เกี่ยวกับการทำสมาธิ


เกี่ยวกับการทำสมาธิ

เมื่อกล่าวถึงการทำสมาธินั้น  สำหรับเราแล้วนั้นมีการทำสมาธิในหลายลักษณะ  เพราะการทำสมาธิ  คือการเพ่งความสนใจไปยังเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ  โดยปกติคนเราสามารถเพ่งความสนใจไปยังเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เพียง 2 เรื่องได้ในเวลาเดียวกันได้ดีที่สุด  หากเราเพ่งความสนใจไปยังเรื่องใด ๆ  มากกว่า 2 เรื่อง  ความสามารถในการสนใจในทุก ๆ  เรื่องจะลดลง  ด้วยเหตุนี้การทำสมาธิในแนวทางพุทธศาสนา  ซึ่งให้เราสนใจในเรื่องเพียง 2 เรื่องพร้อมกัน  เรื่องหนึ่งที่เราต้องสนใจเสมอสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ ๆ  คือเรื่องของลมหายใจ  กับอีกเรื่องหนึ่ง  คือปัฏฐาน (ปัฏฐาน ; ความคิดหลัก)  ไปยังเรื่อง 4  เรื่องได้แก่  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  โดยในหนึงช่วงเวลา  เลือกเรื่องใดหนึ่งในสี่เรื่อง  มาสนใจไปพร้อมกับลมหายใจ  ก็จะได้หลักการพื้นฐานในการทำอาณาปานสติในเบื้องต้น

อย่างไรก็ดี  การทำสมาธิตามหลักของศาสนาอื่นก็มีอยู่แล้ว  เช่น การถือศีลอดของผู้นับถือศาสนาอิสลาม  โดยการมีสติไปยังการห้ามกลืนน้ำลายในช่วงเวลากลางคืน  เมื่อปฏิบัติตามนี้แล้วก็จะเกิดสมาธิขึ้นมาได้เช่นกัน  เมื่อเกิดสมาธิแล้ว  หากใจจดจ่อหรือนิ่งพอ  ผู้นั้นก็สามารถสื่อสารกับวิญญาณอื่นหรือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์และเทพทั้งหลาย  เพื่อน้อมนำแนวทางการปฏิบัติ  หรือแนวทางการดำเนินชีวิต  หรือแม้แต่แนวทางการแก้ไขปัญหาชีวิตได้

เพื่อให้พวกเราทุกคนสามารถเข้าถึงผลจากการปฏิบัติอย่างสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง  สำหรับผู้ฝึกปฏิบัติ  ควรฟัง/อ่านหัวข้อย่อยทั้ง 7 ไปตามลำดับ  ไม่ควรข้ามหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งไป  เพราะอาจจะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจวิธีการปฏิบัติ  หรือแม้แต่เมื่อเกิดสิ่งใดขึ้นในขณะปฏิบัติ  เราจะไม่สามารถแก้ข้อสงสัยที่เราประสบได้  เมื่อไม่อาจจะตอบข้อสงสัยได้  อาจเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติหน้าใหม่ขยาดหวาดระแวงกับสิ่งที่เกิดขึ้น  แล้วไม่กล้าลงมือปฏิบัติธรรมให้บรรลุผลจากการปฏิบัติหรือเข้าถึงผลจากการปฏิบัติ  หรือปฏิเวธได้อย่างแท้จริง

จำเป็นอย่างยิ่ง  ที่ผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าใหม่  หรือเป็นผู้ปฏิบัติที่มีพื้นฐานการปฏิบัติอยู่แล้ว  จะต้องอดทนอ่านหัวข้อย่อยไปแต่ละหัวข้อย่อยให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนการลงมือปฏิบัติ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดความลังเลสงสัยใด ๆ  ที่จะเกิดตามมา  ซึ่งความลังเลสงสัยนี่เองนำมาซึ่งความหดหู่ท้อถอย  แล้วนำมาสู่ความขัดแย้งเพียงเล็กน้อย  ซึ่งก็คืออารมณ์นิวรณ์ 5  นั่นเอง

จะดับความลังเลสงสัยได้  ก่อนการปฏิบัติให้อ่านหัวข้อย่อยเรียงลงไปทีละหัวข้อ  อย่าใจร้อนด่วนอ่าน  "สติปัฏฐาน 4"  เพื่อที่จะปฏิบัติให้ได้โดยเร็ว  หากเป็นเช่นนี้แล้วเมื่อเกิดเหตุใดเกิดขึ้น  เช่น  ปวดหัว  ปวดท้อง  มึนหัว  ฯลฯ  แล้วหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไรหากเราไม่อ่านให้เข้าใจ  เมื่อเรามองเห็นสิ่งดีนำโทษมาให้ตนแล้ว  ทำให้เราถอยห่างจากความเพียรในระยะสั้นอาจจะดูดี  เพราะทันทีที่เราหยุดปฏิบัติธรรมแล้ว  อาการต่าง ๆ  ที่มีก็หายไป  แต่ในระยะกลางหรือระยะยาว  เราก็ไม่อาจจะเอาชนะตนเองแล้วทำให้ตนหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวลได้

เมื่อเราได้อ่านหัวข้อย่อยทั้ง 7  ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว  เมื่อเกิดความลังเลสงสัยให้ลงมือปฏิบัติบัติธรรมให้ได้ผลแก่ตนเองให้เร็วที่สุดที่จะทำได้  เมื่อเราได้ผลจากการปฏิบัติก็จะตอบข้อสงสัยของเราได้เท่าที่เราสงสัยนั่นเอง  เมื่อดับข้อสงสัยได้ก็ดับอารมณ์นิวรณ์ได้  เมื่อดับอารมณ์นิวรณ์ได้  ก็สามารถบำเพ็ญเพียรจนเอาชนะตนเองได้  ในที่สุดเราก็จะพ้นทุกข์ทั้งมวลด้วยมือของเราเอง

หมายเลขบันทึก: 405012เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2010 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นอะไรไปเพื่อนแอ๊ด สบายดีมั้ย

ร่างกายดี

จิดใจดี

ชีวิตดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท