รีบไปดูหิ่งห้อย ที่อัมพวาก่อนหายหมด


หิ่งห้อย อัมพวา

ลักษณะทั่วไปของหิ่งห้อย หิ่งห้อย (firefly , lightening bug) แมลงแสง แมลงคาเรือง หรือ แมลงทิ้งถ่วง ทั่วโลกมีหิ่งห้อยประมาณ 2,000 ชนิด หิ่งห้อยตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก (brachypterous) ชนิดที่ไม่มีปีก มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัวหนอน หนอนของหิ่งห้อยเป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร หิ่งห้อยมีลักษณะเด่น คือสามารถทำแสงได้ทั้งระยะหนอน ดักแด้? ตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น

การทําแสงของหิ่งห้อย

หิ่งห้อยมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอนมีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัวเกือบทุกปล้อง แสงของหิ่งห้อย เกิดจากปฏิกริยาของสาร leciferin เป็นตัวเร่งปฏิกริยาและมีสาร adenosine triphosphate (atp) เป็นตัวให้พลังงาน ทำให้เกิดแสง หิ่งห้อยทำแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน ความถี่การกะพริบแสงของหิ่งห้อยแตกต่างกันตามชนิดของหิ่งห้อย แหล่งอาศัยของหิ่งห้อย หิ่งห้อยมีแหล่งอาศัยแตกต่างกัน บางชนิดอาศัยอยู่บริเวณแหล่งน้ำจืด แต่บางชนิดอาศัยอยู่บริเวณน้ำกร่อย หรือป่าชายเลน และมีอีกหลายชนิดอาศัยอยู่บริเวณสวนป่าที่มีสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ซึ่งไม่เคยถูกทำลายมาก่อน วงจรชีวิตของหิ่งห้อย หิ่งห้อยมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) คือมีระยะไข่ , ระยะหนอน , ระยะดักแด้ , ตัวเต็มวัย โดยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบพืชน้ำ เช่น ใบจอกหรือวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามพื้นดินที่ชุ่มชื้น แล้วแต่ชนิดของหิ่งห้อย ไข่เมื่อฟักออกเป็นตัวหนอนมีการลอกคราบ 4-5 ครั้ง จึ่งเข้าดักแด้ แล้วออกเป็นตัวเต็มวัย

ประโยชน์ของหิ่งห้อย

1. การกะพริบแสงระยิบระยับของหิ่งห้อยจำนวนมาก ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นเกิดความสวยงามตามธรรมชาติในยามค่ำคืน สามารถจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ เช่น การลงเรือชมหิ่งห้อยที่ จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี และ ตราด

2. หิ่งห้อยเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อม

3. ระยะหนอนของหิ่งห้อย เป็นตัวทำลายหอย ซึ่งเป็นสัตว์อาศัยตัวกลางของพยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และพยาธิใบไม้ในสำไส้คน

4. นักวิทยาศาสตร์ กำลังสนใจศึกษาค้นคว้า สารลูซิเฟอริน ในหิ่งห้อยซึ่งเชื่อว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์และ ด้านพันธุวิศวกรรม

ข้อแนะนำสำหรับการชมหิ่งห้อย

ช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่เหมาะสม โดยปกติแล้วหิ่งห้อยจะมีตลอดทั้งปี แต่จะมากในฤดูร้อน และฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม

กแสงของหิ่งห้อยมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเป็นเวลาข้างขึ้น ท้องฟ้าจะสว่าง ทำให้เห็นแสงของหิ่งห้อยไม่ชัดเจน จึงควรเลือกวันที่ท้องฟ้ามืดมิด

• เลือกช่วงเวลาที่น้ำมาก จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเล น้ำจะขึ้น-ลง อยู่ตลอดเวลา ควรจะเลือกวันที่น้ำมาก เพราะเรือสามารถเข้าไปใกล้กับต้นลำพูซึ่งหิ่งห้อยเกาะอยู่ ทำให้สามารถเห็นแสงของหิ่งห้อยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรทำเวลาล่องเรือชมหิ่งห้อง

๑.ไม่ทำเสียงดัง

๒.ไม่ถ่ายรูปด้วยแสงแฟลช

๓.ไม่เข้าไปใกล้ต้นลำพูที่มองเห็นแสงกระพริบจากหิ่งห้อย

๔.ขอให้คนขับเรือไปใช้เรือประเภทที่ไม่ใช้พลังงานจากเครื่องยนต์พลังจากน้ำมันเช่นใช้เครื่องยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า ให้เรืออยู่ห่างจากต้นไม้อย่างน้อย ๑๐-๒๐เมตร และไม่เปิดไฟท้ายเรือ ให้เรือทุกลำเรียงคิว ไม่ตัดหน้ากัน ไม่แซงกัน

๕.มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ ถ้าเรือลำใดทำผิดกฎปรับ ๑๐,๐๐๐บาทและยึดใบอนุญาต ใครถ่ายรูปปรับ๕,๐๐๐บาทและยึดกล้องถ่ายรูป

๖.บ้านใกล้ต้นที่มีหิ่งห้อยให้เปิดไปได้เพียวหลอดตะเกียบเล็ก ๆ ๑ ดวงเท่านั้นห้ามตั้งร้านอาหารใกล้ในระยะ๕๐๐เมตร

๗.ห้ามจุดประทัด ทุกชนิด

เหล่านี้ทำได้หรือเปล่าหรือเห็นแก่เงินอย่างเดียว !ไม่ต้องเกรงใจใคร!เงินหาไม่ยาก! แต่หากหิ่งห้องหมดไปจากเกาะอัมพวา คงไม่มีความงดงามอะไรเหลืออยู่แนะนอน!

odd-บ้านสมุนไพร

 

หมายเลขบันทึก: 404635เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบดูหิ่งห้อยค่ะ ช่วงเดือนก่อน เยอะมากๆ แถวข้างบ้าน แต่เดือนนี้ไม่มีแล้ว สงสัยกลับไปอัมพวา ขอบคุณค่ะ ;)

จงอยู่กับธรรมชาติ อย่าเอาชนะธรรมชาติ

odd-บ้านสมุนไพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท