คนละไม้คนละมือ สามัคคีให้เกิด “ดี” ที่ชุมชน


“ระบบความคิดที่ใช้เหตุผลด้วยจิตสาธารณะ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับสังคมไทย”

 

หลังเหตุการณ์ความรุนแรง เผา/ระเบิด/ปล้นสินค้า  มีความคิดหนึ่งที่พ้องกันคือ “ระบบความคิดที่ใช้เหตุผลด้วยจิตสาธารณะ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับสังคมไทย” จึงขอเชิญชวนร่วมกันคิดในเรื่องนี้ เพื่อร่วมด้วยช่วยกัน “สร้างโอกาสทางการศึกษาและบริการพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนของประเทศ” ประจวบเหมาะที่ตอนนี้กระทรวงศึกษามีนโยบายพัฒนาระบบการศึกษาที่เป็นรูปธรรม พอมองเห็นว่า ตัวเราเองจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร   นโยบายกระทรวงฯ ในระดับพื้นฐานคือ “โรงเรียนดีประจำตำบล” (มีจำนวน 182 แห่งในปีงบประมาณ 2554) เป้าหมายคือ เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (IQ) ความมั่นคงทางอารมณ์ (EQ) และมีคุณธรรมเป็นคนดีของสังคม (MQ)    แม้ว่าโรงเรียนกลุ่มนี้จะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นจากที่ผ่านๆ มา แต่ก็ยังต้องพึ่ง อปท. ด้วย (สนใจหาอ่านเพิ่มจาก chinaworn.com)    

หากโรงเรียนในแต่ละตำบลมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมผู้ปกครอง ก็ไม่ต้องดิ้นรนส่งเด็กไปเข้าโรงเรียนดัง/ใหญ่ บวกกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปีและโรงเรียนในฝัน (ระดับอำเภอ) เด็กทุกคนก็น่าจะสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ถ้ายังมีปัญหาอุปสรรคจากด้านผู้ปกครองก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือ/สนับสนุน (support) จากระบบอื่นเสริม   ในแง่ระดับขนาด (scale) ระดับตำบลน่าจะพอเหมาะ (มีประสิทธิภาพในแง่การลงทุน) กว่าระดับหมู่บ้าน   แต่เราคงเคยได้ยินว่า โรงเรียนบางแห่งมีนักเรียนไม่กี่คน จนต้องยุบไป ทำให้เด็กซึ่งยังเล็กต้องเดินทางไกลขึ้นซึ่งก็เป็นอุปสรรคหนึ่งในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กในเขตชนบทห่างไกล 

“การได้เรียนใกล้บ้าน” ก็มีแนวคิดหลักการรองรับในทำนองเดียวกับ “บริการใกล้บ้านใกล้ใจ” ของระบบสุขภาพเรา   คนอยู่ใกล้ก็อาจร่วมด้วยช่วยออก“กำลังความคิด/แรงงาน”  หรือหากบริจาคเป็นเงินก็สามารถนำใบเสร็จไปหักลดหย่อนภาษีได้ซึ่งมีโรงเรียน/สถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่งที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค ดูรายชื่อโรงเรียนได้ที่ http://gotoknow.org/file/phenkhael/view/640347 หรือบริจาคเป็นหนังสือก็ได้    

ลำพังเพียง “การบริจาค” ไม่ได้ช่วยให้ระบบการศึกษาบรรลุเป้าหมาย สถานศึกษาเองก็ต้องมีกลไกการจัดการ/ทำงานแบบมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนเพื่อให้การจัดการศึกษาตอบสนองต่อชุมชน  และยังอาจเป็นกลไกระดับชุมชนที่ร่วมขับเคลื่อนในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น กองทุนสุขภาพตำบล   รพ.สต.  เอื้อต่องานสาธารณสุขเองด้วย 

“ถ้าเห็นด้วย ทำได้เลย ที่โรงเรียนใกล้บ้านคุณ”        

เพ็ญแข ลาภยิ่ง

3 พ.ย. 2553

หมายเลขบันทึก: 406202เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท