การพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ


การนิเทศการเรียนการสอน

                                      การพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ            

                                                                                                                                  ประสิทธิ์   กะตะศิลา 

                                                                                                                                                                        ศึกษานิเทศก์   สพท. ลำพูน เขต 1

  บทคัดย่อ

 รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ

มีวัตถุประสงค์   1)  เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  2)  เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ

3) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ 

  4)  เพื่อใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  

มีขั้นตอนการวิจัย  4 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1  การสร้างรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ กลุ่มทดลองผู้ให้ข้อมูลในการสร้างรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  จากการสอบถามครูและผู้บริหารสถานศึกษา  และจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ  เป็นผู้บริหารระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน  ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอน 

ขั้นตอนที่ 2  การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ ปีการศึกษา  2550  การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1 จำนวน  6 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านทาขุมเงิน  โรงเรียนบ้านศรีป้าน โรงเรียนบ้านสัน  โรงเรียนบ้านสวนหลวง  โรงเรียนบ้านสบเมยและ โรงเรียนบ้านแม่เมย  ทดลองใช้ในปีการศึกษา 2550  เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู สอบถามความคิดเห็นครูและผู้บริหารที่เป็นกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2550 

ขั้นตอนที่ 3  การพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  โดยวิธีการสนทนากับผู้บริหารและครูวิชาการที่เป็นกลุ่มทดลอง นำผลมาปรับรูปแบบ  

ขั้นตอนที่ 4  การใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2551  นำไปใช้กับกลุ่มทดลองกลุ่มเดิมในปีการศึกษา  2551  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู สอบถามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารเกี่ยวกับการใช้รูปแบบ   วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบ   สถิติที่ใช้ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  การแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา   ผลการวิจัยพบว่า

1.  การสร้างรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ ประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบแบ่งออกเป็น 4  ด้าน คือ 1) ด้านส่วนประกอบที่สำคัญของเครือข่ายวิชาการ  2)  ด้านขอบข่ายงานการเรียนการสอน  3) ด้านกระบวนการนิเทศ และ  4 ) ด้านเทคนิควิธีและการนิเทศ   ผลจากการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกรายการอยู่ในระดับมาก

         2.  ผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  ปีการศึกษา 2550

            2.1  ด้านการดำเนินงานของเครือข่ายวิชาการ   การจัดตั้งเป็นเครือข่ายวิชาการมีชื่อว่า  เครือข่ายวิชาการโรงเรียนตำบลทาขุมเงิน มีการกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ ภารกิจของเครือข่ายวิชาการ  มีฝ่ายวิชาการ  ฝ่ายกิจกรรมนักเรียน  มีประธานเครือข่ายวิชาการ  มีครูวิชาการเป็นทีมวิชาการเครือข่ายวิชาการ จัดทำแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดทำแผนการปฏิบัติประจำปีการศึกษา  แผนปฏิบัติการ ดำเนินกิจกรรมตาม นิเทศติดตามผล  ประเมินผลและรายงาน

2.2  ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน  พบว่า    คุณภาพการจัด

การเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนปีการศึกษา 2550  ปีการศึกษา  2550  ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 75.51 อยู่ในระดับดี

                               2.3  ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียน

การเปรียบเทียบพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ปีการศึกษา 2549  และปีการศึกษา 2550  แต่ละรายสาระพบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โดยภาพรวมมีการพัฒนา และสูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละของระดับชาติ 

                2.4  ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ

ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนในกลุ่มทดลองใช้รูปแบบมีความคิดเห็นต่อรูปแบบ ในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้  ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก  ทุกรายการอยู่ในระดับมาก

3.  ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ

                         รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  ประกอบด้วย

องค์ประกอบของรูปแบบแบ่งออกเป็น 7  ด้าน คือ   1. ด้านการเตรียม   2.  ด้านบริบท  3.  ด้านส่วนประกอบหลัก  4.  ด้านสนับสนุน 5.  ด้านขอบข่ายงานการเรียนการ  6.  ด้านกระบวนการนิเทศ  7.  ด้านเทคนิคและวิธีการการนิเทศ 

4.  ผลการใช้และประเมินผลรูปแบบการการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ ปีการศึกษา  2551       

4.1  ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ปีการศึกษา 2551

พบว่า  คุณภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 80.82 อยู่ในระดับดี   

      4.2  ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ ผู้บริหารและครูผู้สอนกลุ่มทดลองใช้รูปแบบมีความคิดเห็นต่อรูปแบบ ในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้  ด้านความเหมาะสมและ ด้านความถูกต้อง ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ทุกรายการอยู่ในระดับมาก

                                4.3  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2549  ปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2551   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โดยภาพรวมมีการพัฒนาการ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละของระดับชาติ     
                                4.4  ความพึงพอใจของครู และผู้บริหารที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้  เมื่อพิจารณาราย มากที่สุดคือ  รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ ครูได้ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รองลงไปคือรูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลกรให้เครือข่ายวิชาการ น้อยที่สุดคือ รูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนด้วยเครือข่ายวิชาการ  ส่งเสริมด้านจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ซึ่งอยู่ในระดับมาก

หมายเลขบันทึก: 402939เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2010 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท