ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

คำถามของคนคอน ต่อแผนพัฒนาภาคใต้ “ถ้าชุมชนไม่เห็นด้วย นิคมอุตสาหกรรมจะออกไปหรือเปล่า”


กรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ เซาร์เทิร์น ซีบอร์ด ภายใต้โครงการนี้จะมีสะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย ซึ่งการพัฒนาในที่นี้ หมายถึงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงถลุงเหล็ก ตามมาด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเขื่อนเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว
โดย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร  http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=541:seubnews&catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14
วันจันทร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2010 เวลา 11:23 น. webmaster seub

 

กรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ เซาร์เทิร์น ซีบอร์ด  ภายใต้โครงการนี้จะมีสะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย ซึ่งการพัฒนาในที่นี้ หมายถึงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี  โรงถลุงเหล็ก ตามมาด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเขื่อนเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว

และพื้นที่ที่จะเกิดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นตามแผนดังกล่าว และถูกเรียกขานว่าเป็น มาบตาพุด 2” นั้น คงจะหนีไม่พ้น จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้วยการครองแชมป์ถึง 22 โครงการ ที่จะเกิดขึ้นใน 3 อำเภอหลักๆ คือ อำเภอสิชล อำเภอขนอม และอำเภอท่าศาลา  

โครงการ ที่จะเกิดในจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรม  โรงไฟฟ้นิวเคลียร์  โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงงานไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนอม โรงไฟฟ้าชีวมวล การก่อสร้างท่าเรือของบริษัทเชฟรอน  การสำรวจขุดเจาะ และผลิต ปิโตรเลียมของ 3 บริษัทคือ บริษัทเชฟรอน กลุ่มบริษัทเพิร์ลออยในประเทศไทย  และกลุ่มบริษัทนิวคอสตอล (ประเทศไทย)

นอกจากนี้ ยังมีการขยายโครงการสาธารณูปโภคเพื่อรองรับอุตสาหหกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย การสร้างและขยายถนนที่เชื่อมโยงในพื้นที่ การสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงในพื้นที่  โครงการก่อสร้างเขื่อน 3 แห่ง และโครงการก่อสร้างฐานบินของบริษัทเชฟรอน

 

ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นภายในพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชแห่งเดียวเท่านั้น จากโครงการก่อสร้างดังกล่าวข้างต้น บางโครงการได้เริ่มดำเนินการแล้วในพื้นที่ ซึ่งการเข้ามาของโครงการเหล่านี้ สร้างปัญหาต่างๆเป็นอย่างมากให้กับชุมชน

และระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน 3 อำเภอหลักๆ ที่จะเกิดโครงการพัฒนาต่างๆ ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น     

นางจารึก ผู้ใหญ่บ้านบ้านนาเม่า  ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช  ในฐานะตัวแทนชาวบ้านได้เล่าให้คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ถึงการก่อสร้างโรงงานของ บริษัท เอส พี โอ อะโกรอินดรัสตี้  ซึ่งเป็นโรงงานที่สร้างเพื่อสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ ซึ่งโรงงานดังกล่าว สร้างในพื้นที่ซึ่งเป็นทางระบายน้ำของหมู่บ้าน ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้น เนื่องจากน้ำระบายไม่ทัน และที่สำคัญคือ ชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยรู้ข้อมูลการก่อสร้างโรงงานเลย ทั้งนี้ ข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ แจ้งว่า ทางอุตสาหกรรมจังหวัดได้มีคำสั่งให้โรงงานดังกล่าวหยุดดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งภายในที่เป็นอาคารได้หยุดดำเนินการก่อสร้างจริง แต่ด้านนอกยังมีการปรับพื้นโดยรอบ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลแผนพัฒนาภาคใต้ ตำบลทุ่งปรังนั้นจะเป็นพื้นที่สร้างนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย โรงงานอุตสาหกรรมประมาณ  6 แห่ง  ดังนั้น นี่จึงเป็นบทแรกของปัญหา   จากอำเภอสิชล ไปถึงบ้านตะเคียนดำ ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา ที่นี่จะเป็นพื้นที่ก่อสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ที่บ้านตะเคียนดำ ยังไม่มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมชัดเจน เพราะโครงการอยู่ในขั้นการเตรียมการ
แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความหวาดระแวงของชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านไม่เคยรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงจากหน่วยงานเจ้าของโครงการว่าจะเกิดอะไรขึ้นกันแน่ที่บ้านของเขา

ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น จึงมีแต่ข่าวลือ ทั้งการกว้านซื้อที่ดิน  การหลอกให้ชาวบ้านลงชื่อเพื่อเป็นการรับทราบข้อมูล ทั้งๆที่ไม่มีการให้ข้อมูล เป็นต้นนี่เป็นคำบอกเล่าจากชาวบ้าน ที่อยู่กับความหวาดระแวง เพราะไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร

ดังนั้น คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลที่เป็นจริง เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทเชฟรอน ปตท. กรมชลประทาน  ฯลฯ  โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ  เป็นประธานในที่ประชุม ณ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

จากการตอบข้อซักถามของชาวบ้าน และการให้ข้อมูลของหน่วยงานดังกล่าว เกือบตลอดทั้งวัน  ชาวบ้านยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนว่า  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชหรือไม่  การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ในขั้นตอนไหน  และ ฯลฯ

มีเพียงกรมชลประทาน ที่ตอบเสียงดังฟังชัดว่า  ขอยุติโครงการอ่างเก็บน้ำทั้งหลายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งอ่างเก็บน้ำคลองกลาย เขื่อนลาไม และเขื่อนท่าทน และยืนยันว่าไม่มีการตั้งงบประมาณไว้ในปี 2554-2555

เป็นคำตอบแรกที่ทำให้ชาวบ้านสบายใจ แต่ยังไม่น่าไว้วางใจ

แต่หน่วยงานที่เป็นจำเลยของชาวบ้านมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น บริษัท เชฟรอน ต่อข้อหาความไม่จริงใจต่อชุมชน การไม่เปิดเผยข้อมูล การข่มขู่ ชาวบ้าน

แม้ว่าในวันนั้น ผู้แทนจาก บริษัท เชฟรอนจะแก้ต่างอย่างไร ท่าทีของชาวบ้านยังไม่พอใจ และอยากได้ข้อมูลที่เป็นความจริง มากกว่านี้

แต่คำถามที่ติดใจผู้ร่วมฟังในวันนั้น และเชฟรอนยังไม่มีคำตอบคือ

ถ้าชาวบ้านไม่เห็นด้วย เชฟรอนจะออกไปจากชุมชนหรือไม่

เวทีการพูดให้ข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในวันนั้น  คงจะไปไม่ถึงการหยุดหรือระงับโครงการ

แต่เป็นการพูดคุยกันเพื่อเปิดเผยข้อมูล และข้อคับข้องใจของชาวบ้านตามสิทธิของพวกเขาว่าอะไรจะเกิดขึ้นที่บ้าน และหน่วยงานที่รับผิดชอบที่เหมือนแขกแปลกหน้าของชุมชน ควรจะเคารพในสิทธิของเจ้าของบ้าน และบอกทุกอย่างให้เจ้าของบ้านได้รับรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชุมชนของเขา

 

และนี้เป็นเพียงบทแรกของปัญหา แผนพัฒนาภาคใต้

 

หมายเลขบันทึก: 407214เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท