ทฤษฎีบ่อเกิดความรู้ 1. เหตุผลนิยม (Rationalism)


ต้นทางของการตามหา ความจริง

ต้นทางของการตามหา

ความจริง

1. เหตุผลนิยม (Rationalism)

กลุ่มเหตุผลนิยม  เชื่อว่า  ความรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดเป็นความรู้ชนิดติดตัวมนุษย์มาและมีลักษณะเป็นเหตุผล  กลุ่มเหตุผลนิยมนี้กล่าวว่า  ความรู้เกิดจากเหตุผลเตการ์ตนักปรัชญาคนแรกของกลุ่มเหตุผลนิยมนี้กล่าวว่า  เหตุผลเกิดจากสัญชาตญาณที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน  เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานให้ไว้แก่มนุษย์ทุกคน  กลุ่มเหตุผลนิยมนี้มีหลักการขั้นพื้นฐาน  ดังนี้  (ศรัณย์  วงศ์คำจันทร์, มปป. : 156)

1.  เหตุผลนิยมเชื่อว่า  เหตุผลเป็นอิสระจากประสาทสัมผัส  เหตุผลทำให้สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง  เหตุผลสามารถใช้ได้ในทางคณิตศาสตร์ในขณะเดียวกันก็ใช้ได้ในทางปรัชญาเช่นกัน   ดังนั้น วิธีของกลุ่มเหตุผลนิยมจึงเรียกว่าวิธีการทางคณิตศาสตร์

2.   เหตุผลนิยมปฏิเสธความรู้ทางประสบการณ์   ทางประสาทสัมผัส  เพราะถือว่าประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทำให้คนหลงผิดได้  ดังนั้น จึงได้สามารถใช้เป็นแนวทางแห่งความรู้ได้

3.   ความรู้เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด   ความรู้เกิดจากความคิดหรือเหตุผลเพียงอย่างเดียว   และความรู้ที่เกิดจากเหตุผลนี้เป็นความรู้ที่แน่นอน  เป็นความรู้ที่เป็นจริงทางคณิตศาสตร์  เป็นความรู้ที่เป็นภายในและเป็นสากล

นักปรัชญาที่สำคัญของกลุ่มเหตุผลนิยมมีหลายท่านด้วยกัน  เช่น  เดการ์ตสปิโนซ่า   และไลบ์นิช   เป็นต้น

เรเน  เคการ์ต  (Rene  Descartes)  นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสถือว่าการคิดหาเหตุผลเท่านั้นเป็นที่มาของความรู้ที่แท้จริง  เพราะเขาเป็นผู้สงสัยในทุกสิ่งทุกอย่าง  แต่การคิดหาเหตุผลช่วยให้เขาสิ้นความสงสัยได้   การคิดหาเหตุผลของเขาเป็นแบบอนุมาน  (คาดคะเนตามหลักเหตุผล)  ตามหลักตรรกวิทยา  ซึ่งต้องมีประพจน์  (ข้อเสนอ) เหตุที่ถูกต้องแน่นอน  ผลสรุปจึงจะถูกต้อง  และถ้าประพจน์เหตุผิด  ผลสรุปก็ย่อมผิดไปด้วย  เนื่องจากเดการ์ตเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในวิชาเรขาคณิต   ซึ่งถือว่าสัจพจน์ (Axion)  และคำนิยาม  (definition) ในวิชาเรขาคณิตเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์   จึงได้พยายามสร้างหลักการในวิชาปรัชญาทำนองเดียวกันว่าจะต้องมีความจริงมูลฐานทำนองเดียวกัน  เขาก็ได้พบว่าความคิดติดตัว  (innate  idea)  เท่านั้นที่เป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์เหมือนสัจพจน์  และคำนิยามความคิดติดตัวเป็นสิ่งที่พระเจ้ามอบให้แก่ทุกคนโดยกำเนิดมีหลายอย่าง  เช่น  ความคิดเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผล  (causality)  ความคิดกับความไม่สิ้นสุด (infinity)  ความคิดเกี่ยวกับความเป็นนิรันดร  (eternity)  ความคิดเกี่ยวกับสิ่งสัมบูรณ์ (the  Absolute)  เป็นต้น  (อมร  โสภณวิเชษฐ์วงศ์, 2520 : 110)

สปิโนซ่า  (Spinoza)  เป็นผู้พัฒนาลัทธิเหตุผลนิยมต่อจากเดการ์ต  สปิโนซ่า  คิดแบบสมัยใหม่  คือ อาศัยหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์เป็นหลักสปิโนซ่า  ใช้วิธีคิดโดยมีลักษณะไปทางรหัสนิยม  (Mystic)  ผสมกับศรัทธาอย่างดื่มด่ำในพระเจ้า  เดการ์ตได้พยามทำปรัชญาให้มีรูปแบบที่แน่นอนโดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งสปิโนซ่าก็ยอมรับวิธีดังกล่าว   ตัวอย่างเช่นในเรื่อง  Ethics  (จริยศาสตร์)  สปิโนซ่าใช้วิธีการของเรขาคณิตคือเริ่มต้นด้วยการให้บทนิยมอันแน่นอนแล้วก็ให้สัจพจน์ (Axion)  ที่มีความแจ่มชัดในตัว  จากนั้นจึงวางหลักอันเป็นบทพิสูจน์  (theorem)  สปิโนซ่ามีความเป็นเชื่อมั่นในเหตุผลเช่นเดียวกับเดการ์ต  และถือว่าความจริงสามารถรู้ได้โดยเหตุผล   เพราะว่าสิ่งที่จริงมีลักษณะเป็นเหตุผล  โดยเชื่อว่าไม่มีอะไรที่เหตุผลจะเข้าใจไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือความจริงสิ้นสุด   และแม้แต่พระเจ้ายังอาศัยความมีเหตุผลในการสร้างโลก  ทัศนะดังกล่าวนี้ทำให้เหตุผลนิยมของสปิโนซ่ากลายเป็นรหัสนิยม

ไลบ์นิช  (Leibniz)  เป็นนักเหตุผลนิยมที่มีความเชื่อในเรื่องความคิดติดตัว  (Innate  idea)  ไลบ์นิช ได้กล่าวว่าไม่มีอะไรอยู่ในวุฒิปัญญานอกจากวุฒิปัญญาเท่านั้น  และได้กล่าวสรุปว่าเนื่องจากความคิดติดตัวทั้งปวงมีพร้อมอยู่ในจิตใจของเราแล้ว  ฉะนั้นจึงไม่มีความรู้อันใดที่จะอ้างได้ว่าเราได้มา  (จากภายนอก)  เขาเชื่อว่าจิตมนุษย์กระทำการอยู่เสมอแม้อยู่ในสภาพที่ไม่มีความรู้  ขณะไร้สติและขณะหลับ  ในที่สุดความคิดติดตัวก็จะปรากฏออกมาในจิตมนุษย์โดยอาศัยการกระทำการของวุฒิปัญญา

คำสำคัญ (Tags): #เหตผลนิยม(rationalism)
หมายเลขบันทึก: 406712เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2010 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท