ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติงาน


ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔

           วันอังคารที่  ๙  พฤศจิกายน  ๒๕๕๓ ได้เข้าร่วมการประชุม เรื่อง "การจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔  โดยมี  ผอ.นงลักษณ์  ภู่สุวรรณ  และอาจารย์ฐิฎา  ทองเจริญ  เป็นวิทยากร  สถานที่ ห้องสมุดประชาชนอำเภออุทัย บุคลากรทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นสรุปได้ดังต่อไปนี้

จุดแข็ง

  • บุคลากรมีความสามัคคีในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม
  • มีสื่อที่หลากหลาย เพียงพอต่อความต้องการของผู้รับบริการ
  • สถานศึกษาตั้งอยู่ในชุมชนสะดวกต่อการเดินทางมารับบริการ
  • วัสดุ/อุปกรณ์เพียงพอต่อการทำงาน
  • การประสานจัดกิจกรรมกับภาคีเครือข่ายได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • การบริการประชาชนมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง
  • สถานที่สะอาดร่มรื่น มีความปลอดภัย
  • บุคลากรยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มใจให้บริการ
  • มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเป็นที่ยอมรับของชุมชนสังคม

จุดอ่อน

  • บุคลากรไม่นำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ออกมาใช้อย่างเต็มที่
  • การใช้ วัสดุ/อุปกรณ์ ในการทำงานฟุ่มเฟือยไม่ประหยัดและไม่คุ้มค่ากับการทำงาน
  • การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
  • บุคลากรบางคนขาดความใส่ใจเรื่อง การพัฒนาด้าน IT
  • การปฏิบัติงานหลานด้านทำให้งานออกมาล่าช้าไม่ทันกำหนดเวลา
  • บุคลากรขาดความรู้ด้าน การผลิตสื่อการเรียนการสอน
  • ขาดความมั่นใจการพูดในที่ชุมชน
  • ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการนิเทศติดตาม กำกับดูแลในพื้นที่ ทำให้การนิเทศติดตามขาดความคล่องตัว
  • ไม่มีโต๊ะทำงานของตนเอง
  • บุคลากรขาดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน

โอกาส

  • ประชาขนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
  • เครือข่ายให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรอย่างเต็มที่
  • มีการติดต่อประสานงานในระดับอำเภอ และผู้นำท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องทำให้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในการทำงานเป็นอย่างดี
  • ได้รับจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอต่อการทำงาน
  • กิจกรรมมีความหลากหลายเข้าถึงความต้องการของชุมชน
  • ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดเป็นอย่างดี
  • ประชาชนและชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  • มีสถานีวิทยุชุมชน ให้การสนับสนุนเผยแพร่ข่าวสาร

อุปสรรค

  •  อำเภออุทัยเป็นเขตชุมชน ๒ สังคม อันประกอบด้วย สังคมอุตสาหกรรมและสังคมเกษตรกรรมทำให้เกิดความแตกต่างในด้านความต้องการของกิจกรรม กศน.
  • ประชาชนลืมหนังสือ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก
  • การสำรวจข้อมูลต่างๆ ทำได้ยาก เนื่องจากมีประชากรแฝงจำนวนมาก
  • ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ มีงานทำ ไม่เวลาเรียนหรือการเข้าร่วมกิจกรรม
  • นโยบาย กศน.เปลี่ยนบ่อย
  • สังคม มองว่า ผู้เรียน กศน.ไม่มีคุณภาพ

วิสัยทัศน์

           จัดการศึกษาตลอดชีวิตที่ใมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าประสงค์

  • ประชาชนอำเภออุทัยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงครอบคลุมและเป็นธรรม
  • ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างต่อเนื่อง
  • มีแหล่งเรียนรู้อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • สถานศึกษามีการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชน
  • สถานศึกษามีระบบการบริการจัดการแบบ  one stop service

  ตัวชี้วัด

  • ผู้รับบริการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย  ๒.๐๐ ขึ้นไป
  • ผู้รับบริการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • ผู้รับบริการมีคุณวุฒิทางการศึกษาสูงขึ้น
  • ผู้รับบริการมีความรู้ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้แต่ละหลักสูตรมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการของสถานศึกษา
  • ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  • มีแหล่งเรียนรู้ที่พร้อมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทุกตำบล
  • สถานศึกษานำเทคโลโลยีมาใช้บิหารจัดการงาน การศึกษานอกระบบ  และให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง
  • บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สถานศึกษามีการจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอสามารถนำมาใช้พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 407417เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท