ห้องเรียนกระบวนกร AI (ตอนที่ 260)..."...จะเริ่มต้นทำ AI ยังไงครับ..."


Appreciative Inquiry

เป็นคำถามสั้นๆ แต่อาจต้องตอบยาว...

....

แนะนำว่าให้เริ่มจากอะไรที่ง่ายๆก่อนครับ..ว่าลองแยกสิ่งที่ลองเกดขึ้นจริงในโลกนี้ออกเป็นสองปรากฏการณ์ ให้มีแค่สองขั้วพอ คือเรื่อง work (ได้ผลดี) กับไม่ work (ไม่ได้ผล)...

.....

ถ้าคุณจะทำ AI เรื่องการขาย...มีความจริงอยู่สองส่วนคือ...พอคุณไปขายของ...ก็จะมีแค่ ขายได้ กับขายไม่ได้...

ส่วนขายได้ก็ยังมี...ขายได้เร็ว กับขายได้ช้า

ขายได้ยังแยกเป็นสองขั้วได้อีกคือ...ขายได้มาก ขายได้น้อย

แม้กระทั่งขายไม่ได้..ยังอาจแยกเป็น...มี sales บางคนขายกับลูกค้ารายนี้ได้..อีกคนขายไม่ได้...

จากนั้นคุณก็ลองใช้ศิลปะการถาม..."ไหนลองเล่าเรื่องตอนที่คุณขายได้ (หรือขายได้เร็วว/ขายได้มาก หรือ ตอนขายให้เจ้าที่เพื่อนร่วมงานขายไม่ได้-เอาที่ละเรื่อง) ...เกิดอะไรขึ้น..ให้เล่าเป็นฉากๆ...อย่าลืมเล่าจุดเปลี่ยนด้วยล่ะ...มันอยู่ตรงไหน..."

คุณจะเจอเทคนิก วิธีการที่เอามาขยายผลได้...

....
ถ้าคุณเป็นครู ลองนึกถึงนักเรียน...การเรียนให้ผลสองอย่างคือเรียนแล้วรู้เรื่อง กับไม่รู้เรื่อง...

รู้เรื่องก็อาจแบ่งเป็นรู้เรื่องเร็วกับช้า

เรียนแล้วสนุก ไม่สนุก เรียนแล้วเปลี่ยนพฤติกรรม หรือไม่เปลี่ยน...

ลองให้นักเรียน ครูเล่าออกมา แล้วคุณจะเจออะไรบางอย่างที่ทำให้เด็กเรียนรู้เรื่อง

....................

ถ้าคุณเป็นนวิศวกร ต้องการเพิ่มผลผลิต รับรองครับย่อมมีคนงานเก่งกับไม่เก่ง...คนที่ทำของเสียน้อยกับมาก..สายการผลิตที่มีของเสียน้อยกว่า กับมากกว่า...

เข้าไปสืบทั้งดูข้อมูล ซักถาม แล้วคุณจะเจอคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุให้บางจุดมันดีกว่าที่อื่นๆ คุณก็ขยายผลซะ..

....

คุณเป็นหมอ...ย่อมมีคนไข้ที่ดูแลตัวเองได้ดี กับไม่ได้..คนไข้ที่หายเร็ว กับหายช้า...

ลองเข้าไปถาม ไปสังเกตดู คุณจะเจออะไรบางอย่างที่ work แล้วเอามาขยายผลได้ครับ..

...

วันนี้ผมเสนอจุดเริ่มต้นการทำ AI อย่างง่ายๆ แต่ได้ผลครับ...ด้วยการลองแยกปรากฏการณ์ที่เห็นตรงหน้าเป็นสองขั้วคือเรื่อง work กับไม่ work ครับ...แยกเจอแล้วก็เข้าไปถาม ไปสังเกตหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องดีๆนั้น พอเจอก็เอามาขยายผลครับ...นี่ไงครับ AI

....

คุณล่ะคิดอย่างไร

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 404198เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2010 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

แยกการคิดเป็นสองขั้ว

work กับ ไม่ work

คล้ายการคิดวิธีหนึ่งของโยนิโสมนสิการในศาสนาพุทธเลยค่ะ

ใกล้เปิดเทอมแล้ว  บทความนี้ของอาจารย์  ผมขอยืมไปใช้ ถามเด็ก  ครู   ผู้บริหาร ตอนไปที่โรงเรียนครับ

               ขอบคุณ AI  ครับ

   

    

ยินดีครับ..คุณมณีวรรณ ลองไปทำดูนะครับ

ขอบคุณครับ,อาจารย์

เตาะแตะติดตามอาจารย์ไปเรื่อยๆครับ มีแต่ดีดีทั้งนั้นเลย

ยินดีมากๆครับคุณลุง ผมจะเขียนต่อไปเรื่อยๆครับ..

กราบขอบพระคุณที่แวะมานะครับ

หลานคุณลุงคุยเก่งมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท