กะระณียเมตตะสูตร


กะระณียเมตตะสูตร

กะระณียเมตตะสูตร

       ข้อความในกะระณียเมตตะสูตรนั้น เกี่ยวกับการแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วหน้า และว่าด้วยคุณธรรมของผู้ที่จะบรรลุบทอันสงบคือพระนิพพาน เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้แก่ภิกษุผู้เดินทางไปบำเพ็ญเพียรในป่าสาธยาย เพื่อให้เทวดาทั้งหลายได้ยินแล้วเกิดเมตตาจิตไม่กลั่นแกล้งแสดงสิ่งที่น่ากลัวหลอกหลอน บทสวดนี้มีอานุภาพขจัดสิ่งรบกวนในขณะปฏิบัติธรรม และป้องกันภยันตรายอันเกิดจากอมนุษย์

(หันทะมะยัง กะระณียะเมตตะสุตตะคาถาโย ภะณามะเส)

       กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

กิจอันภิกษุ (ผู้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า)ผู้ฉลาดในประโยชน์ ใคร่จะบรรลุสันตบทอยู่เสมอพึงกระทำคือ

       สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ

พึงเป็นผู้อาจหาญเป็นคนตรงและเป็นคนซื่อ

       สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง

       สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ

เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย

       อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

เป็นผู้มีกิจน้อย มีความประพฤติเบาพร้อม (คือไม่สะสม)

       สันตินทฺริโย จะ นิปะโก จะ

มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญารักษาตน

       อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนาคิทโธ

เป็นผู้ไม่คะนอง เป็นผู้ไม่พัวพันกับชาวบ้าน

       นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

ไม่พึงประพฤติในสิ่งที่เลวทรามใดๆ ที่เป็นเหตุให้คนอื่น ซึ่งเป็นผู้รู้ติเตียนเอาได้

       สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัดตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

จงเจริญเมตตาจิตว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจ มีแต่ความเกษมสำราญเถิด

       เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ

สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ทุกเหล่าหมดบรรดามี

       ตะสา วา ถาวะรา สา อะนะวะเสสา

ที่เป็นประเภทเคลื่อนไหวได้ก็ดี ประเภทอยู่กับที่ก็ดี

       ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

เป็นสัตว์ที่มีขนาดลำตัวยาว ปานกลาง หรือสั้นก็ดี เป็นสัตว์มีลำตัวใหญ่ ปานกลางหรือเล็กก็ดี เป็นชนิดมีลำตัวละเอียด หรือมีลำตัวหยาบก็ดี

       ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา

เป็นจำพวกที่ได้เห็นแล้ว หรือไม่ได้เห็นก็ดี

       เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

เป็นผู้อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ดี

       ภูตา วา สัมภะเวสี วา

เป็นผู้ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาที่เกิดอยู่ก็ดี

       สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ขอสัตว์ทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจเถิด

       นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ

บุคคลไม่พึงข่มเหงกัน

       นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

ไม่พึงดูหมิ่นเหยียดหยามกัน ไม่ว่าที่ไหนๆ

       พฺยาโรสะนา ปฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

ไม่พึงคิดก่อทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธ และเพราะความคุมแค้น

       มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

มารดาถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดในตน ด้วยการยอมสละชีวิตของตนแทนฉันใด

       เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาประมาณมิได้ ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉัน นั้นเถิด

       เมตตัญจะ สัพพะโลกัสฺมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

      อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาขอบเขตมิได้ อันไม่มีเวร ไม่มีศัตรูคู่ภัย ไปในสัตว์โลกทั้งสิ้น ทั้งในทิศเบื้องบนในทิศเบื้องต่ำและในทิศขวาง

       ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

ผู้เจริญเมตตาจิตอย่างนี้นั้น ปรารถนาจะตั้งสติในเมตตาฌานให้นานเพียงใด ท่านผู้นั้นจะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ตาม พึงเป็นผู้ปราศจากความท้อแท้

      เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ

ก็จะตั้งสตินั้นไว้ได้นานเพียงนั้น

      พฺรัหฺมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวเมตตาวิหารธรรมนี้ว่าเป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

      ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา

บุคคลผู้นั้น ละความเห็นผิด คือสักกายฑิฐิเสียได้เป็นผู้มีศีล

      ทัสสะเนนะ สัมปันโน

ถึงพร้อมแล้ว ด้วยญาณทัสนะ (คือการเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยญาณ ซึ่งเป็นองค์โสดาปัตติมรรค)

      กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง

สามารถกำจัดความยินดีในกามทั้งหลายเสียได้(ด้วยอนาคามิมรรค)

      นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ

ย่อมไม่ถึงซี่งการนอนในครรภ์อีกโดยแท้ ทีเดียวแล.

หมายเหตุฯ

      ข้าพเจ้าได้คัดลอกจากบทสวดมนต์ ฉบับมหากุศล ไม่ปรากฎชื่อผู้จัดพิมพ์ ระบุไว้ว่าสำหรับแจกฟรีเป็นธรรมทานเท่านั้น ห้ามจำหน่าย ไม่สงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่ต้องการคัดลอกเพื่อจัดพิมพ์เป็นธรรมทาน พิมพ์ที่ หจก. สามลดา

      ข้าพเจ้าพยายามเลือกรูปแบบตัวอักษรให้อ่านออกง่ายเพราะมีทั้งพินทุ สระอุ หรือ ฏ ซึ่งอาจคล้าย ฎ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้นำไปท่องเกิดความสงสัยไม่แน่ใจ หากท่านผู้อ่านมีคำแนะนำใดๆก็พร้อมจะทำตามเพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมกับทุกท่านครับ

ความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า

      ข้าพเจ้าเห็นว่าบทสวดพุทธมนต์นี้ดีนัก เมื่อได้อ่านคำแปลแล้วเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ทรงประทานคำสอนไว้ให้ประพฤติปฏิบัติไปด้วย ข้าพเจ้าจึงปรารถนาให้ผู้ใฝ่ในธรรมได้อ่าน ได้ท่องบ่นพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลของท่านทั้งหลาย และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง อนึ่ง ข้าพเจ้าคัดลอกมาด้วยความระมัดระวังทั้งอักขระไม่ให้ผิดเพี้ยน หากแต่จะเกิดผิดพลาดประการใดขึ้น ขอท่านผู้รู้ได้กรุณาแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุง ให้ผู้คัดลอกต่อๆไปนำไปสวดโดยถูกต้อง รวมถึงตัวข้าพเจ้าที่สวดอยู่นี้ก็จะได้แก้ไขปรับปรุงตาม

      ผลบุญใดที่เกิดจากการเผยแพร่และสวดบริกรรมพุทธมนต์นี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายเป็นผู้เจริญในธรรม ให้ถึงบทอันเกษม กล่าวคือถึงซึ่งพระนิพพาน ความปรารถนาที่ดีงามของท่านทั้งหลายจงประสบผลสำเร็จโดยพลัน

 

หมายเลขบันทึก: 403682เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท