ดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธี


ดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธี

ช่วงนี้ปัญหาหนักของบ้านเราเห็นจะหนีไม่พ้นปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากอยู่ในขณะนี้ โดยหลายฝ่ายต่างร่วมด้วยช่วยกันบริจาค สิ่งของ  ข้าวสาร อาหารแห้ง ฯลฯ แต่ปัญหาที่หลายคนอาจจะ มองข้ามไปคือปัญหาน้ำกัดเท้าซึ่งจะมาพร้อมกับน้ำท่วมเสมอ วันนี้ มีวิธีการดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธีมาบอก

อาการน้ำกัดเท้าแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 โรคน้ำกัดเท้าในระยะนี้ ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คัน และแสบ โดยเฉพาะตามง่ามนิ้วเท้าและขอบเล็บ ซึ่งผิวหนังอักเสบในระดับนี้ยังไม่มีเชื้อโรคใดๆ เข้าไปในบาดแผลได้ การรักษาระดับนี้ควรใช้ยาทาที่ผสมสเตียรอยด์ ไม่จำเป็นต้อง ใช้ยาฆ่าเชื้อราเพราะยาบางชนิดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบผิวหนังมาก ขึ้น และเมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีแผลเล็ก ๆ ที่เกิดจากผิวหนังอักเสบและมีเชื้อโรคเข้าไปทางบาดแผล โดยมีอาการบวมแดง เป็นหนองและปวด ควรให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาตามอาการของผู้ป่วย อนึ่งหากปล่อยให้มีอาการโรคน้ำกัดเท้าอยู่นาน ผิวที่ลอกเปื่อยและชื้นจะติดเชื้อราทำให้เป็นโรคเชื้อราที่ซอกเท้ามีอาการ บวมแดง มีขุยขาวเปียก มีกลิ่นเหม็น และถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนังรักษาหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนอาการดีขึ้นดูเหมือนหายดีแล้ว แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่เมื่อเท้าอับชื้น ก็จะเกิดเชื้อราลุกลาม ขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นประจำ ไม่หายขาด

คำแนะนำในการดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้า

หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนาน ๆ หากจำเป็นต้องลุยน้ำให้สวมรองเท้าบูทกันน้ำ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันของมีคมที่อยู่ในน้ำทิ่มหรือตำเท้า รวมทั้งรีบทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ และเช็ดเท้าให้แห้งเมื่อเสร็จธุระนอกบ้าน ซึ่งการรักษาความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่สุดในการ ป้องกันโรคนี้ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า นอกจากนี้ หากพบว่ามีบาดแผลตามผิวหนังไม่ควรสัมผัสน้ำสกปรก เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเป็นไปได้ ควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำสะอาดและด่างทับทิมวันละครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีแผล ผื่น ที่ผิวหนังควรพบแพทย์ โดยทายาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์

(ข้อมูลจาก : http://campus.sanook.com/ดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธี-928100.html)

คำสำคัญ (Tags): #น้ำกัดเท้า
หมายเลขบันทึก: 406477เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถ้าน้ำกัดตัวหล่ะครับจะทำอย่างไรเพราะลุยน้ำระดับอกอะครับ

-เคืองหน่ะน้ำกัดตัว...เดี๋ยวไปทดลองให้น้ำกัดตัวก่อนนะคะมีวิธีรักษายังไงแล้วจะบอก

จะรอฟังคำตอบนะครับเพราะตอนนี้คันตัวมากๆไม่มีใครเกาให้ด้วย ขอบคุณครับ

-ที่ อ.ท่าเรือน้ำลดแล้ว...ไว้ปีหน้าแล้วกันนะคะเผื่อน้ำท่วมอีกจะได้ทำการทดลองให้น้ำกัดตัวและหาวิธีรักษา...โอเค๊

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท