Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar [2] BOD: X-Ray (ตรวจสุขภาพองค์กร)


เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการพัฒนาดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย
[Burden of Diseases, BOD] สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "Burden of Disease Project: You and Us' Reflections Seminar" ณ โรงแรมอิมพิเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ท
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
รายละเอียดโครงการ (คลิก)
...
หนึ่งในกิจกรรมในงานสัมมนาก็คือ World Cafe [World cafe คือ คลิก]
ซึ่งกำหนดไว้ 5 Cafe ได้แก่
1. BOD: X-Ray (ตรวจสุขภาพองค์กร)
2. Capacity Building (คน + กำลัง = ความหวังของการพัฒนา)
3. Go Inter
4. How to สร้างกลุ่มเครือข่าย
5. การนำเอาข้อมูล BOD ไปใช้ เป็นผลลัพท์ที่ไม่ลัพท์
...

...

บันทึกนี้จะนำผลของ Cafe BOD: X-Ray (ตรวจสุขภาพองค์กร) มานำเสนอครับ
ประเด็นโครงสร้างองค์กร
- ไม่ควรจัดทำให้เป็นรูปแบบเดิมคือจัดทำเป็นแผน เนื่องจากลักษณะงานมีความไม่แน่นอนสูง
- ควรมีการจัดตั้งเป็นสถาบัน ซึ่งข้อดีของการจัดตั้งเป็นสถาบันคือมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการและความคิดเห็น
  มีความต่อเนื่องของการทำงานและความยั่งยืน
- อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งป็นสถาบันหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ทำงาน (เจ้าของ) เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลของ BOD มีความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว
  หากเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นๆ แล้วไม่ได้เป็นสถาบันก็ไม่มีผลมากนัก หากคนทำงานยังเป็นคนเดิม

ประเด็นงบประมาณมี 4 แนวทางคือ
- งบประมาณของรัฐบาล
- การจ่ายเงินร่วมกันของผู้ใช้ข้อมูล
- งบประมาณของรัฐบาลรวมกับการจ่ายเงินร่วมกันของผู้ใช้ข้อมูล
- ได้จากการขายข้อมูลให้ผู้ใช้

ประเด็นคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ
- ควรมีองค์ประกอบที่เป็นผู้ใช้ข้อมูลและนักวิชาการ ซึ่งต้องมีการระบุ (identify) ว่าหน่วยงานเหล่านี้คือใครก่อน
  เพื่อสร้างเครือข่ายสำหรับการนำผลงานไปใช้และเป็นการโฆษณาโครงการอีกด้วย
- ไม่ควรนำเสนอผลงานเพียงอย่างเดียว ควรนำเสนอระบบการทำงานเผื่อการขอคำแนะนำด้วย
- ควรมีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรเว้นระยะห่างจนนานเกินไป ประมาณหนึ่งครั้งภายในหกเดือน

ประเด็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและนักวิชาการ
- ควรจัดทีมงานที่เป็นชุดเดิมเนื่องจากจะทำให้เกิดความต่อเนื่องของการผลิตข้อมูล
  อีกทั้งยังลดเวลาในการจัดทำข้อมูลเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ใหม่

ประเด็นการสื่อสารการวิจัย
- จะต้องวางตัวให้เป็นการสื่อสารเชิงรุก (active roll) เนื่องจากปัจจุบันที่มีการสื่อสารโดยใช้รายงานหรือการนำเสนอบนเวปไซด์
  ยังไม่เพียงพอ ผู้ใช้ข้อมูลยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากเท่าที่ควร
- ควรมีตัวกลาง (broker) ที่สามารถจะส่งสารจาก BOD ไปสู่ผู้กำหนดนโยบายเช่น สนย. กระทรวงสาธารณสุข สปสช.
  หรือ ผู้ใช้ข้อมูลอื่นๆ
- ควรมีการผลิตข้อมูลที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอในปัจจุบันยังค่อนข้าง technical ยากต่อการเข้าใจ
  เช่น การให้ข้อมูลแก่ผู้กำหนดนโยบายอาจจะต้องมีการรายงานที่ง่ายต่อการเข้าใจ
- มีการทำการตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและเพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการและข้อมูลที่ผลิตเพื่อใช้ในการต่อยอด
  ในหน่วยงานอื่นๆ หรือเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย
...
การตรวจสุขภาพองค์กรเป็นสิ่งจำเป็น เปรียบเหมือนการตรวจสุขภาพร่างกาย
หากป่วย หากผิดพลาดจะได้ปรับปรุงแก้ไขกินยา เมื่อแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้ว งานจะได้เดินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับบันทึกหน้าจะนำผลของ Cafe: Capacity Building (คน + กำลัง = ความหวังของการพัฒนา) มานำเสนอครับ

* ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD
หมายเลขบันทึก: 405271เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท