สัตว์ที่มาพร้อมกับภัยน้ำท่วม


สัตว์ที่มาพร้อมกับภัยน้ำท่วม

               
             ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตเส้นศูนย์สูตร มีลักษณะอากาศร้อน ชื้น มีฝนตกชุก ทำให้มีเหตุการณ์น้ำท่วมตลอดทุกปี จากการที่ฝนตกหนักในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ทำให้เกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลเข้าสู่หมู่บ้าน อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆไม่สามารถรับน้ำได้จำเป็นต้องมีการระบายน้ำออกเพื่อป้องกันการพังทลาย พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมในตอนนี้มีจังหวัด ลพบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา พิจิตร ชัยนาท สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ระยอง ตราด สระแก้ว ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ นครนายก ศรีสะเกษ ตาก สุรินทร์ บุรีรัมย์ รวมทั้งหมด 21 จังหวัด 136 อำเภอ 978 ตำบล 6814 หมู่บ้าน
               
             สิ่งที่ตามมากับน้ำท่วมนอกจากความลำบาก ความเดือดร้อนของประชาชนแล้ว ก็ยังมีภัยจากสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ เช่น แมงป่อง ตะขาบ เมื่อปริมาณน้ำสูงขึ้นจนท่วมขัง ทำให้พื้นที่อาศัยเดิมไม่สามารถอยู่ได้ สัตว์ดังกล่าวจะอพยพหนีปริมาณน้ำเข้ามายังพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ บ้านเรือน ตามสิ่งของต่างๆ เพื่อหาที่ซ่อนและความอบอุ่น นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆที่หนีน้ำท่วมเหมือนกัน โดยเฉพาะงู ได้แก่ งูเห่า งูแมวเซา งูเขียวหางใหม้ งูเหลือม งูหลาม เป็นต้น งูพวกนี้ก็อพยพหนีน้ำมาเช่นกัน เนื่องจากสัตว์เลื้อยคลานพวกนี้เป็นสัตว์เลือดเย็น ในสภาพปกติสัตว์เหล่านี้จะต้องอาบแดดในตอนเช้าเพื่อปรับสภาพร่างกายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เมื่อเกิดน้ำท่วมถึงแม้ว่ามันไม่ต้องมีการอาบแดดในตอนเช้าเพื่อปรับสภาพร่างกาย แต่ก็จำเป็นต้องมีความอบอุ่น ที่พักอาศัยจึงเป็นที่ที่เหมาะสมต้องการหลบภัย มีความอบอุ่น น้ำท่วมไม่ถึงแถมมีอาหาร จึงมักจะมีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ตลอดว่ามีงูชนิดต่างๆเข้าบ้าน งูกัดบ้าง

             นอกจากสัตว์ทีพิษชนิดต่างๆที่สร้างปัญหาซ้ำเติมผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว ยังมีสัตว์เลี้ยงที่หลุดมาจากบ่อ ตัวอย่างสัตว์ที่หลุดมาพร้อมกับน้ำท่วมๆบ่อยๆก็คือ จระเข้ ปลาอัลลิเกเตอร์ การ์ ปลาอราไพม่า สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากสัตว์ดังกล่าวเป็นสัตว์กินเนื้อ มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ประกอบกับลักษณะรูปร่าง แล้วก็การรายงานของสื่อที่ทำการเสนอข่าว เช่น พบปลาประหลาดรูปร่างเป็นปลา ปากคล้ายจระเข้ มีเกล็ดเหมือนงู ทำให้เกิดความแตกตื่นมากขึ้น นอกจากจระเข้ ปลาอัลลิเกเตอร์ การ์ และปลาอราไพม่าหรือปลาช่อนอเมซอนแล้วยัง บางพื้นที่ก็พบปลาประหลาดชนิดอื่นนั้นก็คือ ปลาตูหนา ซึ่งเป็นปลาไหลชนิดหนึ่ง มีครีบบริเวณหลังหู ไม่มีครีบหลัง มีขนาดใหญ่ สามารถนำมาทำอาหารได้ เป็นที่นิยมเป็นอย่างในอาหารญี่ปุ่น 
                  
             สภาพน้ำท่วมทำให้สัตว์ชนิดต่างๆหนีน้ำไปอาศัยตามบ้านเรือนของมนุษย์ แต่จะมีสัตว์บางชนิดที่ออกมาพร้อมกับน้ำท่วมซึ่งสร้างความแปลกใจให้คนในพื้นที่ เนื่องจากมันมีลักษณะที่แปลก ไม่เคยเห็นมาก่อน ในข่าวที่มีการรายงานมีว่า พบสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายใส้เดือน แต่มีรูปร่างแบนรี ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 2 -3 mm ยาวประมาณ 5 cm ลำตัวสีเหลือง มีเส้นคาดกลางสันหลังสีดำจากหัวไปจรดหาง มีปากคล้ายพลั่วหรือขวานแบนกว้างสีดำ เคลื่อนที่ด้วยการคืบคลานคล้ายไส้เดือนแต่เชื่องช้ากว่ามาก ทำให้ชาวบ้านตื่นกลัวว่าจะมีอันตรายจากสัตว์ตัวนี้ ซึ่งจริงๆแล้วสัตว์รูปร่างประหลาดดังกล่าวคือ หนอนหัวขวาน หรือ Land Planaria (Bipalium kewense) เป็นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มหนอนตัวแบน กลุ่มเดียวกับพยาธิใบไม้ตับ พลานาเรีย แต่ไม่มีพิษหรืออันตรายใดๆ พบได้ตามเขตร้อนชื้น เจอทั้งออสเตรเลีย อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกระจายค่อนข้างกว้าง  อาศัยได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ชอบพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เป็นสัตว์กินเนื้อและซาก ถือว่าเป็นตัวเชื่อมโยงของห่วงโซ่อาหาร

                           
                                                        หนอนหัวขวาน (Bipalium kewense)


 

             ในช่วงน้ำท่วมประชาชนที่ได้รับผลกระทบควรระมัดระวังสัตว์มีพิษเหล่านี้ด้วย ถึงแม้ว่าพวกมันจะไม่ได้มาเพื่อจุดประสงค์ที่จะทำร้ายมนุษย์แต่อย่างใด แต่เมื่อมนุษย์เข้าไปใกล้บริเวณที่มันหลบซ่อนหรือไปเหยียบหรือจัดของบริเวณนั้นโดยไม่ตั้งใจก็จะทำให้สัตว์พวกนี้ป้องกันตัวด้วยการต่อย กัด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ทางที่ดีควรจัดเก็บของให้เป็นระเบียบเพื่อไม่ให้สัตว์พวกนี้เข้ามาอาศัยได้ และแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อพบเจอเพื่อทำการจับไปไว้ในที่ที่ปลอดภัย


นอกจากนี้มาสารถติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับน้ำท่วมและโรคระบาดที่มาพร้อมกับภัยน้ำท่วมซึ่งประสบกันในตอนนี้ได้ที่
http://www.vcharkarn.com/varticle/41153
http://www.vcharkarn.com/vservice/showkratoo.php?Pid=55491

หมายเลขบันทึก: 406105เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท