สรุปการเรียน วันที่ 10 ตุลาคม 2553


การออกแบบองค์การ

น.ส.กฤติกา   วิชาธร   สาขาการจัดการ รุ่น 3

สรุปการเรียนวิชาการออกแบบองค์การ วันที่  10  ตุลาคม 2553

 

                การออกแบบองค์การเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์การชนิดหนึ่ง เนื่องจากการออกแบบองค์การมีวัตถุประสงค์ เพื่อความอยู่รอดขององค์การและการพัฒนาเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว และสามารถตามทันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อไปสู้เป้าหมายขององค์การ

                องค์กร คือกลุ่มบุคคลหรือสถาบันซึ่งอยู่ในหน่วยงานใหญ่

                องค์การ คือหน่วยงานใหญ่ซึ่งรวมกันทำกิจกรรม หรือ ธุรกรรมบางอย่าง

การออกแบบองค์การแยกเป็น 3 ส่วน

1.แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ

2.โครงสร้างองค์การ

3.เทคนิคการออกแบบองค์การ

แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ แนวคิดเกี่ยวกับตัวองค์การ แบ่งเป็น 2 แนวคิดคือ

1. องค์การไม่มีชีวิต คิดเองไม่ได้ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแบบดั้งเดิม กล่าวคือ องค์การไม่สามารถอยู่รอดหรือพัฒนาได้ด้วยตน เองเปรียบเสมือนสิ่งที่ไม่มีชีวิต องค์การจะมีลักษณะหรือรูปแบบใด พัฒนาไปในแนวทางขึ้นอยู่กับผู้นำและคนที่อยู่ร่วมในองค์การ

2. องค์การเป็น Self Organization เป็นแนวคิดสมัยใหม่ กล่าวคือ มองว่าองค์การสามารถพัฒนาและอยู่ได้ด้วยตัวขององค์การเอง ดูแลตนเอง และคิดเองเป็น การที่องค์การคิดเป็นเกิดจากการปล่อยให้คนในองค์การคิดโดยอิสระ มีการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลจะนำไปสู่การคิดและเรียนรู้ เช่น Learning Organization

แนวคิดเกี่ยวกับองค์กร

1. Tayler – องค์การเป็นเหมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่แบ่งแยกหน้าที่ของแต่ละส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งมีการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อบรรลุตามเป้าประสงค์

2. Edward Cross and Amitai Etzioni - องค์การเป็นเสมือนการรวมตัวทางสังคมของบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3. Max Weber – องค์การที่เน้นการดำเนินงาน โดยการแบ่งงานตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา ซึ่งองค์การลักษณะนี้เป็นองค์การแบบระบบอุปถัมภ์

4. Scott ได้ให้คำนิยามองค์การออกเป็น 3 มุมมอง ได้แก่

4.1 องค์การเป็นหน่วยงานทางสังคมซึ่งมีเป้าหมายเฉพาะ

4.2 องค์การ เป็นการรวมกลุ่มของปัจเจกชน ซึ่งสามารถมีผลประโยชน์และดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย

4.3 องค์การ เป็นการเชื่อมโยงและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสมาชิก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่องค์การนั้นดำเนินการอยู่

5. Barnard - ทุกองค์การจะต้องมีองค์ประกอบร่วม 3 ประการ คือ

5.1 เป้าประสงค์ร่วม มีหน้าที่ในการสร้างความชอบธรรมและกำหนดทิศทางแนวทางการตัดสินใจของคนในองค์การ

5.2 การประสานงานการสื่อสาร เป็นการประสานงานระหว่างคนทำงานหรือระหว่างสายงาน เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์การเข้าด้วยกัน

5.3 เป็นพลังร่วม คือการสลัดความเป็นตัวตนของปัจเจกชน เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ภายใต้เงื่อนไขของการบรรลุเป้าประสงค์ร่วมขององค์การ

6. Parson – องค์ประกอบขององค์การ มี 4 ประการ คือ

6.1 Production Organization ทำหน้าที่ผลิตในสิ่งที่สังคมต้องการ

6.2 Political Organization ทำหน้าที่ในการทำให้การปกครองและการจัดสรรอำนาจ และค่านิยมรวมทั้งคุณค่าต่าง ๆของสังคมได้บรรลุผล

6.3 Integrative Organization ทำหน้าที่สมาฉันท์ ขจัดความขัดแย้ง สร้างแรงจูงใจให้บรรลุเป้าประสงค์ร่วม เช่น องค์การศาสนา

6.4 Pattern Maintenance ทำหน้าที่ในการธำรงรักษาความต่อเนื่องทางสังคมโดยให้การศึกษา เช่น สถาบันการศึกษาต่าง ๆ

7. Mintz Berg จำแนกประเภทขององค์การ ตามเป้าหมายและหน้าที่ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

7.1องค์การภาคเอกชน (Privately Owned Organizations) องค์การที่มีเอกชนเป็นเจ้าของ

7.2องค์การภาครัฐ (Publicly Owned Organizations) องค์การที่รัฐเป็นเจ้าของ หรือส่วนหนึ่งเป็นเจ้าของ

7.3องค์การสหกรณ์ (Cooperatively Owned Organizations) องค์การที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนของคนที่มีความ คล้ายคลึงกัน

7.4องค์การไม่แสวงหากำไร (Non Owed Organizations) องค์การที่เกิดจากการการรวมกลุ่มของประชาชนหลากหลายอาชีพ โดยไม่แสวงหาผลกำไร

องค์ประกอบขององค์กร

  1. การแบ่งองค์ประกอบตามสายงาน
  2. การแบ่งองค์ประกอบตามระดับของสมาชิกในองค์การ
  3. การแบ่งองค์ประกอบตามระบบย่อยในองค์การ ตามแนวคิดของ James D. Thompson
  4. แบ่งองค์ประกอบตามแนวคิดของ Mintzberg
หมายเลขบันทึก: 402840เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2010 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท