shukur2003


ในประเทศไทยมีพสกนิกรของท่านจากหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ดังนั้น การแสดงจงรักภักดีต่อพระองค์ทางกิริยาหรือวาจาจึงขึ้นอยู่กับหลักศาสนาและวัฒนธรรมของแต่ละคน ซึ่งอาจจะแตกต่างกัน อาจจะคล้ายกันหรือผิดแผกกันจนคนไม่เข้าใจ อาจจะตีความไปคนละอย่างแบบหน้ามือเป็นหลังมือก็เป็นได้ ตามหลักศาสนาอิสลาม ถือว่าการเคารพภักดีและนับถือเป็นคุณธรรมที่ดีของมนุษย์ทุกคน อันพึงมีต่อผู้มีพระคุณ เช่น ต่อพระมหากษัตริย์ ในฐานะเป็นประมุขของประเทศ ต่อพ่อแม่ในฐานะผู้ให้กำเนิด ต่อคุณครูในฐานะผู้ให้ความรู้และอื่นๆ มิใช่ในฐานะพระผู้เป็นเจ้าซึ่งในอิสลามถือว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเอกองค์อัลลอฮฺ (อัลกุรอ่าน 2 : 255)
มุสลิมกับการขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ   
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙
อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)
“...ในประเทศไทยมีพสกนิกรของท่านจากหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ดังนั้น การแสดงจงรักภักดีต่อพระองค์ทางกิริยาหรือวาจาจึงขึ้นอยู่กับหลักศาสนาและวัฒนธรรมของแต่ละคน...”
 อับดุชชะกูร์ บิน าฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)[email protected] ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่านประชาชนทั้งหลายได้แสดงความจงรักภักดีกันทั้งประเทศ ซึ่งเป็นอีกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของประเทศไทยที่เรามีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ก็เป็นที่ประทับใจของคนทั้งโลก ว่าคนไทยรักพระเจ้าอยู่หัวมาก คราวนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงเข้ารับการถวายการผ่าตัด คนไทยก็ห่วงใยกันมาก เข้าไปเซ็นชื่อลงนามถวายพระพรกันทั้งประเทศ และชนทุกศาสนิกขอพรรวมทั้งมุสลิมทั่วประเทศโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ร่วมละหมาดฮายัตอในมัสยิดในสนาม เพื่อขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็วก็จะเป็นอีกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของประเทศไทยที่คนไทยมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนมาก อันนี้ก็จะเป็นสิ่งที่จะทำให้พระองค์ท่านได้มีพระกำลังพระทัยที่ได้ทรงแข็งแรงโดยเร็ว เพื่อจะเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติตลอดไป ในประเทศไทยมีพสกนิกรของท่านจากหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ดังนั้น การแสดงจงรักภักดีต่อพระองค์ทางกิริยาหรือวาจาจึงขึ้นอยู่กับหลักศาสนาและวัฒนธรรมของแต่ละคน ซึ่งอาจจะแตกต่างกัน อาจจะคล้ายกันหรือผิดแผกกันจนคนไม่เข้าใจ อาจจะตีความไปคนละอย่างแบบหน้ามือเป็นหลังมือก็เป็นได้  ตามหลักศาสนาอิสลาม ถือว่าการเคารพภักดีและนับถือเป็นคุณธรรมที่ดีของมนุษย์ทุกคน อันพึงมีต่อผู้มีพระคุณ เช่น ต่อพระมหากษัตริย์ ในฐานะเป็นประมุขของประเทศ ต่อพ่อแม่ในฐานะผู้ให้กำเนิด ต่อคุณครูในฐานะผู้ให้ความรู้และอื่นๆ มิใช่ในฐานะพระผู้เป็นเจ้าซึ่งในอิสลามถือว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเอกองค์อัลลอฮฺ (อัลกุรอ่าน 2 : 255)
ซึ่งหลักการเคารพนับถือต่อพระเจ้านั้นจะต้องผนวกไปกับการกราบนมัสการต่อพระองค์ด้วย ซึ่งการแสดงความเคารพของมุสลิมต่อสิ่งอื่น หรือบุคคลด้วยการกราบจึงไม่ได้อย่างเด็ดขาด
  ดังนั้นในชุมชนมุสลิมจึงแสดงความจงการแสดงจงรักและห่วงใหยต่อพระองค์ด้วยการละหมาดฮายัต      คำว่าละหมาดฮายัตเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาเป็นที่ติดปากและใช้ในสื่อมวลชนมากมายแต่จะมีสักแค่ไหนเข้าใจความหมายและหลักปฏิบัติบ้างดังนั้นการชี้แจงความเข้าใจต่อเพื่อนร่วมชาติเป็นสิ่งที่จำเป็นในอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ในสังคมที่หลากวัฒนธรรม ละหมาดฮายัต มาจากคำภาษาอาหรับว่า เศาะลาตุลฮายะฮฺ แปลว่าละหมาดอันเนื่องมาจากมีจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง การละหมาดฮายัตนั้น มุสลิมจะละหมาดขอพรต่ออัลลอฮฺ  ต่อเมื่อ มีจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งแต่มีเงื่อนไขว่าจะต้อเป็นสิ่งที่ดีและไม่ผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนา และขอให้พระองค์ได้ทรงโปรดดลบันดาลให้ได้รับผลสำเร็จสมความมุ่งหมาย ท่าน ศาสามุฮัมมัดได้วัจนะความว่าผู้ใดมีความประสงค์สิ่งใดเกี่ยวกับอัลลอฮฺหรือเกี่ยวกับมนุษย์ก็จงอาบน้ำละหมาดอย่างดีและจงละหมาด 2 ร่อกาอัต (2 รอบ) วัจนะศาสดาบันทึกโดยอิม่ามติรมีซีย์และอิบนฺมายะฮฺการละหมาดฮายัต นั้นมี 2 ร่อกาอัต (รอบ) โดยที่ผู้ที่จะทำละหมาดจะต้องอานน้ำละหมาดเพื่อชำระร่างกายให้สะอาด  หลังจากนั้นยืนตรงอย่างมีสมาธิโดยหันหน้าทิศตะวันตก (จุดที่ตั้งกะบะฮฺ อยู่ที่ประเทศซาดิอารเบีย) โดยมีการตั้งอธิทานฐานว่าข้าพเจ้า ละหมาดสุนัต ฮายัต 2 ร่อกาอัต (2 รอบ) เพื่ออัลลอฮฺ ตะอาลาพร้อมทั้งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าด้วยคำว่าอัลลอฮุอักบัร  หลังจากนั้นจะอ่านคัมภีร์อัลกุรอานขณะยืนในบทอัลฟาติฮะ  อายะฮฺกุรซีรและให้อ่านซูเราะฮฺอัล-กาฟิรูนในร่อกาอัตแรก (รอบที่ 1)  หลังจากนั้นจะโค้งคำนับและก้มกราบพร้อมทั้งสรรเสรริญและขอพรพระเจ้าสำหรับร่อกาอัตที่ 2 (รอบที่ 2) จะอ่านคัมภีร์อัลกุรอานขณะยืนในบทอัลฟาติฮะ  อายะฮฺกุรซีรและอ่านบทอัลอิคลาส(หรือเป็นนที่รู้จักในหมู่มุสลิมคืออ่านกุ้ลฮุวัลลอฮฺ) หลังจากนั้นจะโค้งคำนับและก้มกราบพร้อมทั้งสรรเสรริญและนั่งขอพรพระเจ้า   และเมื่อให้สลามแล้ว(เสร็จละหมาด) ผู้ร่วมพิธีกล่าวจะคำอวยพรแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) แล้วกล่าวคำขอพรต่อไปนี้ (วัจนะศาสดาบันทึกโดยอิม่ามติรมีซีย์และอิบนฺมายะฮฺ)ความว่าไม่มีพระเจ้าที่เที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสุขุมผู้ทรงเกียรติยิ่ง มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ ผู้อภิบาลสากลโลก ข้าฯขอต่อพระองค์ได้ทรงโปรดประทานปัจจัยเกื้อหนุน อันจะนำไปสู่ความเมตตาและการอภัยโทษของพระองค์ และขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานโชคลาภ อันเนื่องจากความดีทั้งปวง และขอให้ปลอดภัยจากบาปทั้งมวล ขอวิงวอนต่อพระองค์ อย่าปล่อยให้ข้าฯมีโทษใดๆ เว้นเสียแต่พระองค์จะทรงโปรดอภัยโทษนั้นๆแก่ข้าฯ และไม่มีทุกข์หม่นหมองใดๆ เว้นแต่พระองค์จะทรงขจัดมันให้พ้นไปจากข้าฯ และไม่มีกิจการงานใดๆที่พระองค์ทรงพอพระทัยเว้นแต่พระองค์จะทรงจัดการให้สำเร็จเรียบร้อย โอ้พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเป็นเลิศในความเมตตาปรานีนี่คือบทขอพรของท่านศาสดา ซึ่งใครต้องการสิ่งใดก็สามารถขอเพิ่มเติมได้ไม่ว่าสิ่งใดโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้อเป็นสิ่งที่ดีและไม่ผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนานี่คือวิถีชีวิตหรือการของมุสลิมเกี่ยวกับการขอสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากอัลลอฮฺเจ้าไม่ว่าเหตุการณ์ไม่สงบที่ภาคใต้หรือขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็วสำหรับการรับพรของพระเจ้าหรือไม่นั้นมนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะไปทวงถามเพราะเป็นกรรมสิทธิของพระองค์และพระองค์จะทรงประทานกับคนที่พระองค์ทรงประทรงและพระองค์ยุติธรรมและปรีชาชาญยิ่งแต่ทุกคนก็หวังว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็วเพื่อพระจริยานุวัตรอันเปี่ยมล้นด้วยทศพิธราชธรรมของพระองค์จะทรงแผ่ขยายไพศาลออกไปทั่วทุกสารทิศ ประดุจดังสายลมรำเพย เมื่อสัมผัสสิ่งใด ก็ยังความสดชื่นแก่สิ่งนั้นอย่างท่วมท้นเป็นอานุภาพที่ชำแรกสู่จิตวิญญาณของพสกนิกร สถิตอย่างถาวร มั่นคงไม่สั่นคลอน และแน่นแฟ้นไม่หวั่นไหวต่อไป หมายเหตุ: ดูเพิ่มเติมภาษาอาหรับเกี่ยวกับละหมาดฮายัต ได้จาก1. http://www.islamweb.net/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php?lang=A&Option=FatwaId&Id=13902. http://www.almoslim.net/rokn_elmy/show_question_main.cfm?id=9605 
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 40699เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท