KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๙๔. บันทึกขุมความรู้ชาวสิ่งแวดล้อม FERS Knowledge Assets


การทำเป็นหนังสือบันทึก knowledge assets ในรูปกระดาษมีข้อดีในแง่อ่านง่าย แต่มีข้อเสียในแง่ที่มันหยุดนิ่งตายตัว หากทำเป็น eBook จะทำให้ความรู้มันมีพลวัตปรับปรุงง่าย ยิ่งถ้าทำให้คง version เก่าไว้ และมี version ใหม่ด้วย ก็จะเปรียบเทียบความรู้/วิธีการทำงาน ที่เปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งบอกดีกรีของความเป็นพลวัตได้ด้วย

          จากการไปเยี่ยมชื่นชมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๒๖ ส.ค. ๕๓ ท่านคณบดี ผศ. ดร. ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช ได้นำหนังสือบันทึกขุมความรู้ชาวสิ่งแวดล้อม FERS Knowledge Assets เขียนโดยโดย ชาวคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2551 เจษฏา ศุนาลัย รวบรวม  มาให้ชื่นชม

          ซึ่งก็น่าชื่นชมจริงๆ เพราะเป็นการเขียน procedures การทำงานของแต่ละงาน   ที่ทำให้คนอื่นรู้ และสามารถทำงานทดแทนกันได้

          ผมตั้งใจจะแนะนำในที่ประชุม แต่ก็ลืมพูด   จึงขอนำมาแนะนำในที่นี้ว่า น่าจะทำเป็น eBook ที่ผู้เขียนสามารถเข้าไปแก้ไขปรับปรุงได้ จะทำให้สามารถสร้าง dynamism ของความรู้   ยกระดับคุณภาพงาน พัฒนาคน  เป็นองค์กรเรียนรู้

          การทำเป็นหนังสือบันทึก knowledge assets ในรูปกระดาษมีข้อดีในแง่อ่านง่าย  แต่มีข้อเสียในแง่ที่มันหยุดนิ่งตายตัว   หากทำเป็น eBook จะทำให้ความรู้มันมีพลวัตปรับปรุงง่าย   ยิ่งถ้าทำให้คง version เก่าไว้   และมี version ใหม่ด้วย   ก็จะเปรียบเทียบความรู้/วิธีการทำงาน ที่เปลี่ยนแปลงได้   รวมทั้งบอกดีกรีของความเป็นพลวัตได้ด้วย

          สมาชิกขององค์กรที่เขียนบันทึก KA ดีเด่น ควรได้รับการยกย่องหรือให้รางวัล
 
 
 
วิจารณ์ พานิช
๓ ก.ย. ๕๓
                 
หมายเลขบันทึก: 402766เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2010 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท