ห้องเรียนกระบวนกร AI (ตอนที่ 264) ..".. ทำโลด... "


Appreciative Inquiry

Appreciative Inquiry มีวงจรง่ายๆคือ ค้นพาว่าอะไรเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุด (Discovery) แล้วเอามาขยายผลด้วยการคิดการณ์ใหญ่ (Dream) วางแผน (Design) จากนั้นทำจริง (Destiny)....

.....

วันนี้จะว่าด้วย Destiny คือ "การทำจริงครับ" การทำจริงในแบบ AI ทำอย่างไรครับ

ตามประสบการณ์ของผมคือ

1. ทำโลด: ได้ข้อมูลพร้อมแล้วลุยเลย ทำในแบบของเราเอง...เช่นผมพบว่านักศึกษาชอบมาที่ห้องสมุด..มากกว่าจะดินมาตามห้องอาจารย์...ค้นพบเลยครับ ที่ที่ work ที่สุดที่จะเจอนักศึกษา คือห้องสมุด..ผมทำโลดเลยครับ..ไปนั่งห้องสมุดบ่อยๆ...ไปนั่งคุยกับนักศึกษา ปรากฏว่า work ครับ ตามงานได้มากขึ้น แถมยังมีคนสนใจมาฟังพวกเราคุยกัน...ขนาดอยู่ต่างกลุ่ม Research กัน..หลายครั้งได้มุมมองจากคนที่ทำในแนวอื่นๆ มาทำให้การทำงานเราดีขึ้นไปอีก..ได้ผลครับ...

หมายเหตุ: เหมาะกับโครงการประเภททำคนเดียวได้ เปลี่ยนได้เปลี่ยนเลย ไม่ต้องคิดมาก...

2. หาตัวช่วยก่อน ถึงทำโลดได้: ตรงนี้เป็นการคิดการณ์ใหญ่ เราทำคนเดียวไม่ไหว...สิ่งที่คุณควรทำคือ

หาคนช่วย..นั่งคิด ใครน่าจะช่วยคุณได้มากที่สุด  สำหรับผมเจอเด็กประเภทเก่งๆ มาหาแต่แรกๆ กลุ่มนี้ Active  เหมาะกับงานใหญ่

จะเปลี่ยนให้เขามาช่วยคุณอย่างไร: ต้องค่อยๆคิด ผมเอง ใช้วิธีเล่าเรื่องใ้ห้ฟัง..คนเก่งชอบอะไรที่ใหม่ๆ ไม่เหมือนใคร ท้าทายอยู่แล้ว..บางครั้งเล่าไปเล่ามา.เขาก็สนใจ ขอทำเลย อันนี้เป็นสิ่งที่เจอทุกปีครับ...เล่าสิ่งที่คุณเห็นว่าดีให้คนเก่งฟัง...เขาจะอยากทำเอง..

คำถามสุดท้าย...จะรู้ได้ไง ว่าสิ่งที่เราจะทำ ได้ผลแล้ว...อันนี้เรียกว่าการหาตัวชี้วัด..จะได้จับทิศ ตรวจทิศได้ ไม่งั้นอาจหลงทาง จับต้นชนปลายไม่ถูก....เช่นถ้าทำเรื่องการขายก็ยอดซื้อซ้ำ หรือการบอกต่อ...การศึกษาก็อย่างน้อยทำไปแล้ว มีคนมาถามคุณเพื่อเอาแนวคิดคุณไปปฏิบัติครับ...

เมื่อตอบโจทย์สามข้อนี้ได้ งาน หรือฝันมันจะไปโลดของมันได้เอง...

....

คุณล่ะพร้อม ที่จะให้ความฝันของคุณ..ไปโลด ได้หรือยัง...

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 405123เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ.โย ครับ   สำหรับผมเรื่อง "ตัวช่วย" นี่  สำคัญมากๆๆ  เลยครับ

     มี 3 D  ถึง D ที่สี่จะทำจริง  แต่ไม่มีตัวช่วยนี่   ไปลำบากมากครับ

               ตอนนี้ผมโชคดีครับ  มี "ตัวช่วย"

                         งานนี้ "สนุก"  ครับ

  

คำว่าสนุก นี่ เขียนต่อได้อีกเลยครับ...เป็นตัวชี้วัดประเภทหนึ่ง

ขอบพระคุณสำหรับการจุดประกายครับ ท่านอาจารย์ Small Man

เรียนท่านอาจารย์ที่นับถือ

   คุณยายมาเข้าห้องเรียนด้วยคนนะคะ ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

ขอร่วมเรียนรู้ AI ด้วยคนนะคะ

นักเรียนใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท