MAX
นาย สรรเพชร ช่างเชื่อง

สมุดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดแบบกราฟ


สมดุดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดแบบกราฟ

สวัสดีครับ...ไม่ได้เขียนบันทึกนานแหมือนกันนะครับ  ภารกิจฟิชโช่มันเยอะ เนื่องจากปลายปีงบประมาณ  ตอนนี้ต้นปี  เลยพอมีเวลาเอาเรื่องดีๆ.. (จริงเหรอ..?)  มาเล่าให้ฟัง....ความจริงก็คือ..ผมเป็นแค่เจ้าพนักงานสาธารณสุข   แต่ต้องรับงานวิชาการ  มีงานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง  ก็เลยไปพัวพันกับงานเบาหวานเข้าอย่างจัง 

......สถานีอนามัยที่ผมอยู่  มีผู้ป่วยเบาหวานค่อนข้างเยอะ  และปัญหาก็เหมือนๆกับทุกที่และครับ  ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี....ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ  การรับรู้เรื่องระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองน้อยมาก  “รู้แต่ว่ามันสูง  แต่ไม่รู้ว่าอันตรายขนาดไหน”...

....แล้วผมก็ได้ศึกษางานวิจัยของ คุณ คุ้ง  กิตติวัติ และคณะ เป็นงานวิจัยเรื่อง ผลการใช้สมุดกราฟบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน  โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี  ปี 2539   ก็เลยลองนำแนวทางการใช้สมุดกราฟมาปรับใช้กับผู้ป่วยเบาหวานของเราดู

...โดยพัฒนารูปแบบสมุดบันทึกประจำตัวของผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก  และเพิ่มส่วนที่เป็นกราฟเข้าไป โดยปรึกษาจากอาจารย์หมอโรจนศักดิ์ (โรงพยาบาลแม่สอด) แบ่งระดับน้ำตาลในเลือดออกเป็นกลุ่มต่างๆ 5 กลุ่ม  และใช้สีแทนระดับน้ำตาลในเลือด  ดังนี้

  • สีฟ้า  คือ ระดับน้ำตาล ช่วง 0 – 79 mg%  แปลความหมายว่า  “ต่ำ”
  • สีเขียว  คือ ระดับน้ำตาล ช่วง 80 – 120 mg%  แปลความหมายว่า  “ปกติ”
  • สีเหลือง  คือ ระดับน้ำตาล ช่วง 121 – 200 mg%  แปลความหมายว่า  “อันตรายในระยะยาว”
  • สีชมพู  คือ ระดับน้ำตาล ช่วง 201 – 300 mg%  แปลความหมายว่า  “อันตราย”
  • สีแดง  คือ ระดับน้ำตาล ช่วง มากกว่า 300 mg%  แปลความหมายว่า  “อันตรายมาก”

เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นผู้สูงอายุเข้าใจระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้ง่ายขึ้น  และนำมาใช่ในคลินิกเบาหวานของสถานีอนามัย...โดยผมคาดหวังไว้ว่า  เมื่อผู้ป่วยทราบภาวการณ์เจ็บป่วยและความเสี่ยงของตน จะสามารถตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น.......ผมจึงเริ่มทดลองให้กลับผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกเบาหวานในสถานีอนามัย....

เอารูปมาให้ดูเล็กน้อยครับ...

  

 "หน้าตาสมุดของเรา..ครับ"

 

"ด้านหลังก็จะเป็นการให้ความรู้เรื่องอาหารที่ควรบริโภค และละเว้น โดยใช้รูปภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจได้ง่าย..."

 

      

 "นั่งรอเจาะเลือด ตรวจ BP ชั้งน้ำหนัก  และวัดรอบเอว  ตอนเช้า"

 

      

 "..บันทึกผลและแปรผลพร้อมกับผู้ป่วย  เราสามารถดูการเคลื่อนไหวของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้  และหาสาเหตุร่วมกับผู้ป่วยว่าระดับน้ำตาลที่เปลี่ยนแปลงเกิดจากอะไรได้บ้าง

 

 

 

"..ให้คำแนะนำ  รับยา  และก็กลับบ้าน....ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็ต้องส่งพบแพทย์  และก็มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงแระโรคแทรกซ้อนด้วยครับ.."

 

"...จริงแล้วผมเริ่มงานชิ้นนี้ตั้งแต่ปี  2552  ทำเป็นงานวิจัย เป็นครั้งแรกที่ได้ขึ้นเวทีชมรมสาธารณสุขของเขต 17 ตื่นเวทีสุดๆ  ....แล้วต้องย้ายอนามัย ก็นำมาพัฒนารูปแบบและใช้ต่อกับอนามัยใหม่  แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะครับ..."

หมายเลขบันทึก: 407088เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทาย และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ "สมุดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดแบบกราฟ"
  • อากาศหนาวแล้วรักษาสุขภาพตัวเองด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                      

คุณเป็นคนที่สุดยอดมากครับ หาหนทางที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ให้มีสุขภาพที่ดีขอชื่นชม

แต่ผมว่าเราน่าจะหันมาแก้ที่ต้นเหตุกันนะครับ ก็คือการใช้วิถีชีวิตการอยู่การกินของชาวบ้าน

และผมได้รู้จัก กับ โปรดักส์ตัวหนึ่ง ที่มีการวิจัยระดับโลกที่สามารถช่วยเรื่อง การลดปริมาณคลอเรสเตอรอลในเลือดและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยเรื่องการปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุลเหมือนกับคนปกติ และเขาอยู่ ในหนังสือสั้งจ่ายยาของแพทย์ทั่วโลกด้วยนะครับ คือ หนังสือ PDR

ถ้าเกิดว่าสามารถช่วยชาวบ้านได้ผมว่ามันเวิคมากนะครับ

http://www.chayanisa.chevitdd.com/product.php?name=bios-life

ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆๆถึงแม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ช่วยสร้างความตระหนักแก่ผู่ป่วยอีกทางหนึ่ง

ตอนนี้เรากำลังหานวัตกรรมใหม่ๆๆสำหรับงานสุขศึกษา...ท่านใดมีนวัตกรรมน่าสนใจ มาแลกเปลียนกันบ้างนะคะ

ขอบคุณทุกกำลังใจครับ ...

  • ยินดีแลกเปลี่ยนทุกความคิด เพื่อพัฒนางานบริการของเราครับ
  • ที่ตากเริ่มหนาวเหมือนกัน มาเที่ยวงานลอยกระทงสาย นะครับ  14-23 พย. นี้ครับ..

ขอชื่นชมในความตังใจทำงาน เมื่อก่อนเคยเป็นหมออนามัยเหมือนกัน เข้าใจการทำงานดี ยินดีกับผู้ป่วยที่มีหมออนามัยดีๆ ทำให้นึกถึงบรรยากาศเก่าๆ คิดถึงบ้านที่จากมา มหาดไทยไม่เหมือนสา,สุข บ้านเดิม

ขอบคุณ คุณ Mat ครับ

ผมเชื่อว่าเลือด สา'สุข ไม่เคยจางหายไปจากตัวเรา

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณสำหรับคำทักทาย เพื่อมิตรภาพ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ให้ประโยชน์มากมาย
  • โชคดีมีสุขนะครับ

 Idea ดีค่ะ..อย่างน้อยผู้ป่วยคงตระหนักมากขึ้น วันมาตรวจรับยาและแลกเปลี่ยนสมุดกันดูว่าของใครเป็นยังไง อาจเป็นส่วนช่วยให้ผู้ป่วยพยายามควบคุมน้ำตาลให้ดีขึ้น เพราะอายเพื่อน ขอบคุณที่นำมาแลกเปลี่ยนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท