ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

แค่ขึ้นป้ายคัดค้านไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร ก็ต้องขึ้นโรงพัก...เพื่อใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ


โครงการพัฒนาของรัฐมักจะนำมาซึ่งความขัดแย้งของชุมชนตัวอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการที่อำเภอหัวไทร โดยอาศัยความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. เป็นต้น มีผู้ปกครองท้องถิ่นบางคนที่ทราบข้อมูลความ รุนแรงทางมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และร่วมต่อต้านโครงการร่วมกับชาวบ้าน ในขณะที่ผู้มีอำนาจบางคนก็ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่อโครงการ

แค่ขึ้นป้ายคัดค้านไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร

ก็ต้องขึ้นโรงพัก...เพื่อใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ

 โดย  สำนักสื่อชุมชน ชาวนคร ฉบับที่ 10
ตีพิมพ์ใน ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน ฉบับที่ ๘

        โครงการพัฒนาของรัฐมักจะนำมาซึ่งความขัดแย้งของชุมชนตัวอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการที่อำเภอหัวไทร โดยอาศัยความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. เป็นต้น  มีผู้ปกครองท้องถิ่นบางคนที่ทราบข้อมูลความ รุนแรงทางมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และร่วมต่อต้านโครงการร่วมกับชาวบ้าน ในขณะที่ผู้มีอำนาจบางคนก็ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่อโครงการ

         ความแตกต่างทางความคิดเช่นนี้ ส่งผลให้การใช้อำนาจที่อ้างถึงการรักษาความสงบของบ้านเมืองเป็นเครื่องมือในการทำลายชาวบ้านฝ่ายตรงข้าม อย่างกรณีของ นายประเสริฐ คงสงค์ กลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลุ่มน้ำปากพนังกับกำนันในตำบลแห่งหนึ่งของอำเภอหัวไทรคู่กรณีที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน ลุงเสริฐทำหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนให้พ้นจากการทำลายของกลุ่มทุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนกำนันทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกต่อเอกชนในฐานผู้นำท้องถิ่น

        กำนันคนดังกล่าวแจ้งความกล่าวหาลุงเสริฐว่า หมิ่นประมาท มูลเหตุมาจากลุงเสริฐเข้าไปปักป้ายต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สี่แยกหัวไทร แต่กำนันกลับห้ามไม่ให้มีการปักป้ายเพราะกลัวว่าจะสร้างความแตกแยกให้กับชุมชนแต่การกระทำของลุงเสริฐเป็นการแสดงออกตามสิทธิของรัฐธรรมนูญ เมื่อถูกคัดค้านและคุกคามสิทธิ ลุงเสริฐจึงปกป้องสิทธิของตนโดยการไปแจ้งบันทึกประจำวันกรณีที่มีความขัดแย้งกับกำนันที่โรงพัก เป็นมูลเหตุให้กำนันแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทต่อลุงเสริฐเช่นกันกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นกรณีพิพาทระหว่างชุมชนกับเจ้าของโครงการมาหลายพื้นที่ พื้นที่ล่าสุดคือ อำเภอหัวไทรเป้าหมายของการสร้างโรงไฟฟ้า

        ข้อมูลของฝ่ายชาวบ้านที่คัดค้านเห็นว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินจะนำมาซึ่งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบสุขภาพระยะยาว เช่น การปล่อยสารซัลเฟอร-์ไดออกไซต์ที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งส่งผลต่อพืชมีใบไหม้เพราะถูกทำลายสารคลอโรฟิลล์ การปล่อยน้ำเสียและความร้อนของโรงไฟฟ้าจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในทะเล สัตว์น้ำจะถูกทำลายแหล่งอาหาร อุณหภูมิของน้ำทำลายระบบนิเวศและการเติบโตของสัตว์น้ำ

       ชาวบ้านในนครศรีธรรมราชเคยเดินทางไปดูผลกระทบที่มาบตาพุด ระยองและที่แม่เมาะ ลำปาง พบว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบมากมายทั้งเรื่องสุขภาพและระบบนิเวศถูกทำลาย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีใครรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเจ้าของโครงการอาจารย์วิทยา อาภรณ์ อาจารย์สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กล่าวว่า “เรื่องถ่านหินที่บอกว่าเป็นพลังงานสะอาดนั้น ความจริงแล้วไม่มีอะไรสะอาดเพราะยังไงก็ปล่อยสารพิษออกมาส่งผลกระทบต่อประชาชน เรื่องการจะสร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้านั้นอยู่ที่กระบวนการทำให้ชาวบ้านรู้และให้รู้รอบด้าน ไม่ใช่ให้ข้อมูลหรือทำประชา

        สัมพันธ์เพียงด้านเดียว เหมือนชาวบ้านถูกกระทำให้ต้องยอมรับโครงการ และต้องยอมรับการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นโครงการไหน ชาวบ้านควรมีสิทธิบอกว่าไม่ชอบตามความคิดความรู้สึกของเขา เป็นสิทธิของเขาไม่ใช่มาฟ้องเขาต้องให้ชาวบ้านพูดมากที่สุดเพราะมันกระทบกับชาวบ้านโดยตรง”

        นายเจริญ มหาราช ชาวบ้านหมู่บ้านมะเนิน อำเภอเชียรใหญ่ กล่าวว่า“โครงการนี้เกิดขึ้นปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติมีแน่นอน ระบบนิเวศเปลี่ยนเพราะผลพวงจากการปล่อยของเสียจากโรงงานแล้วยังมีท่าเรือขนวัตถุดิบถ่านหินจากต่างประเทศอีก ท่าเรือส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสมบูรณ์ของทะเล คนที่มีอาชีพประมงชายฝั่งจะลำบากเพราะของทะเลหมดสิ้นแน่ ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะถูกผลกระทบต่อสารพิษที่เกิดจากน้ำเสียของโรงงาน โดยเฉพาะช่วงหน้าน้ำ คิดหรือว่าการเก็บน้ำเสียของโรงงานจะเอาอยู่ นอกจากนี้พื้นที่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเชียรใหญ่มีอาชีพทำนา ต่อไปต้องขาดน้ำทำนาเพราะโรงงานจะไปเอาน้ำจืดจากเขื่อนปากพนังมาใช้ เมื่อเป็นอย่างนี้น้ำทำนาจะพอใช้ไหม ประมงชายฝั่งจะเหลืออะไรมาทดแทน ที่ดินไม่มีหากินแต่ในทะเล จะเอาอะไรมาทดแทน พวกเขา ตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงงาน

        ผู้นำท้องถิ่นบางคนเห็นด้วย เช่น ผู้ใหญ่บ้านบางหมู่ก็ไม่เอา แกบอกเลยว่า บริษัทหรือคนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานมาประชุมชาวบ้านแกต้องถามก่อนว่าชาวบ้านต้องการประชุมไหม ชาวบ้านไม่ประชุมแกก็จะไปบังคับชาวบ้านมาไม่ได้ เพราะแกทำงานให้ชาวบ้าน

หมายเลขบันทึก: 407148เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท