รูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาอาชีพชาวนา


รูปแบบ

รูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาอาชีพการทำนา

       ด.ต.ฉัตรชัย ขุนเพ็ง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เปิดเผยว่า  จากการเก็บข้อมูลรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาอาชีพการทำนานั้น พอสรุปได้ 3 ส่วน คือ  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้อาชีพการเกษตรภายในสังคมชาวนานั้น ผุ้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ภาครัฐควรสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพตามรูปแบบโรงเรียนชาวนา ต้องพัฒนาผู้นำชุมชนให้มีความเข้าใจในการประสานงานระดับนโยบายลงสู่ชุมชน รวมถึงเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐ  อีกทั้งรัฐควรหาแหล่งทุนเพิ่มเติมมากขึ้น และสนับสนุนการวิจัยจากภูมิปัญญาชาวนา

       ด.ต.ฉัตรชัย ขุนเพ็ง กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ต้องพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านการศึกษาในระบบ ควรให้มีการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับโรงเรียนโดยร่วมมือกับท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับวิถีชีวิตการทำมาหากิน จัดรูปแบบการฝึกงานของนักศึกษาเพื่อเรียนรู้ชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน พัฒนาอาหารสุขภาพจากฟาร์มสู่โรงเรียน เพื่อลดความอดอยากและความยากจน ด้วยการผลิตอาหารสู่ระบบตลาด และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย เป็นการต่อยอดความรู้ระหว่างเกษตรกรกับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สามารถใช้ได้ดีจะทำให้ภูมิปัญญาสากลมีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรสำหรับเกษตรกรายย่อย

                                 ------------------------ 

                                                  นาย ธนภัทร  ภคสกุลวงศ์ รายงาน 

                                                  โทร. 0-8943-78088          

                                                                                   

                                                                                                  

      

                                                                                              

                       

           

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #รูปแบบ
หมายเลขบันทึก: 405301เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท