในครั้งนี้ได้มีการคัดเลือกเจ้าของแปลงปลูกอ้อยเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 ราย เพื่อทำการทดลองปลูกอ้อยเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพของอ้อยแต่ละพันธุ์ ในการปลูกจะใช้พื้นที่ในการปลูกรายละ 6 งาน โดยแยกออกเป็น

              1. ปลุกอ้อยพันธุ์พื้นบ้าน                      จำนวน 2 งาน

              2. ปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50              จำนวน 2 งาน

              3. ปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 72              จำนวน 2 งาน

    

                                        อ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50

      ประวัติอ้อยคั้นน้ำ พันธุ์สุพรรณบุรี 50

           เป็นพันธุ์อ้อยคั้นน้ำซึ่งได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์เอสพี 074 ได้ผ่านการทดสอบในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย รับรองพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร และได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสภาวิจัยแห่งชาติ

       ลักษณะเด่น

      1.ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 4,913 ลิตรต่อไร่

      2.น้ำอ้อยสดมีความหวาน 16 บริกซ์ สีเหลืองงอมเขียว รสชาติหวานหอม

      3.แตกกอดี เจริญเติบโตเร็ว ให้จำนวนลำต่อไร่เฉลี่ย 12,198 ลำ

      4.สามารถไว้ตอได้ดี ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต

                                        อ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 72

      ประวัติอ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72

           เป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์เมอริชาด ซึ่งไดผ่านการคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีและประเมินผลที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ สถานีทดลองพืชไร่ ตลอดจนในไร่เกษตรกรจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึง พ.ศ.2546

           อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 ให้ผลผลิตเนื้ออ้อยควั่นสูงกว่าพันธุ์ดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่คือพันธุ์เมอริชาดในทุกสภาพแวดล้อม และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี

       ลักษณะเด่น

       1.ให้ผลผลิตเนื้ออ้อยควั่นสุทธิ 6.3 ตันต่อไร่

       2.ให้ค่าความหวานสูง 19.3 บริกซ์

       3.แตกกอดี ให้จำนวนลำต่อไร่สูงประมาณ 13,000 ลำต่อไร่

       4.สามารถไว้ตอได้ดี ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี

       5.อ้อยควั่นมีรสชาติหวาน กรอบ

       6.น้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวานหอม คุณภาพดีเช่นเดียวกับอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50

คำสำคัญ (Tags): #กศน.ภูซาง
หมายเลขบันทึก: 407734เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท